
พลังสัมผัสด้วยการกอด
พื้นฐานภาษากายที่มนุษย์สามารถทำได้ทุกคน คือการสัมผัสด้วยการ กอด ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก การกอดมีความสำคัญต่อการดูแลทั้งภายในครอบครัว คนรอบข้าง เพราะการกอด เป็นมากกว่าการแสดงออกทางกายที่แสดงถึงความอบอุ่น ปลอดภัย มั่นคง และคลายความวิตกกังวลและยังเป็นการให้กำลังใจในแบบที่เรียบง่าย แต่มากด้วยคุณค่าทั้งทางใจและทางกาย
ประโยชน์การกอด
ไม่ว่าจะเป็นการกอดรูปแบบไหน ก็มีผลในทางบวกทั้งกับผู้ให้และผู้ที่รับ ในทางวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการกอดยังช่วยกระตุ้นการหลั่งของสารโดปามีน (Dopamine) ซีโรโทนีน (Serotonin) และคอร์ติโซน (Cortisone) สารเคมีเหล่านี้ช่วยในการขจัดความรู้สึกโกรธ อ้างว้าง เดียวดาย โดยทดแทนด้วยความรู้สึก รื่นรมย์ ยินดี รวมถึงความรู้สึกผูกพัน ความรักและความไว้วางใจลดความรู้สึกอ้างว้างและมีความสุขในชีวิตได้
ชนิดการกอด
จากหนังสือการบำบัดด้วยการกอด (Hug Therapy) กล่าวถึงชนิดการกอดว่ามี 11 วิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและโอกาส คือ
- กอดแบบหมี (Bear hug)
- กอดแบบตัว เอ (A frame hug)
- กอดแนบแก้ม (Cheek hug)
- กอดประกบ (Sandwich hug)
- กอดแบบโฉบ (Grabber-squeezer hug)
- กอดเป็นกลุ่ม (Group hug)
- กอดข้างๆ (Side to side hug)
- กอดจากข้างหลังมาข้างหน้า (Back to front hug)
- กอดที่หัวใจ (Heart-centered hug)
- กอดแบบเซน (Zen hug)
- กอดพิเศษ (Custom-tailored hug)
ครบเครื่องเรื่องทางจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิตชั้นนำ
ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดให้บริการหอผู้ป่วยจิตเวช ขึ้นเป็นแห่งแรก ของโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย ควบคู่ไปกับการผลิตบุคลากร ทางด้านจิตเวชศาสตร์ มาอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ให้บริการตรวจวินิจฉัย และดูแลรักษาผู้ป่วยทางจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตแบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมถึงการรับปรึกษาจากแผนกต่าง ๆ บริการสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพจิตแก่หน่วยงานภายในและภายนอก กระบวนการรักษาดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุมในทุกมิติจากผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักอาชีวบำบัด นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์
การให้บริการ
- วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น. อาคาร ภปร ชั้น 12
- คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 16.30 – 20.00 น.
- วันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 08.30 – 12.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 12
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
- ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ (สำนักงานฝ่ายจิตเวชศาสตร์) อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 15
เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน 02 256 4000 ต่อ 61506 – 61514
- หน่วยบริการผู้ป่วยนอก OPD (จิตเวชทั่วไป) อาคาร ภปร ชั้น 12
เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน 02 256 5180 , 02 256 5182
ที่มา : วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.