ทรงเปิดงานเทียนส่องใจ

ทรงเปิดงาน “เทียนส่องใจ” เนื่องในวันเอดส์โลก ครั้งที่ 28

วันที่ 1 ธันวาคม 2563 เวลา 14.53 น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ไปยังห้องอเนกประสงค์ ชั้น 13 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทรงเปิดงาน “เทียนส่องใจ” เนื่องในวันเอดส์โลก ครั้งที่ 28 ภายใต้แนวคิด “เอดส์ อยู่ร่วมกันได้  ไม่ตีตรา” จากนั้น พระราชทานพระดำรัสเปิดงาน “เทียนส่องใจ” เนื่องในวันเอดส์โลก ครั้งที่ 28 ทรงจุดเทียนส่องใจ ด้วยสวิตซ์ไฟฟ้า และพระราชทานพระวโรกาสให้บุคคลดีเด่นด้านการแพทย์และสาธารณสุข บุคคลดีเด่นด้านสังคม สื่อสร้างสรรค์ดีเด่น สถานประกอบการดีเด่น สถาบันการศึกษาดีเด่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่น ครอบครัวดีเด่น และกลุ่ม/ชมรมผู้ติดเชื้อดีเด่น เข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณ จำนวน 12 รางวัล ต่อมา ทอดพระเนตรวีดิทัศน์พระกรณียกิจ ทรงร่วมการขับร้องเพลง “อย่ายอมแพ้”…

บุคคลดีเด่นด้านเอดส์

เชิญชวนส่งผลงาน เพื่อคัดเลือกเป็นบุคคลหรือองค์กรดีเด่นด้านเอดส์

ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เชิญชวนบุคคล หน่วยงาน องค์กร และชมรม ร่วมส่งผลงานด้านเอดส์ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อคัดเลือกเป็นบุคคลหรือองค์กรดีเด่นด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1. บุคคลด้านการแพทย์และสาธารณสุข 2. บุคคลดีเด่นด้านสังคม 3. สื่อสร้างสรรค์ดีเด่น 4. สถานประกอบการดีเด่น 5. สถาบันการศึกษาดีเด่น 6. องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นดีเด่น 7. ครอบครัวดีเด่น และ 8. ชมรมฯ/กลุ่มผู้ติดเชื้อดีเด่น โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับโล่รางวัลในงานเทียนส่องใจ เนื่องในวันเอดส์โลก ประจำปี 2563 ผู้สนใจสามารถกรอกข้อมูลการเสนอชื่อได้ที่ https://bit.ly/3aIU0pm หมดเขตส่งผลงานวันที่ 16 ตุลาคม 2563 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณสมชาติ ทาแกง โทร.0 2251 6711-5 ต่อ 119 หรือ 08 1399 6121

เยี่ยมชมศูนย์วิจัยโรคเอดส์

ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมชมศูนย์วิจัยโรคเอดส์

วันที่ 10 มิถุนายน 2563  กีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมชมศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ให้การต้อนรับ

ทั่วโลกร่วมยินดี ผลการวิจัยยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ผลดี

ทั่วโลกร่วมยินดี ผลการวิจัยพบว่า ยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้ผลดีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง   ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวแสดงความยินดีว่า “เมื่อได้ยินข่าวที่ประกาศทั่วโลกเมื่อวานนี้ (18 พ.ค. 63) ว่า การทดสอบประสิทธิผลของยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ (PrEP) ที่ประเทศไทยได้ร่วมวิจัยกับอีกหลายประเทศทั่วโลก ได้ผลออกมาก่อนกำหนดถึง 2 ปี พบว่ายาฉีดที่ฉีด 2 เดือนครั้งนี้ ได้ผลในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่ายาเพร็พแบบเม็ดที่ต้องกินทุกวัน และมีความปลอดภัยเท่าๆ กัน ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง ผมต้องขอแสดงความยินดีกับคณะนักวิจัยไทยที่มาจากหลายสถาบันที่ทำงานกันอย่างเหน็ดเหนื่อยมาตลอดระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมาในการทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทย โดยเรามีอาสาสมัครชาวไทยที่ร่วมอยู่ในโครงการคิดเป็น 12% ของทั่วโลก และที่สำคัญคือ หน่วยพรีเวนชั่นของศูนย์วิจัยโรคเอดส์สามารถรับอาสาสมัครที่เป็นหญิงข้ามเพศได้มากถึง 1 ใน 5 ของอาสาสมัครที่เป็นหญิงข้ามเพศทั้งโครงการทั่วโลก ทำให้น่าจะมีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปได้ว่ายาฉีดนี้ก็ใช้ได้ผลดีกับหญิงข้ามเพศด้วย ไม่ต้องเสียเวลามาทดสอบอีกรอบหนึ่ง นอกจากนี้ ต้องขอขอบคุณและชื่นชมอาสาสมัครทุกคนทั้งที่เป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและหญิงข้ามเพศ ที่อาจหาญเข้าร่วมโครงการและอยู่กับโครงการมาอย่างตลอดรอดฝั่ง ทุกท่านได้ชื่อว่าทำบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ให้กับมนุษยชาติในการพิสูจน์ให้เห็นว่ายาฉีดคาโบทิกราเวียร์เป็นยาตัวที่สองที่สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ แม้ว่าเกือบ 40 ปีแล้วเรายังไม่มีวัคซีนเอชไอวีใช้ แต่อย่างน้อยๆ เราก็มียาที่สามารถกินหรือฉีดป้องกันเอชไอวีได้ ซึ่งได้ผลเกือบ 100% เป็นทางเลือกหลายๆ…

แถลงข่าวงานเทียนส่องใจเนื่องในวันเอดส์โลก 2562

แถลงข่าวการจัดกิจกรรมงานเทียนส่องใจ เนื่องในวันเอดส์โลก 2562

ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย จัดงานแถลงข่าวการจัดกิจกรรมงานเทียนส่องใจเนื่องในวันเอดส์โลก ประจำปี 2562 เพื่อเทิดพระเกียรติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย นายเอม่อน เมอร์ฟี ผู้อำนวยการโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาติ สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก นายแพทย์ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ศาสตราจารย์ นายแพทย์นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงธันยวีร์ ภูธนกิจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณสุรางค์ จันทร์แย้ม ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ ร่วมแถลงข่าว ณ  ห้องประชุม 7A ชั้น 7 ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ได้กำหนดให้วันที่ 1 …

บทความเรื่อง 3 ปี เพร็พพระองค์โสมฯ ประชาชนและประเทศได้อะไร

เพร็พ (PrEP = Pre-exposure Prophylaxis) เป็นการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนที่จะไปเจอ (สัมผัส) กับเชื้อ ทำได้โดยการให้กินยาต้านไวรัสเอชไอวี 2 ตัวรวมกันอยู่ในเม็ดเดียว คือยาทีโนโฟเวียร์ (TDF) กับยาเอ็มทริซิตาบีน (FTC) ซึ่งเรียกว่า ‘ยาเพร็พ’  7 วัน ก่อนจะไปมีพฤติกรรมเสี่ยง ยาจะไปสะสมในเนื้อเยื่อที่เป็นทางเข้าของเชื้อเอชไอวี เช่น ช่องคลอด ทวารหนัก และท่อปัสสาวะ เมื่อเชื้อเข้ามาก็จะถูกยากำจัดไป จึงไม่ติดเชื้อ พบว่าการกินยาเพร็พสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้เกือบ 100% ทั้งในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สาวประเภทสอง ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิง หญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และผู้ที่ใช้สารเสพติดโดยการฉีด จึงมีคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกให้ทุกประเทศจัดหายาเพร็พให้กับคนที่ไม่สามารถใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง หรือใช้เข็มฉีดยาที่สะอาดทุกครั้งที่มีพฤติกรรมเสี่ยงได้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อร่วมหรือเสริมไปกับวิธีการป้องกันอื่นๆ การตรวจหาผู้ติดเชื้อให้เจอได้เร็ว ตรวจเจอก็เริ่มให้ยาต้านไวรัสฯ ให้เร็ว (เช่นภายในวันเดียวกันกับที่ตรวจเจอ) ร่วมกับการให้ยาเพร็พให้เร็วกับคนที่ตรวจแล้วไม่พบว่าติดเชื้อแต่ยังหยุดพฤติกรรมเสี่ยงไม่ได้เป็นวิธีการที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในหลายประเทศทั่วโลกว่าจะสามารถนำไปสู่การยุติเอดส์ได้จริง กล่าวคือ ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ไม่มีผู้ที่ป่วยหรือเสียชีวิตจากเอดส์ ประชากรหลักที่มีการใช้เพร็พกันมากทั่วโลก คือ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สาวประเภทสอง และคู่ของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่ยังไม่ได้รับยาต้านไวรัสฯ หรือได้รับยาต้านไวรัสฯ แล้วแต่ยังกดเชื้อไม่ได้ (ได้รับยาไม่ถึง 6 –…

บริการ Xpress มิติใหม่แห่งการให้บริการเอชไอวี

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าวเปิดตัว “การบริการ Xpress มิติใหม่แห่งการให้บริการเอชไอวี”  โดยมี คุณจิรัชยา ศิริมงคลนาวิน มิสทิฟฟานียูนิเวิร์ส 2016 และ Miss International Queen 2016 คุณปันปัน นาคประเสริฐ กรรมการรายการ Drag Race Thailand คุณนัท ชโยดม สามิบัติ Mr. Gay World Thailand 2019 ร่วมเสวนาเกี่ยวกับ “การบริการเอชไอวีในอุดมคติ” และคุณรวิภา วรรณกิจ หัวหน้าโครงการเอชไอวี ประเทศไทย องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สำนักงานภูมิภาคเอเชีย กล่าวถึง “การขยายบริการ Xpress ไปยังศูนย์สุขภาพชุมชนทั่วประเทศ” ณ ห้องประชุม ชั้น 7A ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ถนนราชดำริ การบริการ Xpress คือ…

ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ จับมือ รพ.ปิยะเวท และ FHI 360 ขยายบริการด้านเอชไอวี

วันที่ 29 พฤษภาคม 2562 ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการโรงพยาบาลปิยะเวท และดร.สตีเฟน มิลล์ ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคโครงการ USAID LINKAGES ประเทศไทยและลาว องค์การแฟมิลี เฮลท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (FHI 360) ร่วมกันลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการด้านเอชไอวีให้แก่กลุ่มประชากรหลักในโรงพยาบาลเอกชน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อสนับสนุนการยุติเอดส์ภายในปี 2573 ณ โรงพยาบาลปิยะเวท ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายจะช่วยให้กลุ่มประชากรหลักซึ่งรวมถึงชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองได้เข้าถึงบริการด้านเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ ครบวงจร บริการที่เป็นมิตร รวดเร็วและราคาย่อมเยาในโรงพยาบาลเอกชน เราทำโครงการนี้ภายใต้สมมุติฐานว่า ประชาชนส่วนหนึ่งที่มีกำลังทรัพย์สามารถรับบริการที่โรงพยาบาลเอกชนได้โดยที่มีค่าบริการที่ไม่แตกต่างจากคลีนิคนิรนามมากนักและโรงพยาบาลไม่ขาดทุน ในอนาคตหากโรงพยาบาลปิยะเวทสามารถเป็นหน่วยร่วมบริการด้านเอชไอวีกับสปสช.ได้ เช่น ตรวจเอชไอวีฟรี รับยาต้านฟรี เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนไข้มารับบริการ ไม่ต้องไปแออัดที่โรงพยาบาลของรัฐและคลีนิคนิรนาม ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่หวังว่าจะยุติปัญหาเอดส์ได้ นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล กล่าวเพิ่มเติมว่า โรงพยาบาลปิยะเวทและโรงพยาบาลในเครือบางปะกอกนั้น ให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมการป้องกันและการรักษาเอชไอวี มาปรับใช้กับผู้เข้ารับบริการโดยคำนึงถึงคุณภาพที่ได้มาตรฐาน ซึ่งความร่วมมือกับศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และ FHI…

UNAIDS มอบใบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์

View Post นายมิเชล ซิดิเบ รองเลขาธิการสหประชาชาติและผู้อำนวยการบริหารโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) มอบใบประกาศเกียรติคุณแก่ศาตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ในฐานะผู้ประสบความสำเร็จที่โดดเด่นด้านการพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมการป้องกันเอชไอวีเพื่อยุติปัญหาเอดส์ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 ณ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย “ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจาก UNAIDS ว่าเป็นผู้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงในการมุ่งสู่การยุติปัญหาเอดส์ในประเทศไทยและภูมิภาคนี้ ผมขอรับใบประกาศเกียรติคุณนี้ในนามของทุกคนที่ทำงานร่วมกันมาทั้งที่สภากาชาดและในชุมชน” – ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค เป็นผู้ตรวจพบเชื้อเอชไอวีรายแรกในประเทศไทยในปีพ.ศ.2528 และเป็นผู้บุกเบิกศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เพื่อบริการให้คำปรึกษา แนะนำ ตรวจหาเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยสมัครใจแก่ประชาชนทั่วไปและผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง โดยมีการรักษาความลับของผู้ที่มาใช้บริการอย่างดีที่สุด ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เป็นผู้นำระดับแนวหน้าด้านนวัตกรรมในการดำเนินงานด้านเอชไอวีผ่านโครงการที่หลากหลาย อาทิ การจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนแทนเจอรีนให้บริการด้านการดูแลสุขภาพและให้คำปรึกษาแก่คนข้ามเพศแห่งแรกของประเทศไทย โครงการเพร็พพระองค์โสมในการให้ยาเพร็พแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้ยังร่วมมือกับศูนย์สุขภาพชุมชนในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING) สมาคมฟ้าสีรุ้ง (RSAT) เอ็มพลัส (MPlus) ศูนย์สุขภาพแคร์แมท (CAREMAT) และมูลนิธิซิสเตอร์ (Sister)