มะเร็งปอดเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เลือกเพศ ช่วงวัย สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม สาเหตุของการเกิดโรคมีหลายประการ ปัจจัยเสี่ยงหลักที่ครองแชมป์ก่อโรคมะเร็งปอดอันดับหนึ่งก็ยังคงเป็นการสูบบุหรี่
คนที่ไม่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้ ซึ่งการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น เช่น ถ้าเราตรวจคน ที่ไม่สูบบุหรี่ 1,000 คน อาจจะเจอคนเป็นมะเร็งปอดไม่ถึง 1 คน แต่ถ้าตรวจคนสูบบุหรี่ 1,000 คน เรามีโอกาสเจอคนเป็นมะเร็งปอดได้ 4-5 คน และจากสถิติโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี 2565 พบว่า ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งมากกว่า 1 แสนรายต่อปี (เฉลี่ย 400 คนต่อวัน)
สาเหตุ
- การรับสารก่อเกิดมะเร็งอย่างต่อเนื่อง ที่พบบ่อยคือ ควันบุหรี่ ผู้สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องทั้ง ผู้สูบเองหรือสูดควันบุหรี่จากคนรอบข้าง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลที่ไม่สูบอย่างชัดเจน
- มลพิษจากสิ่งแวดล้อมบางชนิด เช่น Asbestos (แร่ใยหิน) Radon ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีที่พบได้ในครัวเรือน
- กลุ่มเสี่ยงจากปัจจัยอื่น เช่น สมาชิกในครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคมะเร็ง
อาการ
- ไอเรื้อรัง เสมหะมีเลือด
- เหนื่อยหอบ
- อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดกระดูก ปวดศีรษะ หากมีการแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น
- กลุ่มเสี่ยง หากไอต่อเนื่องเกิน 3 สัปดาห์ หรือไอผิดปกติควรปรึกษาแพทย์
การรักษา
- ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 3 อย่าง คือ ชนิดของมะเร็งปอด ขอบเขตการกระจายของโรคและสภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาตามความเหมาะสม แต่การรักษา ที่ดีที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรค คือ เลิกสูบบุหรี่
ครบเครื่องเรื่องการดูแลครบวงจรกับ “สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา”
สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เริ่มเปิดให้บริการการรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 จนถึงปัจจุบัน มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา และอุปกรณ์ให้การรักษาด้านรังสีรักษาอันทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
การให้บริการ
สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 1873 ถนนพระราม 4 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
02-256-4100
ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย