วันสร้างสุขภาพแห่งชาติ

“วันสร้างสุขภาพแห่งชาติ”  ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายนของทุกปี กำหนดขึ้นเพื่อให้ประชาชน      ทุกคนตระหนักถึง ‘การสร้างสุขภาพ’ มากกว่าการ ‘ซ่อมสุขภาพ’ รวมถึงการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้น ปัญหาสุขภาพของประชากรโลกเป็นปัญหาทางสังคมที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ ในอดีตที่ผ่านมามีปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่รุนแรงเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง การมีสุขภาพดีจึงเป็นรากฐานที่สำคัญของการดำเนินชีวิต ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปัจจัยทางสังคม ดังนั้น การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) จึงเป็นกระบวนการในการเพิ่มความสามารถให้ประชาชน เพื่อให้สามารถควบคุมปัจจัยกำหนดสุขภาพและพัฒนาสุขภาพของตนเองได้ ทั้งสุขภาวะทางกาย จิต สังคมและปัญญา ซึ่งไม่ใช่ เป็นเพียงความรับผิดชอบของบุคลากรและองค์กรสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องไปถึงภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม               ที่จะร่วมกันสร้างวิถีชีวิตและสังคมสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่สุขภาวะที่ดี ในนิยามที่พัฒนาให้กว้างขึ้นยังรวมถึงการเชื่อมโยงถึงสิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรมทางสังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย รู้จัก “สุขภาพ” ดี ทั้ง 4 มิติ สุขภาพดี 4 มิติ ที่เป็นองค์ประกอบของสุขภาพ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและพึ่งพากัน                โดยพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ได้กำหนดนิยามของ “สุขภาพ” คือ ภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์      ทั้งทางกาย (Physical Health) ทางจิต (Mental Health)…

วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล

เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ทุกวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงสากล (International Day for the Elimination of Violence against Women) ” เพื่อรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและร่วมกันขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิง    ทั่วโลก ซึ่งในส่วนของประเทศไทยคณะรัฐมนตรี ได้กำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นเดือนรณรงค์     ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี มาตั้งแต่ปี 2542 รู้หรือไม่? โดยทั่วโลกได้มีการใช้ สัญลักษณ์“ริบบิ้นสีขาว” (White Ribbon) เป็นสัญลักษณ์       เพื่อแสดงถึงการร่วมต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัวด้วย “ไม่ยอมรับ    ไม่นิ่งเฉย และไม่กระทำความรุนแรง” องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้ให้นิยาม “ความรุนแรง”     ว่าหมายถึง การกระทำโดยมีเจตนาใช้กําลังทางกายหรือใช้อำนาจข่มขู่ครอบงำ ไม่ว่าจะเป็นการกระทํา       ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อกลุ่มบุคคลหรือต่อชุมชน อันทําให้เกิดหรืออาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ถึงแก่ความตาย เป็นอันตราย ต่อจิตใจ หรือการละเลยทอดทิ้ง…

โรคพิษสุนัขบ้า อันตรายแต่ป้องกันได้

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดเชื้อทางระบบประสาทเกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ เรบีส์ ไสรัส (Rabirs) ซึ่งเกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น คน สนุข แมว ลิง กระรอก ค้างคาว ฯลฯ โรคนี้ก่อให้เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทส่วนกลาง สามารถติดโรคพิษสุนัขบ้าจากทางใดบ้าง ถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด เชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ที่ถูกกัด ถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย การถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลียผ่านผิวหนังปกติจะไม่ติดโรคจากสัตว์เหล่านั้น ยกเว้นกรณีที่บริเวณที่ถูกเลียมีบาดแผลรอยถลอกหรือรอยขีดข่วน ในกรณีนี้จะมีโอกาสติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้รวมทั้งกรณีถูกเลียที่ริมฝีปากหรือนัยน์ตา ลักษณะอาการคนที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ในระยะ 2-3 วัน อาจมีอาการไข้ต่ำ ๆ เจ็บคอเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คันหรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณแผลที่กัด ตื่นเต้นง่าย กระสับกระส่าย กลืนอาหารลำบาก ชักเกร็ง กลัวน้ำ ข้อควรปฏิบัติภายหลังจากถูกสัตว์กัด ล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาด ฟอกด้วยสบู่ 2- 3 ครั้งแล้วทาแผลด้วยโพวิดีนหรือเบตาดีน ถ้าสุนัขตายให้นําซากมาตรวจ ถ้าหากสุนัขไม่ตายให้ขังไว้ดูอาการ 10 วันหรือนําไปให้ สัตวแพทย้ดูอาการ พบแพทย์ทันที ผู้ป่วยที่โดนสัตว์กัดหรือข่วนทุกราย ต้องไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อพิจารณาฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า และป้องกันบาดทะยัก วิธีการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า…

เคล็ด(ไม่)ลับ ทักษะสร้างมิตรภาพ

ในปัจจุบัน เราจะต้องอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย ซึ่งมีทั้งเพื่อน คนรู้จักคนที่เราต้องทำงานด้วย  หรือแม้แต่คนในครอบครัว ทุกคนที่อยู่รอบข้างของเราล้วนมีความแตกต่างกันทั้งในด้านการคิดและการกระทำ ซึ่งความแตกต่างนี่เองที่ทำให้คนเรามีความขัดแย้งกันแต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกบุคลิกภาพและการกระทำหรื่อสิ่งที่อยู่ภายใน เช่น ความคิด ทัศนคติ อารมณ์ ความรู้สึก ความชอบไม่ชอบ การตัดสินใจ ถ้าหากเราเข้าใจและยอมรับในความแตกต่างเหล่านี้ เราก็จะสามารถปรับตัวเข้ากับคนรอบข้างได้อย่างมีความสุข เทคนิคสร้างมิตรภาพ เปิดโอกาสให้ตัวเองได้พบปะผู้คนที่หลากหลาย สังคมที่หลากหลาย เพื่อเรียนรู้ เข้าถึง  เข้าใจในความแตกต่าง และเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมที่แตกต่างกันไป จะเห็นว่าคนที่มีจิตอาสาไปช่วยเหลือในสถานที่ต่าง ๆ หรือคนที่เดินทางไปในสถานที่หลากหลายได้เห็นความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความคิดที่แตกต่างออกไป จะเป็นคนที่เปิดกว้างยอมรับและปรับตัวได้ง่าย การรับฟังและการอ่านเพื่อเปิดมุมมองให้กว้างขวาง ศึกษาเพื่อเรียนรู้สิ่งที่เราไม่ชอบในหลาย ๆ แง่มุมอคติเป็นสิ่งที่อันตรายมากที่สุด เวลาที่ไม่ชอบอะไร คนเรามักจะตั้งแง่ว่าสิ่งนั้นไม่ดี และน้อยคนที่จะพยายามเปิดใจให้กับมัน เช่น เดียวกับความคิดที่แตกต่างจากความคิดของเราสิ่งที่ควรทำคือลองเปิดใจรับฟัง ลองศึกษาในอีกแง่มุมให้มากขึ้น เราจะเห็นอีกมุมหนึ่งที่เราไม่เคยได้เห็นมาก่อน เราอาจจะเห็นว่าจริง ๆ แล้ว สิ่งที่เราคิดมาตลอดว่ามันไม่ดีมันก็มีมุมดี ๆ คบคนที่แตกต่างและเรียนรู้จากความแตกต่าง เริ่มจากการพูดคุยในสิ่งที่สนใจตรงกัน ใช้เวลาเพื่อสร้างมิตรภาพ จากนั้นเปิดใจรับฟังมุมมองความคิดที่แตกต่าง เราอาจได้เห็นโลกอีกใบที่เราไม่เคยเข้าถึงมาก่อน  ก็เป็นได้ และมิตรภาพจะเป็นปราการป้องกันอคติและความขัดแย้ง ศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด…

เทคนิคฟังเชิงรุก (Active Listening) ฟังอย่างไรให้ “เข้าใจ” ไม่ใช่แค่ “ได้ยิน”

เมื่อกล่าวถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร บ่อยครั้งเราจะคิดถึงการพัฒนาทักษะการส่งสาร (Sending skill) หรือการปรับวิธีการพูด การส่งข้อความ ให้น่าฟัง น่าเชื่อถือ และน่าดึงดูดใจ ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ส่งสาร ตัวสาร และช่องทางการสื่อสาร ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญที่จะส่งผลให้สื่อสารมีคุณภาพ  เพิ่มโอกาสที่การสื่อสารจะประสบความสำเร็จได้สูง อย่างไรก็ดี การสื่อสารนั้นมีด้วยกันสองฝ่าย คือฝ่ายผู้ส่งสารและผู้รับสาร และหากผู้รับสารไม่รับและไม่รู้ด้วย ก็มีโอกาสที่การสื่อสารนั้นจะล้มเหลวได้ การฟังในการสนทนากันมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ ผ่านไปครั้งเดียว แต่สามารถส่งอิทธิพลต่อความรู้สึกระหว่างกันได้มากเพราะมักรับรู้ถึงปฏิกิริยาของคู่สนทนาได้เดี๋ยวนั้น จึงมีความจำเป็นที่เราควรจะพัฒนาทักษะการฟัง หากประสงค์ให้การสื่อสารมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน และเกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันด้วย ก่อนที่จะเสนอว่าการฟังที่ดีเป็นอย่างไร เรามาตรวจสอบระดับการฟังที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันเสียก่อนโดยสามารถแบ่งระดับการฟังได้ 5 ระดับ ได้แก่ 1.ไม่สนใจ — ทำเหมือนผู้พูดกำลังพูดกับกำแพง 2.แกล้งฟัง — พยักหน้า ไม่ได้ตั้งใจฟังจริง 3.เลือกฟัง —  เลือกฟังเฉพาะสิ่งที่อยากฟัง 4.ตั้งใจฟัง —  ฟังด้วยหู อยู่กับปัจจุบัน ได้ข้อมูลครบถ้วนตามที่ได้ฟัง 5.ฟังด้วยใจ — ฟังด้วยหู ด้วยตา และด้วยใจ เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกผู้พูด คิดตามอย่างมีสติ ไม่ตัดสิน…

มะเร็งปอดรอดได้ แค่หยุดสูบบุหรี่

มะเร็งปอดเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เลือกเพศ ช่วงวัย สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม สาเหตุของการเกิดโรคมีหลายประการ ปัจจัยเสี่ยงหลักที่ครองแชมป์ก่อโรคมะเร็งปอดอันดับหนึ่งก็ยังคงเป็นการสูบบุหรี่ คนที่ไม่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้ ซึ่งการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น เช่น ถ้าเราตรวจคน  ที่ไม่สูบบุหรี่ 1,000 คน อาจจะเจอคนเป็นมะเร็งปอดไม่ถึง 1 คน แต่ถ้าตรวจคนสูบบุหรี่ 1,000 คน เรามีโอกาสเจอคนเป็นมะเร็งปอดได้ 4-5 คน และจากสถิติโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี 2565 พบว่า ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งมากกว่า 1 แสนรายต่อปี (เฉลี่ย 400 คนต่อวัน) สาเหตุ การรับสารก่อเกิดมะเร็งอย่างต่อเนื่อง ที่พบบ่อยคือ ควันบุหรี่ ผู้สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องทั้ง ผู้สูบเองหรือสูดควันบุหรี่จากคนรอบข้าง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลที่ไม่สูบอย่างชัดเจน มลพิษจากสิ่งแวดล้อมบางชนิด เช่น Asbestos (แร่ใยหิน) Radon ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีที่พบได้ในครัวเรือน กลุ่มเสี่ยงจากปัจจัยอื่น เช่น สมาชิกในครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคมะเร็ง อาการ ไอเรื้อรัง เสมหะมีเลือด เหนื่อยหอบ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดกระดูก ปวดศีรษะ…

วันผู้สูงอายุแห่งชาติ

วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ในช่วงวันสงกรานต์ของทุก ๆ ปี อีกหนึ่งวันสำคัญที่ขาดไปไม่ได้เลยก็คือ “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” 13 เมษายน ซึ่งเป็นวันที่ทุกคนในครอบครัว ญาติ พี่น้อง จะได้มีโอกาสมารวมตัวกันเป็นการให้คุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญกับผู้สูงอายุ ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ      ตามศักยภาพของตนเอง สังคมไทยในปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่การเป็น สังคมผู้สูงวัย (Aging Society) อย่างสมบูรณ์ โดยสัดส่วนของผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ สัดส่วน 20% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งตรงกับลักษณะของสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ เดือนธันวาคม 2566 พบว่า ไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 13,064,929 คน คิดเป็น 20.17% ของประชากรรวม มีผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 8,901,145 คน คิดเป็น 14%          ของประชากรรวม ขณะที่สัดส่วนของอัตราการเกิด…

เด็กอายุ 15 ปี ที่บริจาคอวัยวะ ทำให้พยาบาลคนหนึ่งยังทำหน้าที่รับบริจาคอวัยวะมาตลอด 13 ปี

“เคสนี้เป็นเด็กอายุ 15 ปี พ่อแม่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ และเขาก็อยู่กับยาย ยายเลี้ยงมา ตอนที่เขาประสบอุบัติเหตุ เชื่อไหม! ยายไม่มาเยี่ยมเลย แต่คนที่มาคือแม่ที่มาจากกรุงเทพฯ . พี่ก็ให้ข้อมูลและบอกแม่น้องเขาว่าให้คุยกับยายก่อนนะ เพราะยายเลี้ยงเขามาตั้ง 15 ปี ตอนนั้นแม่เขาก็ 50/50 นะ แต่ยายไม่มาเลย น้องเขานอนโรงพยาบาล 3 วัน ยายยังก็ไม่มา เพราะยายทำใจไม่ได้ ต่อมาแม่เขากลับไปคุยกับคนในครอบครัวและยินดีจะบริจาคอวัยวะให้ เราก็ดำเนินตามขั้นตอน . ผ่านมา 1 อาทิตย์ จังหวะที่เดินราวน์คนไข้ในโรงพยาบาล เห็นหน้าแม่น้องที่บริจาคอวัยวะมากับผู้หญิงสูงอายุ จังหวะที่เขาเห็นเรา เขาก็ยิ้มและรีบเดินมาหาเราพร้อมกับผู้หญิงสูงอายุคนนั้น ผู้หญิงแก่ ๆ คนนั้น ยกมือไหว้พี่ บอกว่าเป็นยายของน้อง (ที่บริจาคอวัยวะ) . เขาให้ลูกสาวพามาหาเรา เพราะว่าตอนที่จัดงานศพน้อง คนในหมู่บ้านมาช่วยงานศพทุกบ้านเลย ทุกคนต่างชื่นชม เพราะเป็นคนแรกของหมู่บ้านที่บริจาคอวัยวะ . ยายภูมิใจกับหลานมาก หลานเขาอายุแค่นี้ ตัวเขาที่อยู่มาจนจะตายอยู่แล้ว ยังไม่เคยเห็นคนในหมู่บ้านมาช่วยงานศพใครเยอะขนาดนี้มาก่อน . “พี่ว่างานบริจาคอวัยวะเนี่ย ทำให้ครอบครัวที่เขาสูญเสีย เขามีพลัง…

วิธีจัดการความเครียดง่าย ๆ ด้วยตนเอง

การระบายปัญหาจากความเครียดออกมาด้วยการขอกำลังใจ และการสนับสนุนจากคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก การได้ระบายความรู้สึกของตัวเอง แทนที่จะเก็บไว้คนเดียว จะทำให้ภาวะตึงเครียดผ่อนคลายลง และรู้สึกดีขึ้น   หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง ออกไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจบ้าง ออกกำลังกายอย่างน้อยเป็นเวลา 30 นาทีต่อวัน จะช่วยปรับอารมณ์และลดระดับความเครียดลงได้ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดีต่อสุขภาพ การมีสุขภาพกายที่ดีย่อมส่งผลดีต่ออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ให้สามารถทำงานได้เป็นปกติ มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง โดยเฉพาะในกลุ่มวิตามินรวม ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความเครียด หาวิธีรักษา หากไม่สามารถจัดการความเครียดได้ด้วยตนเอง หรือตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพูดคุยบอกเล่าปัญหา ความทุกข์ใจต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเครียด และรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา การวางแผนรับมือในการจัดการกับความเครียด   ความเครียดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นประจำทุกวัน และเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของเราทุกคน หากเราได้นำวิธีการข้างต้นไปใช้ในการจัดการความเครียดแล้ว ก็จะมีสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดี มีสมดุลชีวิตที่ดีได้ในที่สุด   ที่มา : pobpad.com