แมลงก้นกระดก ภัยร้ายใกล้ตัว

แมลงก้นกระดก (Rove beetles) หรือที่เรียกกันว่า ด้วงก้นกระดก ด้วงก้นงอน หรือ ด้วงปีกสั้น เป็นแมลงขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีดำสลับส้มเป็นปล้องๆ จุดเด่นของแมลงชนิดนี้คือเมื่อเกาะแล้วจะมีลักษณะเหมือนก้นกระดกขึ้นมา มักพบในช่วงฤดูฝน โดยเข้ามาตอมหลอดไฟในบ้านและร่วงหล่นตามพื้น   สาเหตุของโรค เกิดจาก แมลงก้นกระดก ปล่อยพิษที่มีชื่อว่า พิเดอริน (Pederin) ซึ่งมีลักษณะเป็นกรดที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการแสบร้อนเป็นรอยไหม้หลังจากสัมผัสพิษประมาณ 8-12 ชั่วโมง โดยส่วนมากมักเกิดจากการสัมผัส ปัด หรือบี้ตัวแมลง จนทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง   อาการของโรค สำหรับผู้ป่วยที่โดนกรดจากแมลงก้นกระดก จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน พบรอยไหม้ และตุ่มน้ำเป็นเป็นผื่น ที่มีลักษณะคล้ายเป็นเริมหรืองูสวัด แต่จะพบเป็นรอยยาว ไม่เป็นกระจุก มักพบรอยบริเวณนอกเสื้อผ้า ในบางคนที่แพ้พิษอาจมีอาการรุนแรง เช่น พุพอง คลื่นไส้อาเจียน หรือเริ่มมีไข้ แต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต   วิธีการรักษา สำหรับการรักษา เบื้องต้นเมื่อโดนพิษจากแมลงก้นกระดก ให้รีบล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผลล้างทันที แต่หากเกิดตุ่มน้ำและรอยแดงขึ้นแล้วสามารถทายาเพื่อรักษารอยแดงซึ่งจะหายไปเองประมาณ 2-3…