สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในพิธีงาน 90 ปี สถานีกาชาดที่ 2 กรุงเทพฯ

วันนี้ (1 พฤศจิกายน 2561) เวลา 09.09 น. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จไปยังสถานีกาชาดที่ 2 (สุขุมาลอนามัย) เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทรงเป็นประธานในพิธีงานเฉลิมฉลองในโอกาส 90 ปี สถานีกาชาดที่ 2 กรุงเทพฯ (สุขุมาลอนามัย) ทรงเจิมป้ายอาคาร จำนวน 2 ป้าย คือ อาคาร “สมัยนวุติวัสส์” และ อาคาร “บริพัตรวรอุทิศ” ทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายอาคารใหม่ และประทานพระโอวาทแก่ผู้มาร่วมในพิธี ต่อมา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระวโรกาสให้  นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย ทูลถวายไทยธรรม ผู้มีจิตศรัทธาทูลถวายครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และประทานครุภัณฑ์ทางการแพทย์แก่สถานีกาชาดที่ 2 จากนั้น ประทานของที่ระลึกแก่ผู้มีอุปการคุณ และเสด็จกลับวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม   ประวัติของสถานีกาชาดที่ 2 กรุงเทพฯ (สุขุมาลอนามัย) สถานีกาชาดที่…

เรือพระราชทานเวชพาหน์ สืบสานพระราชปณิธาน ในหลวงรัชกาลที่ 9

วันที่ 26 กันยายน 2561 เวลา 08.30 น. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ศุภวัฒน์ ชุติวงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เรือพระราชทานเวชพาหน์ ณ ท่าวาสุกรี เทเวศน์ กรุงเทพฯ เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งจะออกให้บริการทางการแพทย์  ให้ความรู้เรื่องสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภค แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามริมสองฝั่งแม่น้ำลำคลอง ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ 1-5 ตุลาคม 2561 โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ  ทั้งสิ้น เรือพระราชทานเวชพาหน์ ปฏิบัติงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มกราคม –17 กุมภาพันธ์ 2498 ที่จังหวัดนนทบุรี และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 2-6 ตุลาคม 2560 ที่จังหวัดปทุมธานี ใน 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี สุพรรณบุรี นครสวรรค์ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี…

เยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย ณ สปป.ลาว

จากสถานการณ์เขื่อนเซเปี่ยน-เซน้ำน้อย แขวงอัตตะปือ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแตก เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำไหลบ่าท่วมบ้านเรือนประชาชนหลายหมู่บ้าน ประชาชนต้องอพยพไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 6,000 ราย และมีผู้ได้รับผลกระทบ 13,100 ราย สภากาชาดไทย โดย สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ได้จัดส่งชุดธารน้ำใจ เต็นท์ เรือท้องแบน ยานพาหนะและสิ่งของจำเป็นอื่นๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังส่งเจ้าหน้าที่สำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ ร่วมปฏิบัติงานหน่วยตอบสนองภัยพิบัติระดับภูมิภาค (Regional Disaster Response Team : RDRT) ด้านการบรรเทาทุกข์ ด้านน้ำ สุขาภิบาล และการส่งเสริมสุขอนามัย ณ สปป.ลาว อีกด้วย ต่อมา เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561 พลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์…

สภากาชาดไทย นำหน่วยแพทย์ตรวจรักษาผู้พลัดถิ่นชาวโรฮีนจา ในเมืองค็อกซ์ บาซาร์

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561 นายสวนิต คงสิริ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และ ดร. Habibe Millat รองประธานเสี้ยววงเดือนแดงแห่งบังกลาเทศ (Bangladesh Red Crescent Society) ร่วมกันเป็นประธานในพิธีเปิดค่ายหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่โรงเรียน Ukhia Model Government School เมือง Ukhia ชานเมืองค็อกซ์ บาซาร์ ประเทศบังกลาเทศ โดยมีนางสาวพรรณพิมล สุวรรณพงศ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา ร่วมด้วย สภากาชาดไทยร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา จัดโครงการนำหน่วยแพทย์ตรวจรักษาผู้พลัดถิ่นชาวโรฮีนจาและชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบในเมืองค็อกซ์ บาซาร์ ระหว่างวันที่ 26 – 29 สิงหาคม 2561 โดย ที่จัดตั้งค่ายหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 2 แห่ง ได้แก่ 1. ตรวจรักษาชาวโรฮีนจาในบริเวณค่ายพักพิงของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ 4 (UNHCR Camp 4)…

กาชาดเร่งส่งชุดธารน้ำใจฯ ช่วยผู้ประสบภัยสปป.ลาว ผ่านองค์การกาแดงลาว

สภากาชาดไทย องค์กรแห่งการให้และจิตอาสา เร่งให้ความช่วยผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์เขื่อนเซเปี่ยน-เซน้ำน้อย แตก ในแขวงอัตตะปือ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 ทำให้ปริมาณน้ำ 5 พันล้านลูกบาศก์เมตร ไหลบ่าลงแม่น้ำเซเปี่ยน เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนหลายหมู่บ้าน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ผู้สูญหาย และไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก สภากาชาดไทย โดย สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ได้ดำเนินการจัดเตรียมชุดธารน้ำใจสภากาชาดไทย สิ่งของบรรเทาทุกข์ และหน่วยต่าง ๆ ที่พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวผ่านองค์การกาแดงลาว อาทิ ชุดธารน้ำใจฯ จำนวน 4,100 ชุด ประกอบด้วย เครื่องอุปโภค บริโภค ยารักษาโรค ฯลฯ กระจายตามสถานีกาชาดต่าง ๆ ได้แก่ สถานีกาชาดที่ 1 สุรินทร์ สถานีกาชาดที่ 4 นครราชสีมา และสถานีกาชาดที่ 7 อุบลราชธานี นอกจากนี้ยังมีผ้าห่ม Polyester จำนวน 5,400 ผืน เต็นท์ (Family…

สถานีกาชาด 11 (วิเศษนิยม) ปรับโฉมใหม่พร้อมให้บริการ

สถานีกาชาดที่ 11 วิเศษนิยม ตั้งอยู่ที่แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ โดยนางผิน แจ่มวิชาสอน เจ้าของโรงงานวิเศษนิยม และญาติ ยกที่ดิน 4 โฉนด เนื้อที่ 3 ไร่ 21 ตารางวา พร้อมบริจาคเงินจำนวน 1,000,000 บาท ให้สภากาชาดไทยเพื่อสร้างสถานีกาชาด เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2508 เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสถานีกาชาดที่ 11 วิเศษนิยม เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2510 ต่อมา เมื่อปีพ.ศ. 2554 ได้วางแผนสร้างอาคารใหม่ทดแทนอาคารเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเพื่อรองรับประชาชนในเขตภาษีเจริญและพื้นที่ใกล้เคียงให้ได้รับการรักษาพยาบาลแบบครบวงจรในราคาย่อมเยา ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและจะเปิดให้บริการประชาชนตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป สถานีกาชาดที่ 11 ให้บริการรักษาโรคทั่วไป โรคเฉพาะทาง จักษุศัลยกรรม ทันตกรรม การฉีดวัคซีน…

เรื่องเล่า…จากบรรเทาทุกข์ ตอน หน่วยแพทย์คืนเสียงสู่โสต

ทำงานด้วยใจ รักษาคนไข้เหมือนญาติของเรา “หมอเรียนจบด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2547 เป็นหมอใช้ทุนที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และสถานีกาชาด ก่อนจะมาอยู่ที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ในฐานะของการเป็นหมอ หู คอ จมูก ณ ตอนนั้นมีโครงการคืนเสียงสู่โสต โดย ผศ.ดร.นพ.ม.ล.กรเกียรติ์ สนิทวงศ์ เป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมา ร่วมกับ นพ.ศัลยเวทย์ เลขะกุล ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิหู คอ จมูก ชนบทในขณะนั้น” “โครงการคืนเสียงสู่โสตเป็นโครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ทำหน้าที่ให้บริการตรวจรักษาทั้งทางยาและการผ่าตัด รวมทั้งการตรวจวัดระดับการได้ยินแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคทางหูในถิ่นทุรกันดารและมีฐานะยากจน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เราจะเลือกพื้นที่ที่ไม่มีหมอหู คอ จมูก หรือมีหมอหู คอ จมูกที่ยังขาดความมั่นใจในการผ่าตัดหู ทำให้คนไข้คั่งค้างจำนวนมาก จากนั้นเราก็จะขนเครื่องมือไปออกหน่วย และทำการผ่าตัดให้คนไข้ที่หน่วย โดยคนไข้ไม่ต้องเดินทางอย่างยากลำบากเพื่อไปรับการรักษา” “ตามหลักการของการทำงาน ควรทำงานไปด้วยและมีความสุขไปด้วย แล้วความสุขจะหาได้จากที่ไหน อาจจะไม่ใช่ความสุขสบายส่วนตัว แต่ก็ต้องเป็นความสบายใจ ต้องหาอะไรสักอย่างที่ทำให้เรารู้สึกว่ามีความสุข ซึ่งอาชีพชุดขาวแบบนี้ การได้ทานข้าวเที่ยงบ้าง ไม่ได้ทานบ้างนั้นเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เฉพาะหน่วยของสภากาชาดไทย แต่แพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติงานในทุกโรงพยาบาลต่างก็เจอชีวิตแบบนี้…

เรื่องเล่า…จากบรรเทาทุกข์ ตอน พยาบาลสาธารณภัย สร้างความพร้อมรับภัยพิบัติ

เรื่องการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติเป็นเรื่องของเราทุกคน “หลังเรียนจบปริญญาตรีจากวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย(ปัจจุบัน คือ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย)ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ก็เข้าบรรจุที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ในตำแหน่งพยาบาลสาธารณภัย ถึงปัจจุบันก็ 24 ปีแล้ว เราทำงานทั้งด้านการแพทย์ ด้านการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย ซึ่งจะมีทั้งการเตรียมพร้อมก่อนเกิด ขณะเกิดเหตุการณ์ และการฟื้นฟูบูรณะหลังเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ มีการดูแลทั้งด้านสุขภาพและการช่วยเหลืออื่นๆ เพราะ สิ่งสำคัญของพยาบาลสาธารณภัย คือ ต้องทำได้ทุกอย่าง” “ในสมัยนั้นเรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติยังไม่ค่อยได้รับความสนใจ ต้องไปศึกษาจากศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย หรือ ADPC (Asian Disaster Preparedness Center) เริ่มตั้งแต่ยังเป็นคู่มือภาษาอังกฤษ จนปัจจุบันงานเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติของสภากาชาดไทย ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลา 14 ปีแล้ว สามารถพัฒนาจนเป็นคู่มือภาษาไทยสำหรับประชาชน การ์ตูนและแอนิเมชันเตรียมความพร้อมสำหรับเด็ก ซึ่งเป็นที่ภูมิใจว่าตอนนี้เราพัฒนามาถึงจุดนี้ได้แล้ว ความตั้งใจในการทำงานด้านนี้ เพราะเราอยากให้ทุกคนดูแลตนเองได้ เมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้นพวกเขาต้องช่วยเหลือและดูแลตัวเองก่อนที่หน่วยงานต่าง ๆ จะเข้ามา ทางสำนักงานบรรเทาทุกข์ฯมีการเสริมสร้างศักยภาพความพร้อมรับภัยพิบัติที่หลากหลาย โดยในแต่ละปีจะดูแลชาวบ้านได้ประมาณ 5 ชุมชน และชุมชนติดตามในโครงการการติดตามชุมชนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ ซึ่งการไปเยี่ยมเหมือนเป็นการไปกระตุ้น ไปทบทวนการปฐมพยาบาล หรือเรื่องอื่นๆ อย่างน้อยก็ทำให้เขาเห็นความสำคัญของการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ” “ด้วยความที่เป็นพยาบาลสาธารณภัย ต้องเตรียมการทุกอย่างให้ครบ…

เรื่องเล่า…จากบรรเทาทุกข์ ตอน ปากแหว่งเพดานโหว่ (2/2)

โฟลิกไม่ได้ป้องกันแค่เรื่องปากแหว่งเพดานโหว่ ความพิการทางมือ แต่ลดโอกาสการเกิดความพิการแต่กำเนิดเกือบทุกอย่าง “ตอนหลังเราได้องค์ความรู้มาว่า ความพิการแต่กำเนิดส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรม แต่ก็มีบางส่วนที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมระหว่างที่แม่ตั้งครรภ์ เช่น แม่สูบบุหรี่ กินเหล้า กินยาบางตัว ติดเชื้อหัดเยอรมัน แต่เดิมเราคิดว่าถ้าเป็นเรื่องพันธุกรรม ป้องกันไม่ได้ แต่เพิ่งมารู้ว่าทั่วโลกเค้ารู้กันมานานแล้วว่าถึงจะเป็นพันธุกรรมก็ป้องกันได้ ถ้าได้กินวิตามินโฟลิกตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือน จนกระทั่งตั้งครรภ์ครบ 3 เดือน วันละ 0.4 มิลลิกรัม จะช่วยลดโอกาสความพิการของลูกได้เกือบครึ่ง เป็นงานวิจัยออกมาแบบนี้ องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำมา 20 กว่าปีแล้ว และเมื่อ10 ปีที่แล้วก็ออกคำแนะนำย้ำมาอีกว่า ทั่วโลกควรจะรณรงค์ป้องกันความพิการแต่กำเนิดด้วยโฟลิก ที่อเมริกาบังคับเป็นกฎหมายว่าอาหารที่คนรับประทานทุกวันต้องผสมโฟลิกในปริมาณสูงในระดับที่ถ้าตั้งท้อง ตัวอ่อนจะได้รับโฟลิกสูงด้วยเพื่อไปกดการแสดงออกของพันธุกรรม ทำให้เด็กที่ควรจะพิการ ไม่พิการ แต่ยากตรงที่ต้องกินตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพราะฉะนั้นถ้าไม่บังคับเป็นกฎหมายแล้วทานช้าไป ตัวอ่อนก็พิการไปแล้ว คนอเมริกันเลยได้รับการป้องกันทุกคน และผลจากการบังคับเป็นกฎหมายครบ 20 ปี เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา พบว่าอัตราความพิการแต่กำเนิดของประเทศเขาลดฮวบนะครับ และเขาก็ยังคงยืดหยัดกฎหมายนี้มาตลอด 20 ปี ทุกวันนี้ 80 กว่าประเทศทั่วโลกที่บังคับเป็นกฎหมาย ส่วนประเทศที่ไม่บังคับกฏหมายก็รณรงค์กันอย่างจริงจังแต่ประเทศไทยยังขาดเรื่องนี้ ทางสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชาชนมัยพิทักษ์ก็พยายามผลักดันอย่างเต็มที่มา 10 กว่าปีแล้ว จนกระทั้งเมื่อ…

กาชาดสร้างชีวิตใหม่ให้ผู้ป่วยปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น จังหวัดสตูล

  สภากาชาดไทย ดำเนินการโครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น ตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ออกหน่วยปีละ 6 จังหวัด ครั้งละ 1 สัปดาห์ เป็นโครงการเชิงรุก เข้าค้นหาผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสและนำตัวเข้ารับการผ่าตัด โดยในแต่ละจังหวัดจะผ่าตัดโดยเฉลี่ย 50 รายต่อครั้ง และบางจังหวัดมีจำนวนร้อยกว่าราย  ล่าสุด สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ นำโดย นายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ ร่วมกับแพทย์อาสาสมัคร ได้ออกหน่วยศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น ระหว่างวันที่ 21-25 พฤษภาคม 2561 ณ โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล พร้อมกันนี้ได้มอบของขวัญให้แก่ผู่ป่วยที่เข้ารับการรักษา เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจอีกด้วย สภากาชาดไทย ได้รณรงค์ให้ความรู้ประชาชน โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิติมินโฟลิก เพื่อป้องกันความพิการของลูกในครรภ์ ซึ่งวิตามินโฟลิก คือ วิตามินบี 9 ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตัวอ่อน ช่วยป้องกันความผิดปกติของเลือด และมีส่วนช่วยในการซ่อมแซม DNA ในเซลล์ ซึ่งหากร่างกายได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ ระดับโฟเลตในเซลล์ลดลง การเจริญเติบโตของเซลล์ก็จะหยุดชะงักตามไปด้วย ทำให้การเจริญเติบโตของตัวอ่อนไม่สมบูรณ์และเกิดความพิการแต่กำเนิดได้ การรับประทานโฟเลตหรือวิตามินโฟลิกเพียงวันละ 400…