เช็คให้ชัวร์ วางแผนครอบครัวให้พร้อมก่อนมีบุตร

การวางแผนเตรียมความพร้อมการมีครอบครัว นั้นเป็นเรื่องที่คู่รักควรให้ความสำคัญ ในเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวางแผนที่จะมีบุตร การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ รวมถึงการกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการมีบุตร จำนวนบุตร รวมถึงการเตรียมรับมือกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากโรคทางพันธุกรรม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคประจำตัว ที่อาจจะส่งผลต่อคุณภาพการตั้งครรภ์ ตลอดจนการคลอดและการเลี้ยงดูลูกในอนาคต และการเตรียมวางแผนมีบุตร กรณีที่ประสบภาวะมีบุตรยากซึ่งถ้าเราเข้าใจการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม การจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีประสิทธิภาพ ควรตรวจอะไรบ้าง ซักประวัติโดยสูตินารี ตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจภายใน (ตามข้อบ่งชี้) ตรวจเลือด -ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และพาหนะต่อธาลัสซีเมีย -หมู่เลือด และแอนติบอดีต่อหมู่เลือด -โรคติดเชื้อ ได้แก่ เอชไอวี ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี -ภูมิคุ้มกันต่อหัดเยอรมัน (เฉพาะคุณผู้หญิง) -เลือดอื่น ๆ (ตามข้องบ่งชี้) การตรวจอื่น ๆ (ตามข้องบ่งชี้) เช่น ตรวจอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน ตรวจน้ำอสุจิ ระบบบริการสุขภาพดูแลทางสูติ-นรีเวช ฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีการให้บริการทางการแพทย์ ประกอบด้วยงานทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่…

การได้ยิน…สำคัญไฉน

การได้ยินเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารในการรับฟังความรู้สึก ความต้องการ พร้อมทั้งเรื่องราวต่าง ๆ สำหรับปัญหาการได้ยินนั้น มักเกิดในผู้สูงอายุ ถึง 1 ใน 3 ที่ประสบปัญหาดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคน เช่น ทำให้ไม่กล้าพบปะผู้คน ไม่กล้าสื่อสารกับผู้อื่น ไม่สามารถขับรถหรือเดินทางได้ เป็นต้น ผลกระทบเหล่านี้เหมือนจะเป็นปัญหาเพียงเล็กน้อย แต่กลับเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่กลุ่มผู้สูงวัยเท่านั้นที่จะพบปัญหาการได้ยินการสื่อสารและการทรงตัว           แต่สามารถพบได้ในเด็กตั้งแต่ช่วงแรกเกิด ส่งผลให้เด็กมีภาวะเดินได้ช้า ไม่สามารถทรงตัวได้ และในกลุ่มวัยกลางคนอายุระหว่าง 30-40 ปี ก็สามารถพบปัญหาการได้ยินและการทรงตัวได้เช่นกัน ปัญหาการได้ยินส่วนมากเกิดจากภาวะประสาทหูเสื่อมตามวัย แต่บางรายเสื่อมเพราะพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ อย่างการใส่หูฟังแล้วเปิดเพลงเสียงดังหรือการอยู่ในที่ที่มีเสียงดัง ก็เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาการได้ยินเช่นกัน ซึ่งเสียงปกติที่ควรได้ยินนั้นไม่ควรดังเกิน 80 เดซิเบล ในระยะเวลานานต่อเนื่อง 8 ชั่วโมง ต่อวัน การดูแลรักษาไม่ให้หูเสื่อมเร็ว จำกัดความดังของเสียง หลีกเลี่ยงเสียงดังหรือใส่อุปกรณ์ป้องกันหูเมื่ออยู่ในที่เสียงดัง ควบคุมโรคประจำตัว เช่น เบาหวานและงดสูบบุหรี่ งดยาบางประเภทที่ส่งผลร้ายต่อหู ระบบบริการสุขภาพดูแลทางการได้ยินและทรงตัวขั้นสูง (Advance hearing and balance clinic) คลินิกการได้ยินและการทรงตัวขั้นสูง (Advance hearing…