กิจกรรมวันกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงโลกประจำปี 2567 ร่วมส่งเสริมจิตสำนึกรักษ์โลก

สภากาชาดไทย ร่วมกับ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) จัดงานวันกาชาดโลกปี 2567 เนื่องในโอกาสครบรอบ 161 ปีแห่งการก่อตั้งขบวนการกาชาดและเสี้ยวงวงเดือนแดงระหว่างประเทศ และการเฉลิมฉลอง 131 ปี แห่งการก่อตั้งสภากาชาดไทย โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและจิตอาสาเพื่อชุมชนในกลุ่มเยาวชนทั้งไทยและนานาชาติ ณ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมด้วย นายฮวน เปโดร   แชเรอร์ ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ICRC และ นางสาวแคททรีน คลาร์คสัน หัวหน้าคณะผู้แทน กลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง IFRC ร่วมเป็นประธานในงานกิจกรรมวันกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงโลกประจำปี 2567 (World Red Cross and Red Crescent Day 2024) ซึ่งมีแนวคิดหลักคือ “ดำรงรักษาหลักมนุษยธรรม” (Keeping Humanity Alive) และในโอกาสพิเศษที่สภากาชาดไทยได้ร่วมลงนามในกฎบัตรสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กรมนุษยธรรม (The…

เสริมสร้างศักยภาพงานสานสัมพันธ์ครอบครัว

วันที่ 4 เมษายน 2567 เจ้าหน้าที่สภากาชาดไทยจากสำนักวิเทศสัมพันธ์และสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาดเข้าร่วมการอบรมงานสานสัมพันธ์ครอบครัว (Restoring Family Links – RFL) กับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สำนักงานกรุงเทพฯ (ICRC) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมตามยุทธศาสตร์งานสานสัมพันธ์ครอบครัวของขบวนการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ปี ค.ศ. 2020-2025 งานสานสัมพันธ์ครอบครัวเกิดขึ้นในสมัยของนายอังรี ดูนังต์ ผู้ก่อตั้งองค์กรกาชาด ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือส่งจดหมายจากทหารที่ใกล้เสียชีวิตในสมรภูมิซอลเฟริโนให้แก่ครอบครัวได้ทราบชะตากรรมของบุคคลอันเป็นที่รัก  ปัจจุบัน งานสานสัมพันธ์ครอบครัวได้พัฒนาขอบเขตการให้บริการครอบคลุมผู้ที่พลัดพรากจากเหตุการณ์การขัดกันทางอาวุธ ภัยพิบัติ และวิกฤติมนุษยธรรมอื่นๆ ยุทธศาสตร์งานด้านสานสัมพันธ์ครอบครัวของขบวนการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ปี ค.ศ. 2020-2025 ประกอบด้วยการป้องกันการพลัดพราก (Prevention) การเข้าถึงการบริการที่ทั่วถึง (Accessibility) การให้คำตอบแก่ผู้ร้องขอได้ทราบชะตากรรมของผู้พลัดพรากด้วยความรวดเร็ว (Answers) และให้การสนับสนุนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ (Support) ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้จะถูกขยายต่อไปจนถึงปี ค.ศ. 2030

มูลนิธิศาสนจักรของพระเยซูคริสต์ฯ บริจาคกรอบแว่นตาสำหรับเด็ก

วันที่ 10 เมษายน 2567 นายนพพร จรรยาสว่างพร ผู้จัดการแผนกสวัสดิการและการพึ่งพาตนเอง Mr. Chad และ Ms. Julie Atkinson ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยธรรม จากมูลนิธิศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย ประจำประเทศไทย มอบกรอบแว่นตาจำนวน 8,000 ชิ้น เพื่อสนับสนุนโครงการรถตัดแว่นสายตาเคลื่อนที่สภากาชาดไทยเพื่อเด็กนักเรียนในชนบท ในโอกาสนี้ พลโทนายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์เป็นผู้รับมอบ และนำคณะมูลนิธิศาสนจักรฯ เยี่ยมชมรถตัดแว่นสายตาเคลื่อนที่ หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ และคลังเก็บเครื่องบรรเทาทุกข์

สภากาชาดไทยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หนีภัยจากเมียนมา

ผู้หนีภัยความไม่สงบจากประเทศเมียนมาประมาณ 3,000 คน ได้รับความช่วยเหลือจากสภากาชาดไทย ในระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2567 ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว 2 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวท่าทรายรุจิราและท่า 25 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยเหล่ากาชาดจังหวัดตากและกิ่งกาชาดอำเภอแม่สอดได้ให้การสนับสนุนภารกิจด้านมนุษยธรรมของหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นอย่างเต็มที่ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2567 กิ่งกาชาดอำเภอแม่สอดจัดตั้งศูนย์บริจาคเฉพาะกิจ ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สอด  ในการนี้ นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก พร้อมด้วยนางวรรณฤดี  กิจเจริญรุ่งโรจน์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดตาก และคณะกรรมการ ทำการรวบรวมการสนับสนุนและการบริจาคจากหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น ภาคเอกชน หน่วยงานภาคประชาสังคม องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ชุมชนคนไทยและคนต่างชาติในท้องที่  จากนั้นแจกจ่ายอาหารปรุงสุกจำนวนกว่า 7,500 กล่อง นมยูเอชที 280 กล่อง น้ำดื่ม 4,500 ขวด มุ้งกันยุง 520 หลัง ยารักษาโรค 130 ชุด และอื่น ๆ รวมมูลค่ากว่า…

สภากาชาดไทยร่วมลงนามกฎบัตรสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กรด้านมนุษยธรรม

สภากาชาดไทยโดยเลขาธิการสภากาชาดไทย ได้ร่วมลงนามอิเล็กทรอนิกส์ในกฎบัตรสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กรด้านมนุษยธรรม (Climate and Environment Charter for Humanitarian Organizations) เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 พร้อมประกาศเป้าหมาย 4 ข้อ ในการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและของเสียด้วยการลดการใช้ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ 2. เพิ่มนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความยั่งยืนในการดำเนินงานและกิจกรรมของสภากาชาดไทยให้ได้ผลมากขึ้น 3. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนในงานด้านสาธารณูปโภคของสภากาชาดไทยให้มากขึ้น 4. ส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และเผยแพร่นโยบายรวมถึงแนวทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครของสภากาชาดไทยได้รับรู้และนำไปปฏิบัติ   กฎบัตรสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กรด้านมนุษยธรรม (Climate and Environment Charter for Humanitarian Organizations) เป็นความร่วมมือของกลุ่มองค์กรด้านมนุษยธรรมในระดับนานาชาติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการตระหนักถึงวิกฤตการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งร่วมกันแก้ไขปัญหาเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในความตกลงปารีส กรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) และกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง   ปัจจุบัน (ณ วันที่ 23 มกราคม 2567)…

สภากาชาดไทย เชิญชวนน้อง ๆ มาร่วมกิจกรรม “วันเด็กแห่งชาติ สภากาชาดไทย 2567”

#สภากาชาดไทย เชิญชวนน้อง ๆ มาร่วมกิจกรรม #วันเด็กแห่งชาติ สภากาชาดไทย 2567 เด็กไทยหัวใจ Volunteer สนุก สุขภาพดี มีสาระ ภายในงานพบกิจกรรมจากพี่ ๆ หน่วยงานภายในสภากาชาดไทย พร้อมของแจก ของรางวัลพิเศษมากมายพลาดไม่ได้ วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 เวลา 08.00 – 15.30 น. บริเวณโถงอาคารสิรินธรานุสรณ์ 60 พรรษา สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ แผนที่มายัง สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย  https://maps.app.goo.gl/RJ94Y4u62Jc3kpRv6

สภากาชาดไทยร่วมลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธาน IFRC

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2566  ดร. อภิชาติ ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์  เข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่ วาระพิเศษเพื่อเลือกตั้งประธานสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) ผลจากการเลือกตั้ง Ms. Kate Forbes ผู้สมัครจากสภากาชาดสหรัฐอเมริกา ได้รับเลือกเป็นประธาน IFRC คนใหม่ Ms. Kate Forbes เป็นชาวรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการตรวจสอบ และความเสี่ยงของ IFRC  มีประสบการณ์ทำงานด้านมนุษยธรรมกับขบวนการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ มากว่า 40 ปี ซึ่งผลจากการเลือกตั้งในครั้งนี้ทำให้เธอเป็นสตรีคนที่ 2 และเป็นชาวอเมริกันคนที่ 5 ที่ได้ดำรงตำแหน่งประธาน IFRC สภากาชาดไทยขอแสดงความยินดีกับ Ms. Kate Forbes ที่ได้รับตำแหน่งประธาน IFRC คนใหม่ ในวาระนี้

รัฐบาลไทยมอบเงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบภัยในยูเครน ผ่านสภากาชาดไทย

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566 รัฐบาลไทยมอบเงินจำนวน 2 ล้านบาท ให้กับสภากาชาดไทยเพื่อส่งต่อให้กับสภากาชาดยูเครน ในการสนับสนุนความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตทางมนุษยธรรมในยูเครน โดยมี นายศรัณย์  เจริญสุวรรณ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้แทนส่งมอบเงินบริจาคดังกล่าวให้กับ ดร.อภิชาติ  ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ณ กระทรวงการต่างประเทศ

ผู้แทนสภากาชาดไทยเข้าร่วมการประชุมเรื่องกฎหมายด้านภัยพิบัติ

ระหว่างวันที่ 29 – 30 พฤศจิกายน 2566 พลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์  เข้าร่วมการประชุม บทบาทของกฎหมายด้านภัยพิบัติ ในการบรรเทาสาธารณภัยและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference on the Role of Disaster Law in Mitigating Disasters & Strengthening Climate Resilience)  ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยความร่วมมือของ สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ กลุ่มการวิจัยภัยพิบัติ สถาบันแห่งกฎหมาย ภาวะฉุกเฉิน และภัยพิบัติ  สถาบันสังคมศาสตร์ และองค์กร Sphere แห่งสาธารณรัฐอินเดีย โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ และกฎหมายด้านภัยพิบัติระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

สภากาชาดไทยเข้าร่วมการประชุมสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 11 ที่เวียดนาม

คณะผู้แทนสภากาชาดไทย นำโดย ดร.อภิชาติ ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมการประชุมสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 11 (11th Asia Pacific Red Cross and Red Crescent Regional Conference) ซึ่งมีสภากาชาดเวียดนามเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 21 – 23 พฤศจิกายน 2566 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยการประชุมในครั้งนี้ได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึง ประเด็นการส่งเสริมความเข้มแข็งของสภากาชาดของประเทศต่าง ๆ อาทิ การให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้นำสตรี ความยั่งยืนด้านการหารายได้ การเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ และการสนับสนุนด้านมนุษยธรรมระหว่างองค์กร เป็นต้น สำหรับการประชุมครั้งนี้ สภากาชาดไทยได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและกลุ่มผู้เปราะบางโดยการใช้แอปพลิเคชัน “พ้นภัย” และการใช้เทคโนโลยีพิสูจน์อัตลักษณ์ด้วยม่านตาและใบหน้าเพื่อช่วยในการให้วัคซีนแก่บุคคลที่ไม่มีเอกสารยืนยันตัวตน แรงงานข้ามชาติ รวมถึงผู้หนีภัยจากสถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทยฯ ยังได้เยี่ยมคารวะ นาย หวอ วัน เทือง ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รวมถึงเข้าพบ นาง…