การใช้เครื่องหมายกาชาด

คศ.1859 นายอังรี ดูนังต์ ได้เห็นเหตุการณ์การสู้รบที่เมืองซอลเฟอริโน ณ ที่นั้นมีทหารบาดเจ็บจำนวนมากที่ถูกทอดทิ้งให้ตายโดยปราศจากการดูแลรักษาและ ร่างกายก็ถูกปล่อยให้ถูกโจรกรรมลักทรัพย์สิ่งของไป สาเหตุหนึ่งที่หน่วยแพทย์ทหารไม่สามารถให้การช่วยเหลือได้ก็เพราะไม่มี เครื่องหมายบนเครื่องแบบที่จะแสดงตนให้ฝ่ายสู้รบเห็นได้โดยง่าย

คศ.1863 ได้มีการประชุมนานาชาติที่นครเจนีวา เพื่อหาหนทางแก้ไขจุดอ่อนในการขาดประสิทธิภาพของบริการทางการแพทย์ของกองทัพ ในสนามรบ ที่ประชุมได้รับรองให้ใช้กาชาดบนพื้นขาวเป็นเครื่องหมายพิเศษอันเด่นชัด สำหรับสมคมบรรเทาทุกข์ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือทหารบาดเจ็บ ซึ่งต่อมาคือสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงประจำชาติต่างๆ

คศ.1864 ได้มีการรับรองอนุสัญญาเจนีวาฉบับเริ่มแรก และมีการรับรองกาชาดบนพื้นขาวอย่างเป็นทางการว่าเป็นเครื่องหมายพิเศษอัน เด่นชัดสำหรับหน่วยบริการทางการแพทย์ของกองทัพ

คศ.1876 ในสงครามระหว่างรัสเซียและตุรกี ในคาบสมุทรบอลข่าน จักรวรรดิออตโตมานตกลงใจใช้เครื่องหมายเสี้ยววงเดือนแดงบนพื้นขาวแทนเครื่อง หมายกาชาด ประเทศอียิปต์ดำเนินรอยตาม ต่อมาเปอร์เซียขอใช้รูปสิงโตแดงกับดวงอาทิตย์บนพื้นขาว ประเทศเหล่านี้ได้มีข้อสงวนไว้ในอนุสัญญาเจนีวา และต่อมาเครื่องหมายพิเศษเหล่านี้ได้ถูกนำมาเขียนไว้ในอนุสัญญา ปี คศ.1929

คศ.1949 ข้อ 38 ของอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่หนึ่งปี ค.ศ. 1949 ยืนยันให้เครื่องหมายกาชาด เสี้ยววงเดือนแดง สิงโตแดงกับดวงอาทิตย์บนพื้นขาวเป็นเครื่องหมายคุ้มครองสำหรับหน่วยบริการ ทางการแพทย์ทหาร และมิให้เครื่องหมายอื่นใดนอกเหนือจากนี้

คศ.1980 สาธารณรัฐอิสลามอิหร่านตกลงใจให้ยกเลิกรูปสิงโตแดงกับดวงอาทิตย์และให้ใช้เสี้ยววงเดือนแดงแทน

คศ.1982 สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศได้รับกาชาดและเสี้ยววง เดือนแดงบนพื้นขาว เป็นเครื่องหมายของสหพันธ์ฯ

เครื่องหมายกาชาดเป็นสัญลักษณ์ของ…

การคุ้มครอง(ใช้เพื่อการคุ้มครอง)

เรื่องนี้ถือว่าเป็นความมุ่งหมายที่เป็นสารัตถะสำคัญของการใช้เครื่องหมายกาชาด เมื่อมีการพิพาทกัน เครื่องหมายกาชาด เมื่อมีการพิพาทกัน เครื่องหมายกาชาดเป็นเครื่องแสดงการคุ้มครองที่มองเห็นได้ ซึ่งรับรองโดยอนุสัญญาเจนีวา เครื่องหมายกาชาดจะแสดงให้ผู้ทำการสู้รบทราบว่าบุคคล(อาสาสมัครสภากาชาด ประจำชาติ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้แทนคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และอื่นๆ) หน่วยแพทย์ (เช่น โรงพยาบาล สถานีปฐมพยาบาล ฯลฯ) และ พาหนะขนส่ง (ทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ) นั้นได้รับการคุ้มครองโดยอนุสัญญาเจนีวา และพิธีสารเพิ่มเติม เมื่อใช้เครื่องหมายกาชาดเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการคุ้มครอง จะต้องกระตุ้นให้ผู้ทำการสู้รบเกิดความรู้สึกตอบสนอง กล่าวคือมีความยับยั้งและความเคารพ ดังนั้นเครื่องหมายกาชาดจึงต้องมีขนาดใหญ่

การเป็นสมาชิกของขบวนการกาชาดฯ (ใช้เพื่อการบ่งชี้)

การใช้เครื่องหมายกาชาดเพื่อบ่งชี้เป็นการใช้ในยามสงบเพื่อแสดงให้เห็นว่าบุคคลหรือ วัตถุนั้นมีความเกี่ยวพันกับขบวนการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงประจำชาติ สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ หรือคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ในกรณีนี้ เครื่องหมายกาชาดจะมีขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้เครื่องหมายกาชาดยังใช้เป็นสิ่งเตือนว่าสถาบันเหล่านี้ดำเนินงาน ตามหลักการของขบวนการกาชาดยังใช้เป็นสิ่งเตือนว่าสถาบันเหล่านี้ดำเนินงาน ตามหลักการของขบวนการกาชาดฯ ดังนั้น เครื่องหมายจึงเป็นเครื่องหมายแท่ง

ใครมีสิทธิ์ใช้เครื่องหมายกาชาด

ในยามสงบ : ใช้เพื่อบ่งชี้ (ขนาดเล็ก)

– สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงประจำประเทศต่างๆ

เป็นองค์กรแรกสุดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายกาชาดตมกฎหมายแต่ละประเทศ นั้น ซึ่งกำหนดกฎระเบียบในการใช้เครื่องหมายกาชาดเพื่อการบ่งชี้ และตามกฎข้อบังคับของขบวนการกาชาดฯ ปี ค.ศ. 1991 ว่าด้วยการใช้เครื่องหมายกาชาดของสภากาชาดประจำชาติ สภากาชาประจำประเทศต่างๆ จึงสามารถดำเนินกิจกรรมภายใต้เครื่องหมายกาชาดโดยมีเงื่อนไขว่ากิจกรรมเหล่า นั้นต้องสอดคล้องกับหลักการกาชาด และเป็นการให้ความช่วยเหลือโดยอาสมสมัคร และไม่เลือกปฏิบัติกับผู้ประสบความทุกข์ทั้งมวล

สภากาชาดประจำชาติ สามารถใช้เครื่องหมายเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของสภากาชาดของตนหรือกิจกรรมหารายได้ตามมาตรา 23 ตอนที่1 และ 2 ของกฎข้อบังคับว่าด้วยเครื่องหมายกาชาด บุคคลที่ 3 หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง (เช่น บริษัท ร้านค้า หรือองค์กรอื่นๆ) สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านี้ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 23 ตอนที่ 3 และมาตรา 24 และ 25 ของกฏข้อบังคับ

– รถพยาบาลและสถานีปฐมพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยบุคคลที่ 3 สามารถแสดงเครื่องหมายกาชาดเพื่อเป็นบ่งชี้ได้ แต่ต้องเฉพาะในยามสงบเท่านั้น โดยมีเงื่อนไขว่าต้องใช้กฎหมายของประเทศและโดยได้รับอนุญาตจากสภากาชาดประจำ ชาติ และใช้ได้กับสถานีบรรเทาทุกข์ ที่จัดขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อให้การรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า

ใช้เพื่อการคุ้มครอง (ขนาดใหญ่)

-หน่วยรักษาพยาบาลของสภากาชาดประจำชาติ (โรงพยาบาล สถานีปฐมพยาบาล และอื่นๆ) และการขนส่ง (ทางบก ทะเล และอากาศ) ซึ่งมีหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลในกรณีที่มีการพิพาททางอาวุธ สามารถใช้เครื่องหมายกาชาด เพื่อเป็นเครื่องหมายคุ้มครองในยามสงบได้ โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่แล้ว (รูป6)

 

ใครมีสิทธิ์ใช้เครื่องหมายกาชาด

ในยามสงคราม : ใช้เพื่อบ่งชี้ (ขนาดเล็ก)

-สภากาชาด และสภาเสี้ยววงเดือนแดง เท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับเครื่องหมายกาชาดที่ใช้เพื่อการคุ้มครอง เครื่องหมายกาชาดที่ใช้เพื่อบ่งชี้จึงไม่จำเป็นต้องติดปลอกแขน หรือบนหลังคาของอาคาร

ใช้เพื่อการคุ้มครอง (ขนาดใหญ่)

-หน่วยบริการทางการแพทย์ของกองทัพ

-สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงประจำชาติ ที่ได้รับการยอมรับ และอนุญาตจากรัฐบาลของตนให้ทำหน้าที่ช่วยเหลือหน่วยบริการทางการแพทย์ของกอง ทัพสามารถใช้เครื่องหมายกาชาดเพื่อคุ้มครอง แต่ให้ใช้เฉพาะกับบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งจัดมาเพื่อให้การช่วยเหลือ และทำหน้าที่ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกับหน่วยบริการทางการแพทย์ของทหารที่เป็น ทางการในยามสงคราม ภายใต้กฎหมายและกฎระเบียบของทางทหาร (รูป 11)

ใช้เพื่อการคุ้มครอง (ขนาดใหญ่)

-หน่วยแพทย์พลเรือนทั้งหมด (เช่น โรงพยาบาล สถานีปฐมพยาบาล ฯลฯ) ที่ได้รับการยอมรับ และอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐ (เฉพาะประเทศที่เป็นภาคีของพิธีสารเพิ่มเติม ฉบับที่ 1)

-สมาคมบรรเทาทุกข์อาสาสมัครอื่นๆ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกับสภากาชาดประจำชาติ และต้องได้รับการยอมรับและอนุญาตจากรัฐบาล สมาคมดังกล่าวสามารถใช้เครื่องหมายกาชาดได้ แต่ใช้เฉพาะกับบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จัดมาให้การช่วยเหลือหน่วย บริการทางการแพทย์ของกองทัพ และให้อยู่ภายใต้กฎหมาย และกฎระเบียบของทหารด้วย

การใช้เครื่องหมายในทางที่ผิด

ทุกประเทศที่เป็นภาคีของอนุสัญญาเจนีวา มีพันธกรณีที่จะต้องกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการใช้เครื่องหมายกาชาด ในทางที่ผิดในทุกโอกาส และโดยเฉพาะจะต้องออกกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดง “การใช้เครื่องหมายกาชาดใดๆ ซึ่งมิได้อนุญาตไว้ในอนุสัญญาเจนีวา และพิธีสารเพิ่มเติมถือว่าเป็นการใช้เครื่องหมายกาชาดในทางที่ผิดทั้งสิ้น ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการใช้เครื่องหมายที่ผิด

 

ใช้เลียนแบบ

การใช้เครื่องหมายที่ก่อให้เกิดความสับสนกับเครื่องหมายกาชาดหรือเสี้ยววง เดือนแดง (เช่น มีสีหรือรูปแบบที่คล้ายกัน)

พระราชบัญญัติกาชาด พ.ศ. 2499 ได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดโดยใช้เครื่องหมายกาชาดหรือนามกาชาดโดยไม่มีสิทธิ ตามอนุสัญญา หรือใช้เครื่องหมายหรือถ้อยคำเลียนแบบเครื่องหมายกาชาดโดยไม่มีสิทธิ ตามอนุสัญญา หรือใช้เครื่องหมายหรือถ้อยคำเลียนแบบเครื่องหมายกาชาด โดยมุ่งหมายทางการเงินหรือการพาณิชย์

 

ใช้อย่างไม่ถูกต้อง

การใช้เครื่องหมายกาชาด หรือเสี้ยววงเดือนแดง โดยองค์กร หรือบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต (เช่น บริษัท ห้างร้านพาณิชย์ องค์กรพัฒนาเอกชน บุคคลทั่วไป แพทย์เอกชน และเภสัชกร เป็นต้น)

การใช้เครื่องหมายกาชาด โดยบุคคลที่มีสิทธินำไปใช้ในวัตถุประสงค์ที่ไม่สอดคล้องกับหลักการกาชาด (เช่น ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายกาชาดได้ แต่ผู้นั้นกลับใช้สิทธิเพื่อให้สามารถเดินทางข้ามแดนได้สะดวกขึ้นในขณะอยู่ นอกเวลาปฏิบัติงาน)

การใช้ผิดอย่างร้ายแรง (เพื่อการหลอกลวง)

การ ใช้เครื่องหมายกาชาด หรือเสี้ยววงเดือนแดงในยามสงครามเพื่อคุ้มครองทหารที่ติดอาวุธ หรืออุปกรณ์ทางทหาร (เช่น การนำรถพยาบาล หรือเฮลิคอปเตอร์ ที่ติดเครื่องหมายกาชาด มาใช้ขนส่งทหารที่มีอาวุธ หรือคลังอาวุธที่พรางด้วยธงกาชาด) ถือเป็นอาชญากรรมสงคราม

เครื่องหมายกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงเป็นเสมือนตัวหมุดที่ยึดเชื่อมกิจกรรมด้าน มนุษยธรรมไว้ทั้งหมด โดยต้องให้ความคุ้มครองทั้งผู้ที่ประสบภัย และผู้ที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือ

คุณค่าแห่งการเป็นเครื่องหมายเพื่อการคุ้มครอง จำเป็นต้องได้รับการสร้างเสริมในยามสงบ มิฉะนั้นอาจจะสายเกินแก้ หากมีการใช้เครื่องหมายในทางที่ผิดเมื่อเริ่มเกิดการสู้รบขึ้น

การป้องกันการเลียนแบบและการใช้เครื่องหมายอย่างไม่ถูกต้องในยามสงบ จะเป็นการให้ความมั่นใจว่าผู้ประสบภัยจากการพิพาทจะไม่ถูกทอดทิ้งตามชะตากรรม และผู้เข้ามาให้ความช่วยเหลือจะได้รับประกันความปลอดภัยที่ต้องการในการ ปฏิบัติงาน

เราทุกคนสามารถที่จะช่วยรักษา และทำให้คุณค่าของการให้ความคุ้มครองของเครื่องหมายกาชาดแข็งแกร่งขึ้น เราทุกคนต่างมีความรับผิดชอบที่จะให้ประกันความคุ้มครองที่เครื่องหมายกาชาด ได้ให้ไว้ ซึ่งอาจจะช่วยชีวิตของเราได้ในวันหน้า

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ รวมทั้งสภากาชาด และสภาเสี้ยววงเดือนแดงประจำชาติต่างๆ ได้รวมกันเป็นขบวนการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL RED CROSS AND CROSSCENT MOVEMENT)

ICRC ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของขบวนการกาชาดฯ เป็นสถาบันมนุษยธรรมที่เป็นเอกเทศ และในฐานะที่เป็นผู้เชื่อมประสานที่เป็นกลางในยามที่มีการพิพาททางอาวุธ หรือในเหตุการณ์ไม่สงบ ICRCจะพยายามให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการพิพาททางอาวุธ ทั้งกรณีระหว่างประเทศ หรือมีใช้ระหว่างประเทศและเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศ โดยการเสนอให้บริการซึ่งเป็นการริเริ่มของตนเอง หรือโดยยึดถืออนุสัญญาเจนีวา เป็นหลัก

หากท่านพบเห็นการใช้เครื่องหมายกาชาดในทางที่ผิด ขอให้แจ้งสภากาชาดไทย

สำนักเลขาธิการสภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0 2256 4037-8 อีเมล : [email protected]