อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครบ 70 พรรษา วันอังคาร ที่ 9 พฤษภาคม 2566 เวลา 15.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารสถานีกาชาดที่ 9 อุดรธานี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครบ 70 พรรษา ณ หมู่ที่ 6 ตำบลกุดสระ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เลขาธิการสภากาชาดไทย คณะกรรมการ และผู้บริหารสภากาชาดไทย รับเสด็จ

กิจกรรมหนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ 2565

กิจกรรมหนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ 2565

สภากาชาดไทย จัดกิจกรรมหนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ 2565 สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัด“กิจกรรมหนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ 2565” เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  บรมนาถบพิตร  และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมถึงส่งเสริมสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น วันที่ 21 ธันวาคม 2564 ณ โรงเรียนร่มเกล้าเขาค้อ เพชรบูรณ์ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์  พลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธี          เปิด “กิจกรรมหนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ 2565” โดยมีนายอำนาจ แย้มศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วย    นางวรรณจนา หาญสมุทร์ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดเพชรบูรณ์และคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดเพชรบูรณ์ นายภาคภูมิ ภูมี นายอำเภอเขาค้อ ร่วมด้วยภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิธี           สำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ ร่วมกับส่วนราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ และเหล่ากาชาดจังหวัดเพชรบูรณ์  กองทัพอากาศ  สมาคมช่างภาพผู้สื่อข่าวโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  กลุ่มเซ็นทรัล  มูลนิธิอิออนประเทศไทย …

น้ำทิพย์ปันน้ำใจให้กาชาด

ลงนามความร่วมมือโครงการ “น้ำทิพย์ปันน้ำใจให้กาชาด” ฉบับที่ 5

ลงนามความร่วมมือโครงการ “น้ำทิพย์ปันน้ำใจให้กาชาด” ฉบับที่ 5 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 พลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย และนายธงชัย ศิริธร กรรมการมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย ลงนามข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “น้ำทิพย์ปันน้ำใจให้กาชาด” เพื่อเตรียมความพร้อมและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ณ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย โครงการ “น้ำทิพย์ปันน้ำใจให้กาชาด” ได้ดำเนินการตามข้อตกลงความร่วมมือมาแล้ว 4 ฉบับ และได้บรรลุผลเป็นที่น่าพอใจ จึงตกลงร่วมกันในการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือฉบับใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 รวมระยะเวลา 3 ปี

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แก่ผู้หนีภัยการสู้รบ

ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แก่ผู้หนีภัยการสู้รบและกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน

สภากาชาดไทยขยายความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แก่ผู้หนีภัยการสู้รบและกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน   สภากาชาดไทยร่วมกับภาคีเครือข่ายให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เชิงรุก สำหรับผู้หนีภัยการสู้รบที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ช่วยลดความรุนแรงของการเจ็บป่วย และเสียชีวิต สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ของคนในประเทศ ณ พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านถ้ำหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เวลา 10.30 น. ณ ที่ทำการศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี นายอภิชาติ ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ในฐานะผู้แทนเลขาธิการสภากาชาดไทยได้เป็นประธานในการเปิดงานฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เชิงรุก สำหรับผู้หนีภัยการสู้รบที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน โดยมีนายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีได้กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหารจากสภากาชาดไทยและผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNHCR) ผู้แทนสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) ผู้แทนคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มีส่วนร่วมกับสภากาชาดไทยในการดำเนินงานตามโครงการให้บริการฉีดวัคซีนครั้งนี้ด้วย   ขณะเดียวกัน นายกฤษฎา บุญราช ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ได้กล่าวถึงความร่วมมือในการปฏิบัติงานของสภากาชาดไทย ซึ่งการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เชิงรุก เป็นการดำเนินงานตามหลักมนุษยธรรม ช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ยากแก่เพื่อนมนุษย์ที่ยากไร้ เดือดร้อน และไร้โอกาส ให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกัน…

ซิโนฟาร์ม กาชาด 2

บริการฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ให้ประชากรข้ามชาติ ณ สถานีกาชาดที่ 2 กรุงเทพฯ

วันนี้ (18 ตุลาคม 2564) นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย และ พลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย พร้อมคณะ เดินทางไปยังสถานีกาชาดที่ 2 กรุงเทพฯ (สุขุมาลอนามัย) เพื่อตรวจเยี่ยมหน่วยให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 (ซิโนฟาร์ม) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสภากาชาดจีน แก่ประชากรข้ามชาติที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน พร้อมให้กำลังใจแพทย์ พยาบาล อาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในครั้งนี้ด้วย โดยให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ระหว่างวันที่ 18-19 ตุลาคม 2564 จำนวน 550 คน การให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 “ซิโนฟาร์ม” แก่ประชากรข้ามชาติได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ ในการลงทะเบียนประชากรข้ามชาติ รวมทั้งความร่วมมือจากอาสาสมัครทั้งแพทย์ พยาบาล ชาวไทยและเมียนมา ร่วมปฏิบัติงานในครั้งนี้ด้วย

ซิโนฟาร์ม

สภากาชาดไทย บริการฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ให้ประชากรข้ามชาติ

สภากาชาดไทยให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 (ซิโนฟาร์ม) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสภากาชาดจีนสำหรับประชากรข้ามชาติที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน       วันที่ 5 ตุลาคม 2564 นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย ตรวจเยี่ยมหน่วยให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 “ซิโนฟาร์ม” เข็มที่ 1 แก่ประชากรข้ามชาติ ณ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย โดยมีคณะผู้บริหารสภากาชาดไทย ร่วมตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจ แพทย์ พยาบาล อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน หน่วยให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 “ซิโนฟาร์ม” ให้บริการฉีดวัคซีนดังกล่าวแก่ประชากรข้ามชาติที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน โดยมีเป้าหมายในการฉีดวัคซีนเบื้องต้น 5,000 คน เปิดให้บริการ ดังนี้ – วันที่ 5-8, 11, 16 และ 20 ตุลาคม 2564    ณ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ – วันที่ 18 และ 19 ตุลาคม…

ซิโนฟาร์มบางบอน

สภากาชาดไทย ให้บริการฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” เข็มที่ 1 แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางในเขตบางบอน

วันที่ 18 กันยายน 2564 ที่วัดนินสุขาราม แขวงบางบอน เขตบางบอน แพทย์หญิงกานดา ลิมิตเลาหพันธ์ หัวหน้าฝ่ายบริการทางการแพทย์ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ตรวจเยี่ยมหน่วยให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 “ซิโนฟาร์ม” เข็มที่ 1 แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบาง พื้นที่เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร หน่วยให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 “ซิโนฟาร์ม” เป็นความร่วมมือระหว่างสภากาชาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ที่ประสานงานกันจัดตั้งจุดฉีดวัคซีนป้องกัน โรคโควิด-19 “ซิโนฟาร์ม” ซึ่งเป็นวัคซีนที่ได้รับการสนับสนุนจากสภากาชาดจีน โดยมีกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยสภากาชาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ”ซิโนฟาร์ม” ใน 8 เขตของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตบางบอน บางแค คันนายาว ธนบุรี ดินแดง ราชเทวี ทวีวัฒนาและคลองเตย…

รับสมัครแพทย์พยาบาล Telemed.

สภากาชาดไทย ระดมแพทย์ พยาบาลจิตอาสา ร่วมทีม Telemedicine เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย Home Isolation

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีแนวโน้มจะยืดเยื้อต่อไปเป็นเวลานาน ทำให้พบปัญหาในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งไม่สามารถเพิ่มได้ทันกับจำนวนผู้ป่วยที่มีจำนวนมากในแต่ละวัน ดังนั้น การรักษาพยาบาล โดยการคัดกรองและประเมินอาการทางโทรศัพท์ (Telemedicine) โดยทีมแพทย์ พยาบาล จึงมีความสำคัญอย่างมากในการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ขณะนี้ นายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า “การแยกกักตัวเองที่บ้านของผู้ป่วยโควิด -19 หรือ Home Isolation เป็นหนทางหนึ่งในการลดปริมาณผู้ป่วยโควิด-19 ในการไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย สามารถแยกกักตัวเองที่บ้านได้ และลงทะเบียนเข้าระบบ Home Isolation ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และจะได้รับอาหาร ยา เวชภัณฑ์ และการดูแลรักษา ผ่านทาง Telemedicine ซึ่งเป็นการสื่อสารสองทาง สามารถเข้าถึงการตรวจรักษาและวินิจฉัยจากแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยสามารถติดตามการรักษาได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และคำแนะนำจากแพทย์ได้โดยตรง และได้รับการสั่งยาพื้นฐาน และยาต้านไวรัส Favipiravir และไม่กระทบต่อการจองเตียงในโรงพยาบาลของผู้ป่วยสีเหลือง หรือสีแดง ทำให้รับคนไข้ได้ในปริมาณที่มากขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการดูแลรักษาผ่านทาง Telemedicine จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การระดมทีมแพทย์และพยาบาลจิตอาสาจากทุกภาคส่วน…

สภากาชาดไทยผนึกกำลัง รัฐ เอกชน ให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation)

จากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวนมาก ทำให้การบริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อการดูแล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงได้เปิดระบบดูแลผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียวที่บ้าน (Home Isolation: HI) แต่เนื่องจากมีผู้ลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก ทำให้พบว่ายังคงมีบางส่วนที่ลงทะเบียนแล้วแต่ยังไม่ได้รับการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งผู้ป่วยบางส่วนที่รอการติดต่อเป็นระยะเวลานาน กลายเป็นผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดงและบางส่วนก็เสียชีวิตแล้ว สภากาชาดไทย โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ เล็งเห็นความสำคัญในส่วนนี้จึงประสานความร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 (ศบค.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สำนักอนามัย ศูนย์เอราวัณ แพทยสภา กรุงเทพมหานคร และทีมอาสาสมัครภาคเอกชน ผนึกกำลังร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation) หลังลงทะเบียนในระบบ Home Isolation ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี และได้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ Home Isolation กับ สปสช.   ทั้งนี้ สปสช. สภากาชาดไทย ร่วมกับทีมงานจิตอาสา เช่น Let’s be heroes หมอริทช่วยโควิด Thai…

สภากาชาดไทยพร้อมเปิดสิทธิ์ให้ อสส. เข้าระบบแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” เพื่อขอสนับสนุนชุดธารน้ำใจฯ

สภากาชาดไทย โดย สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร สนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) และศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร นำระบบแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” มาใช้ในการร้องขอการสนับสนุนชุดธารน้ำใจกู้ชีวิตฝ่าวิกฤติโควิด-19 จากสภากาชาดไทย เพื่อนำไปมอบให้กับผู้กักกันโรค 14 วัน ที่เดือดร้อน ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค และยังไม่มีหน่วยงานอื่นให้ความช่วยเหลือในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมและมีการยกระดับมาตรการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด นายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า “อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) และศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จะได้รับ User Account ในการเข้าระบบแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” เพื่อทำการปักหมุดตำแหน่งของผู้กักกันโรคโควิด-19 ที่ได้รับความเดือดร้อนด้านเครื่องอุปโภคบริโภคจากการกักตัว 14 วัน และยังไม่มีหน่วยงานอื่นให้การช่วยเหลือ จากนั้นข้อมูลจะผ่านกระบวนการคัดกรอง รวบรวม และส่งคำร้องมายังสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เพื่อให้การสนับสนุนชุดธารน้ำใจกู้ชีวิตฝ่าวิกฤติโควิด-19 โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ จะส่งมอบชุดธารน้ำใจฯ ให้กับศูนย์บริการสาธารณสุขต่อไป” โดยในปี พ.ศ. 2563 สภากาชาดไทย ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข…