การวางแผนเตรียมความพร้อมการมีครอบครัว นั้นเป็นเรื่องที่คู่รักควรให้ความสำคัญ ในเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวางแผนที่จะมีบุตร การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ รวมถึงการกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการมีบุตร จำนวนบุตร รวมถึงการเตรียมรับมือกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากโรคทางพันธุกรรม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคประจำตัว ที่อาจจะส่งผลต่อคุณภาพการตั้งครรภ์ ตลอดจนการคลอดและการเลี้ยงดูลูกในอนาคต และการเตรียมวางแผนมีบุตร กรณีที่ประสบภาวะมีบุตรยากซึ่งถ้าเราเข้าใจการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม การจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีประสิทธิภาพ
ควรตรวจอะไรบ้าง
- ซักประวัติโดยสูตินารี
- ตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจภายใน (ตามข้อบ่งชี้)
- ตรวจเลือด
-ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และพาหนะต่อธาลัสซีเมีย
-หมู่เลือด และแอนติบอดีต่อหมู่เลือด
-โรคติดเชื้อ ได้แก่ เอชไอวี ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี
-ภูมิคุ้มกันต่อหัดเยอรมัน (เฉพาะคุณผู้หญิง)
-เลือดอื่น ๆ (ตามข้องบ่งชี้)
- การตรวจอื่น ๆ (ตามข้องบ่งชี้) เช่น ตรวจอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน ตรวจน้ำอสุจิ
ระบบบริการสุขภาพดูแลทางสูติ-นรีเวช
ฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีการให้บริการทางการแพทย์
ประกอบด้วยงานทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่
- งานบริการผู้ป่วยนอก ได้แก่ คลินิกฝากครรภ์ คลินิกนรีเวช และคลินิกเฉพาะทาง
- งานบริการผู้ป่วยใน
- ห้องคลอด
- ห้อง ICU สูติฯ
- ห้องผ่าตัด
ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่พร้อมดูแลและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยอีกด้วย มีการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้ที่สนใจวางแผนครอบครัว โดยคลินิกวางแผนครอบครัว เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการ เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ อาคาร ภปร ชั้น 7 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 256 5286
ที่มา:
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
กรมอนามัย
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย(สวท) ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทรา
บรมราชชนนี