“โรคแพ้ตึก” คืออะไร?

Sick Building Syndrome (SBS) หรือกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร นิยมเรียกกันว่า “โรคแพ้ตึก” เป็นภาวะผิดปกติด้านสุขภาพ ในกลุ่มคนทำงานในอาคารที่มีความเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่อยู่ในอาคาร แต่ไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่นอนชัดเจนได้ อาการป่วยดังกล่าว เป็นอาการที่ไม่มีลักษณะเฉพาะโรค มักเกิดในสำนักงาน แต่อาการจะดีขึ้นหรือหายไปเมื่อออกนอกตัวอาคาร ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด Sick Building Syndrome ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศหญิง อายุน้อยกว่า 40 ปี โรคภูมิแพ้ สูบบุหรี่ เครียดจากการทำงาน เป็นต้น สภาพแวดล้อมภายในอาคาร เช่น มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก พื้นปูด้วยพรม มีน้ำรั่วหรือน้ำซึม ขาดการทำความสะอาดสถานที่ เป็นต้น ลักษณะการทำงาน เช่น ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน นั่งทำงานใกล้เครื่องถ่ายเอกสาร หรือเครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น ลักษณะอาคาร เช่น อาคารเก่า ใช้เครื่องปรับอากาศรุ่นเก่า อากาศถ่ายเทหรือหมุนเวียนน้อย เป็นต้น กลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับ Sick Building Syndrome อาการที่ไม่มีลักษณะเฉพาะโรคจะมีลักษณะที่หลากหลายแตกต่างกันไป…

สมาร์ทโฟนซินโดรม

เนื่องจากสังคมปัจจุบันคนนิยมใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น ตั้งแต่เด็กเล็ก วัยรุ่น คนทำงานหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ทุกวันจะมีการใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น จึงพบมีโรคสมาร์ทโฟนซินโดรมเกิดขึ้น เนื่องจากการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป จนส่งผลเสียต่อสุขภาพ อาการที่พบบ่อย ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษากับทางฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยจะมีลักษณะอาการปวดที่เกิดจากการใช้ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่หมอสังเกตเห็น คือ คนส่วนใหญ่จะอยู่ในท่าก้มหรือบางคนก้มมากจนจอแทบติดหน้า การก้มแบบนี้ทำให้กระดูกต้นคอรับแรงกดมากขึ้น ถ้าศีรษะตั้งตรง 0% จะเห็นว่าแรงกดที่ต้นคอน้อยมาก ประมาณ 4-5 กิโลกรัม แต่ถ้าเราก้มมากขึ้นประมาณ 10-15 องศา แรงกดที่ต้นคอจะเพิ่มมากขึ้นประมาณ 4-5 กิโลกรัม และถ้าก้มมากขึ้นถึง 30 องศา แรงกดอาจมากถึง 25 กิโลกรัม แต่ถ้าก้มมากถึง 45 องศา แรงกดจะมากได้ถึง 20 กิโลกรัม ถ้ายิ่งโก้งโค้งทั้งคอและบ่า จะพบว่าแรงกดมีมากถึง 30 กิโลกรัม การที่เราอยู่ในท่านี้นาน ๆ ทำให้กระดูกต้นคอทำงานเยอะ รวมทั้งกล้ามเนื้อที่อยู่รอบต้นคอและบ่า ต้องทำงานตลอดเวลา มีอาการเมื่อยล้า ทำให้เราไม่สามารถทำงานต่อได้ นอกจากนี้การใช้สมาร์ทโฟนไม่ใช่แค่ก้มอย่างเดียว ยังจะมีใช้มือกดหรือยกขึ้นมา…