การบริจาค คุณมีส่วนช่วยเหลือสังคมให้ดีขึ้นได้ พร้อมทำกุศลครั้งยิ่งใหญ่… ด้วยการเป็น “ผู้ให้”
บริจาคเงิน
ท่านสามารถมาบริจาคเงินได้ที่ ห้องผู้บริจาคสัมพันธ์ สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย ตึกอำนวยนรธรรม ชั้น 2 วันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น .
2. บริจาคออนไลน์ คลิก!!
3. โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร
สำนักงานจัดหารายได้ ได้เปิดบัญชีธนาคารต่างๆ เพื่อรองรับการบริจาคของท่าน วัตถุประสงค์ “เพื่อบำรุงสภากาชาดไทย” โดยโอนเงินเข้าบัญชี ประเภทออมทรัพย์
ชื่อบัญชี “สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย” ซึ่งสามารถเลือกบริจาคได้ ดังนี้
– ธนาคารไทยพาณิชย์ | สาขาสภากาชาดไทย เลขที่ 045-2-48899-3 |
– ธนาคารกรุงเทพ | สำนักงานใหญ่ เลขที่ 101-0-11980-6 |
– ธนาคารกสิกรไทย | สำนักสีลม เลขที่ 001-2-25888-9 |
– ธนาคารกรุงไทย | สาขาสุรวงศ์ เลขที่ 023-1-41177-4 |
– ธนาคารทหารไทย | สาขาคลองเตย เลขที่ 015-2-43046-8 |
– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | สาขาพัฒน์พงษ์ เลขที่ 689-1-05195-1 |
– ธนาคารธนชาต | สาขาธนิยะ เลขที่ 261-2-09275-4 |
– ธนาคารซี ไอ เอ็ม บี ไทย | สาขาย่อยสีลม เลขที่ 700-1-28971-2 |
ส่งทางไปรษณีย์มาที่ สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย ตึกอำนวยนรธรรม ชั้น 2 ถนนพระรามที่ 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
หรือทางโทรสาร 0 2250 0312, 0 2652 4440 หรืออีเมล [email protected]
สั่งจ่ายในนาม “ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาด ไทย” สั่งจ่าย ปณฝ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ทางสำนักงานฯ ยินดีรับเช็คทุกประเภท โดยขีดหรือผู้ถือออก และระบุข้อความ Account Payee Only ลงบนเช็ค
6. บัตรเครดิต
ท่านสามารถบริจาคเงินโดยแจ้งความประสงค์ให้ทางสำนักงานฯ เรียกเก็บเงินผ่านบัตรเครดิตของท่าน โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มการบริจาคตามลิ้งค์ข้างล่างนี้
– บริจาคแบบครั้งเดียว (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่นี่ )
– บริจาคแบบรายเดือน (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่นี่ )
7. บริจาคเพื่อสนับสนุนโครงการหารายได้ต่าง ๆ ดูรายละเอียดข้อมูลโครงการเพิ่มเติม คลิกที่นี่!
สำนักงานจัดหารายได้
สถานที่ติดต่อ: 1873 ตึกอำนวยนรธรรม ชั้น 2 ถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ10330
โทรศัพท์ : 0 2256 4440-3, 0 2251 1218 , 0 2251 6964
โทรสาร : 0 2250 0312 ,0 2652 4440
อีเมล : [email protected]
เว็บไซต์ : https://www.donationhub.or.th/home
บริจาคอสังหาริมทรัพย์
- บริจาคด้วยตนเอง
ท่านสามารถมาติดต่อสอบถามด้วยตนเองได้ที่ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน สภากาชาดไทย
ตึกอำนวยนรธรรม ชั้น 4 ในวันและเวลาราชการ (วันจันทร์ – วันศุกร์)
ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
- สอบถามข้อมูลการบริจาคอสังหาริมทรัพย์
2.1 หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป โทรศัพท์ 0-2256-4078 ต่อ 21
2.2 นางสาวเชษฐพัณ วชิรพงศ์ โทรศัพท์ 0-2256-4078 ต่อ 23
- แสดงความจำนงบริจาคอสังหาริมทรัพย์ด้วยตนเองโดย
- ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ ดาวน์โหลด
- กรอกแบบฟอร์มตามข้อ 3.1 แล้วแนบสำเนาเอกสารพร้อมลงนามรับรอง ดังนี้
- – สำเนาบัตรประชาชน
- – สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาเอกสารกรรมสิทธิ์บนอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการบริจาค
- แผนที่แสดงที่ตั้งอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการบริจาค (โดยสังเขป)
- ส่งแบบฟอร์มตามข้อ 3.1 ที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วพร้อมเอกสารตามข้อ 3.2 ดังนี้
- มายื่นด้วยตนเอง
ณ สำนักงานจัดการทรัพย์สินสภากาชาดไทย ตึกอำนวยนรธรรม ชั้น 4
ในวันและเวลาราชการ (วันจันทร์ – วันศุกร์) ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
- ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ โดยจ่าหน้าถึง นางสาวเชษฐพัณ วชิรพงศ์
สำนักงานจัดการทรัพย์สินสภากาชาดไทย ตึกอำนวยนรธรรม ชั้น 4
เลขที่ 1873 ถ.พระราม 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
- ส่งทางอีเมล์ โดยแนบเอกสารทั้งหมดรูปแบบไฟล์ .PDF หรือ .JPG มาที่ [email protected]
สภากาชาดไทยโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์การรับบริจาค พร้อมประสานงานกับผู้ยื่นคำขอบริจาคเป็นระยะ จนคำขอของท่านได้รับการอนุมัติจากสภากาชาดไทย ซึ่งใช้ ระยะเวลามากน้อยแตกต่างกันตามประเภทและขนาดของทรัพย์สิน.
- สภากาชาดไทยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาที่ดิน/อาคาร ที่ท่านบริจาคมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อนำรายได้บำรุงสภากาชาดไทย นำไปใช้ในกิจการด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาลได้ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสในสังคมไทย
เยี่ยมชมเว็ปไซต์ : https://property.redcross.or.th
สิทธิประโยชน์ผู้มีอุปการคุณสภากาชาดไทย
ผู้มีอุปการคุณสภากาชาดไทย หมายถึง บุคคลที่ได้บริจาคเงิน สิ่งของ ที่ดิน ทรัพย์สินอื่น ๆ ในคราวเดียว เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับกิจการของสภากาชาดไทย ผู้บริจาคดวงตา อวัยวะ หรือโลหิต ให้สภากาชาดไทย รวมถึงทายาทผู้ได้รับสิทธิ์จากผู้บริจาคตามเกณฑ์ ที่สภากาชาดไทยกำหนดมี 2 ประเภท คือ ผู้มีอุปการคุณที่เป็นบุคคลธรรมดา และผู้มีอุปการคุณที่เป็นนิติบุคคล
ผู้มีอุปการคุณสมทบ หมายถึง บุคคลที่ผู้มีอุปการคุณ ระดับทอง หรือระดับเพชร พิจารณามอบให้
สถานที่ใช้สิทธิด้านการรักษาพยาบาล
1. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
2. โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย
3. สถานีกาชาดต่าง ๆ ของสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
4. ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูสภากาชาดไทย
โปรดแสดงบัตรผู้มีอุปการคุณต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการรักษาพยาบาลทุกครั้ง
การขึ้นทะเบียนผู้มีอุปการคุณสภากาชาดไทย
ผู้บริจาคตั้งแต่ 40,000 บาทขึ้นไป จะได้รับสิทธิ์การขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีอุปการคุณสภากาชาดไทย ตามระเบียบฯ ปี 2560 และจะได้รับ
1. บัตรผู้มีอุปการคุณเพื่อรับสิทธิผู้มีอุปการคุณในระดับต่าง ๆ ณ สถานพยาบาลของสภากาชาดไทย
2. เข็มเครื่องหมายสมาชิกสภากาชาดไทย
3. ใบอนุโมทนาบัตร
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการขึ้นทะเบียนผู้มีอุปการคุณสภากาชาดไทยมีดังต่อไปนี้
1. แบบฟอร์มการขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีอุปการคุณ ที่กรอกรายละเอียดครบถ้วน อาทิ : ชื่อ-นามสกุล ตามที่ผู้บริจาคประสงค์จะให้ขึ้นทะเบียนฯ : ความเกี่ยวข้องกับผู้บริจาค : วันเดือนปีเกิด ของผู้จะขึ้นทะเบียน : ที่อยู่ และ เบอร์โทรศัพท์ของผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีอุปการคุณ
2. สำเนาบัตรประชาชน
3. ภาพถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
ติดต่อขึ้นทะเบียนได้ที่
ฝ่ายหารายได้และกิจกรรม
โทรศัพท์ 0-2256-4028-9 โทรศัพท์ 0-250-0312
สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2560
1. ผู้บริจาคที่ได้รับสิทธิประโยชน์การเป็นผู้มีอุปการคุณก่อนที่มีการประกาศใช้ระเบียบสภากาชาดไทย ว่าด้วยสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลผู้มีอุปการคุณสภากาชาดไทย ปี 2560 นี้ ให้ได้รับสิทธิเดิม
2. ผู้มีอุปการคุณที่เป็นสมาชิกสามัญ ได้รับสิทธิตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภากาชาดไทย สำหรับสมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้รับสิทธิประโยชน์ตามจำนวนเงินที่บริจาคเช่นเดียวกับผู้มีอุปการคุณ
3. กรณีผู้บริจาคที่เป็นนิติบุคคล ให้ผู้แทนนิติบุคคลตามกฎหมายตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง กำหนดบุคคลผู้จะได้สิทธิประโยชน์ตามจำนวนที่กำหนดไว้ตามตารางสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลของผู้มีอุปการคุณที่เป็นนิติบุคคล โดยจะต้องมีหนังสือรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร
4. สิทธิประโยชน์ของผู้มีอุปการคุณเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่อาจโอนหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ใดได้ เว้นแต่การโอนสิทธิภายใน 30 วัน ก่อนการใช้สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล นับจากวันบริจาคครบ และได้รับอนุมัติจากเลขาธิการสภากาชาดไทย
5. ผู้มีอุปการคุณที่มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลจากต้นสังกัดของตนเองหรือครอบครัว ให้ใช้สิทธิ์ตามใบส่งตัวของต้นสังกัดก่อน ถ้ามีส่วนที่เกินสิทธิ์จึงนำมาลดหย่อนจากสภากาชาดไทย
6. หากต้องการปรับเปลี่ยนระดับขึ้นตามยอดบริจาค จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อบริจาคครบตามเกณฑ์ที่กำหนด พร้อมยกเลิกสิทธิ์เดิม
7. สิทธิประโยชน์จะหมดไปเมื่อเสียชีวิต
8. สิทธิประโยชน์ในด้านการรักษาพยาบาลดังกล่าวนี้ สภากาชาดไทยขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้มีอุปการคุณหรือผู้มีอุปการะสมทบทราบล่วงหน้า
ค่ารักษาพยาบาลที่ผู้มีอุปการคุณจะได้รับการลดหย่อนจากสถานพยาบาลของสภากาชาดไทย ได้แก่
(1) ค่าห้อง ค่าอาหาร
(2) ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์
(3) ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามประกาศกรมบัญชีกลาง
(4) ค่าตรวจวิเคราะห์โรคทางห้องปฏิบัติการ ค่าตรวจรักษาทางรังสีวิทยาที่เป็นไปตามข้อบ่งชี้
(5) ค่าหัตถการ ค่าผ่าตัด ค่าคลอดบุตร ค่าบริการวิสัญญี ค่าบริการเวชศาสตร์ฟื้นฟู และค่าบริการตรวจรักษาอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในข้อยกเว้นที่สภากาชาดไทยกำหนด
ค่ารักษาพยาบาลตามที่ไม่ได้รับการลดหย่อน ได้แก่
(1) การเข้าใช้บริการในคลินิกพิเศษ ค่าพยาบาลพิเศษ
(2) ค่ายาที่อยู่ในบัญชีเฉพาะ ได้แก่ ยาเพื่ิอการเสริมสวย ยาเพื่อการมีบุตรอาหารเสริม วัคซีนป้องกันโรค (ยกเว้น วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันบาดทะยัก วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะม้ามบกพร่อง) ยารักษาโรคมะเร็งและหรือยาเคมีบำบัดกลุ่ม High Cost
(3) ค่าเวชภัณฑ์ที่อยู่ในบัญชีเฉพาะ ได้แก่ ที่เกี่ยวกับการป้องกันโรคเวชสำอาง เวชภัณฑ์ฝากขาย
(4) ค่ารังสีรักษา ค่าฉายแสง
(5) การตรวจพิเศษที่ส่งไปทำนอกสถานพยาบาลของสภากาชาดไทย
(6) การตรวจวินิจฉัยในบัญชีเฉพาะ เช่น การตรวจPET SCAN เป็นต้น
(7) การรักษาในบัญชีเฉพาะ เช่น การปลูกถ่ายอวัยวะ การรักษากรณีมีบุตรยาก การเสริมความงามและการแปลงเพศ
(8) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาล เช่น ค่าโทรศัพท์, ค่าไฟฟ้า,น้ำดื่ม
บริจาคร่างกาย
ร่างกายของผู้บริจาค สามารถสร้างประโยชน์เพื่อการศึกษา การวิจัย และการรักษาทางการแพทย์ ได้ดังนี้
- เพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน
- เพื่อการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์
- เพื่อการศึกษาของนักศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ
- เพื่อเก็บเนื้อเยื่อบางส่วนสำหรับการรักษาทางการแพทย์
- เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางฝึกผ่าตัด
- เพื่อเก็บโครงกระดูกเพื่อการศึกษาตลอดไป
ขั้นตอนการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา
ผู้มีความประสงค์อุทิศร่างกายสามารถยื่นความจำนงได้ 3 วิธี คือ
1. ยื่นความจำนงผ่านช่องทางออนไลน์ที่ https://anatomydonate.kcmh.or.th
2. ยื่นความจำนงโดยตรงที่ ศาลาทินฑัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยกรอกข้อความลงในแบบฟอร์มของโรงพยาลบาล 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ไว้เป็นหลักฐาน
3. ยื่นความจำนงทางไปรษณีย์ โดยกรอกข้อความลงในแบบฟอร์ม แล้วส่งมาทางไปรษณีย์ 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะส่งบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ภายหลังเมื่อผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรม ทายาท มีสิทธิ์คัดค้านไม่มอบศพให้กับโรงพยาบาลได้โดยต้องแจ้งการคัดค้านไม่มอบศพกับโรงพยาบาลฯภายใน 24 ชั่วโมง
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอุทิศร่างกายได้ที่
1. ระเบียบการอุทิศร่างกายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อการศึกษา การวิจัย และการ รักษาการแพทย์ฉบับเต็ม
2. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา
3. แบบฟอร์มแจ้งความจำนงอุทิศร่างกาย
4. แบบฟอร์มยินยอมมอบศพ
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการอุทิศร่างกายได้ที่
- ศาลาทินทัต โทรศัพท์ 02 256 5079
- ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ ศูนย์ฝึกผ่าตัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
โทรศัพท์ 02 256 4281 , 02 256 4737
บริจาคดวงตา
ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่รอการเปลี่ยนกระจกตาอยู่จำนวนมากถึง 11,027 ราย แต่ในปี พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยได้รับการบริจาคดวงตาจากผู้เสียชีวิตเพียง 847 ราย และมีผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเพียง 763 ราย เท่านั้น
ขั้นตอนการบริจาคดวงตา
1.ผู้ที่สนใจบริจาคดวงตาสามารถแสดงความจำนงในการบริจาคดวงตาได้คนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เป็นต้นไป โดยสามารถแสดงความจำนงได้ที่ แสดงความจำนงบริจาคดวงตาผ่านระบบออนไลน์
2.เมื่อบริจาคดวงตาแล้วจะได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคดวงตา ควรพกบัตรผู้บริจาคติดตัวไว้และแจ้งให้ญาติรับทราบว่าได้ทำเรื่องบริจาคดวงตาไว้ในระหว่างมีชีวิต
3.ในกรณีบริจาคอวัยวะแทนญาติ กรุณาโทรแจ้งศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยทันทีที่ผู้บริจาคเสียชีวิต ที่หมายเลข 081 902 5938, 081 836 4927 ตลอด 24 ชั่วโมง
ภายหลังเสียชีวิตดวงตาจะเริ่มเสื่อมสภาพ และเน่าเปื่อย ดังนั้นเพื่อให้ดวงตาที่มีสภาพดีที่สุด ญาติของผู้แสดงความจำนงในการบริจาคควรโทรแจ้งศูนย์ดวงตาทันทีหลังผู้บริจาคเสียชีวิต เพื่อให้ศูนย์ดวงตาได้จัดเก็บดวงตาโดยเร็วที่สุด ซึ่งควรจัดเก็บให้เรียบร้อยภายใน 6-8 ชั่วโมง
ข้อควรปฏิบัติภายหลังการอุทิศดวงตา
1.แจ้งสมาชิกในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดให้รับทราบ
2.เก็บบัตรอุทิศดวงตาไว้กับตัวหรือในที่หาง่าย
3.ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาควรปรึกษาจักษุแพทย์
ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน) ชั้น 7 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2252-8131-9 , 0-2258-8181-9, 0-2256-4039 และ 0-2256-4040 ต่อศูนย์ดวงตา ตลอด 24 ชั่วโมง
E-mail: [email protected]
Website : https://eyebankthai.redcross.or.th/
บริจาคอวัยวะ
ปัจจุบันมีผู้ป่วยในระยะสุดท้ายอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ทุกข์ทรมานจากการที่อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด ฯลฯ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ วิธีรักษาทางการแพทย์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ คือ การปลูกถ่ายอวัยวะใหม่ ด้วยอวัยวะของผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งได้แสดงเจตนารมณ์ในการบริจาคอวัยวะ หรือได้จากญาติที่มีความประสงค์จะบริจาคอวัยวะของบุคคลนั้น เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นมาปลูกถ่าย จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายมีชีวิตอยู่เป็นประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคมต่อไปได้ อวัยวะใหม่ที่สามารถนำมาปลูกถ่าย ได้แก่ หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด, ตับอ่อน, กระดูก ฯลฯ ซึ่งได้มาจากการนำอวัยวะใหม่เปลี่ยนแทนอวัยวะเดิมที่เสื่อมสภาพ จนไม่สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ และการผ่าตัดนั้นจะเป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อให้อวัยวะใหม่นั้นทำงานแทนอวัยวะเดิม
แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะออนไลน์
คุณสมบัติของผู้บริจาคอวัยวะ
- 1. ผู้บริจาคอวัยวะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
- 2. เสียชีวิตจากสภาวะสมองตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ
- 3. ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง
- 4. ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา
- 5. อวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายต้องทำงานได้ดี
- 6. ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ
- 7. กรุณาแจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะแก่บุคคลในครอบครัวหรือญาติให้รับทราบด้วย
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ
สถานที่ติดต่อ : อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ : 1666 หรือ 0 2256 4045-6
โทรสาร : 0 2255 7968
อีเมล : [email protected]
เว็บไซต์ : https://organdonate.redcross.or.th
บริจาคโลหิต
ส่วนประกอบและหน้าที่สำคัญของโลหิต
1. เม็ดเลือด จะมีอยู่ประมาณ 45% ของโลหิตทั้งหมด มี 3 ชนิด คือ
– เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell) มีหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจน เพื่อให้เซลล์ใช้สันดาปเป็นพลังงานและนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายเมื่อหายใจออก เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน
– เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell) มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและปกป้องร่างกายโดยสร้างภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาว มีประมาณ 4 – 10 ´ 109 /ไมโครลิตร เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด มีอายุตั้งแต่ 6 ชั่วโมง – 20 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดเม็ดเลือดขาว
– เกล็ดเลือด (Platelets) ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว ตรงจุดที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือดเกล็ดเลือดมีอายุประมาณ 7 วัน
2. พลาสมา (Plasma)
– พลาสมา คือ ส่วนประกอบของโลหิตที่มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองใสซึ่งประกอบไปด้วยสารโปรตีน ได้แก่ อัลบูมิน (Albumin) โกลบูลิน (Globulin) อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรักษาปริมาณน้ำภายในหลอดเลือด ต่อต้านเชื้อโรคและช่วยในการแข็งตัวของเลือด ตามลำดับพลาสมา จะมีอยู่ประมาณ 55% ของโลหิตทั้งหมด
ความจำเป็นต้องใช้โลหิต
1. ผู้ป่วยที่เกิดภาวะสูญเสียโลหิตเฉียบพลัน ได้แก่
– อุบัติเหตุ
– การผ่าตัด
– ตกเลือดหลังคลอดบุตร
– เลือดออกในทางเดินอาหาร
2. ผู้ป่วยโรคเลือด ได้แก่
– โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
– โรคโลหิตจางจากสาเหตุอื่นๆ
– โรคเกล็ดเลือดต่ำ
– โรคขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (ฮีโมฟีเลีย)
การบริจาคโลหิตแต่ละครั้ง บริจาคครั้งละ 350 – 450 ซีซี ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้บริจาค คิดเป็น 10 -12% ของปริมาณโลหิตทั้งหมดในร่างกาย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคโลหิต สามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
สถานที่ติดต่อ : 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ : 0 2263 9600-99
โทรสาร : 0 2255 5558
อีเมล : [email protected]
เว็บไซต์ : https://thaibloodcentre.redcross.or.th