เรื่องเล่า…จากบรรเทาทุกข์ ตอน ปากแหว่ง-เพดานโหว่ (1/2)

โครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น เป็นโครงการที่ตั้งเป้าว่าจะไม่ใช้เงินงบประมาณ แต่จะใช้เงินบริจาคเพื่อการนี้โดยเฉพาะ “ผมทำงานที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ มา 20 ปีแล้ว ตอนแรกตั้งใจจะเข้าเป็นอาจารย์ที่หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่สุดท้ายก็ได้มาทำที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ พอได้มาทำงานจริงก็มีความรู้สึกว่าช่วยคนได้มากในหลายมิติไม่ใช่เฉพาะการผ่าตัดรักษาโรค แต่สามารถขยายบทบาทไปยังโครงการที่ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ในระดับประเทศ” “1 ในโครงการของสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ คือโครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น ซึ่งเริ่มต้นตั้งปี พ.ศ.2541 แรงบันดาลใจในการทำโครงการนี้คือ 1. ปากแหว่ง-เพดานโหว่เป็นความพิการบนใบหน้าที่พบมากที่สุดในบรรดาความพิการแต่กำเนิดบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ และ 2. เนื่องจากอยู่บนใบหน้าจึงเห็นเด่นชัดมาก ซ่อนไม่ได้ บางคนถึงแม้จะเป็นเพดานโหว่แต่พูดออกมาเสียงไม่ชัดคนก็รู้อยู่ดี เพราะฉะนั้นมันเป็นความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ไม่เฉพาะเรื่องโรคภัยทางร่างกายแต่มันเป็นความทุกข์ทรมานด้านจิตใจและเป็นปมด้อยสำหรับเด็ก ทำให้เด็กปากแหว่ง-เพดานโหว่(ที่โดยทั่วไปมีสติปัญญาเป็นปกติ)แต่เพราะปมด้อยนี้จึงทำให้พัฒนาการช้าทั้งด้านการเรียนรู้ ด้านการเข้าสังคม นอกจากนี้พ่อแม่ก็ลำบากมาก พอมีลูกปากแหว่ง-เพดานโหว่ ต้องทุ่มเทเวลาให้กับลูกมากกว่าปกติเยอะแค่ให้นมยังลำบาก ต้องพาไปพบหมอบ่อยๆ” “ในยุคที่เริ่มต้นโครงการมีโรงพยาบาลที่ผ่าตัดรักษาปากแหว่ง-เพดานโหว่ได้ไม่กี่โรงพยาบาล ไม่ครบทุกจังหวัด นอกจากชาวบ้านจะต้องเดินทางจากหมู่บ้านมาที่ตัวเมืองของจังหวัดแล้ว บางทีต้องส่งตัวข้ามมาอีกจังหวัด นัดแล้วนัดอีกกว่าจะได้รับการผ่าตัด ซึ่งมีผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาทันตามกำหนดเวลาจำนวนมาก และมันเป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของสังคม คือเคยไปร่วมโครงการที่มีแพทย์ต่างประเทศมากันเป็นทีม มันก็เป็นความรู้สึกที่แบบ..เรื่องแบบนี้เราก็ทำเองได้เพียงแต่ว่าระบบการกระจายตัวของศัลยแพทย์ตกแต่งหรือระบบการค้นหาผู้ป่วยของเรายังไม่ดีพอ ทำให้มีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอายที่ว่าเราเป็นแพทย์ เราดูแลผู้ป่วยเรื่องนี้แต่ปรากฎว่าเราล้มเหลวในการดูแลผู้ป่วยชาวไทย จนต่างประเทศต้องมาทำบุญอนุเคราะห์สงเคราะห์เรา เพราะฉะนั้นจากโครงการซ่อมเพดานสมานริมฝีปาก (ปีพ.ศ. 2541) ที่คิดจะทำกันปีเดียว เลยเปลี่ยนเป็นโครงการระยะยาวไม่มีจุดสิ้นสุด ชื่อโครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น” “โครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น เป็นโครงการที่ตั้งเป้าว่าจะไม่ใช้เงินงบประมาณแต่จะใช้เงินบริจาคเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เราผ่าตัดรักษาปีละ 6…

เรื่องเล่า…จากบรรเทาทุกข์ ตอน กาชาดเคียงข้างประชาชนผู้ประสบภัย

สภากาชาดไทยเคียงข้างประชาชน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทุกช่วงเวลา ทั้งก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย “เมื่อประมาณ 27 ปีที่แล้ว เราเป็นเพียงเด็กจบใหม่คนหนึ่งที่ได้เข้ามาทำงานที่ฝ่ายบรรเทาทุกข์ ตอนนั้นเรายังไม่ค่อยรู้อะไรมาก ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2550 เพื่อให้การทำงานไม่ทับซ้อนกัน จึงเริ่มมีการแบ่งงานออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยพิบัติ และฝ่ายบริการทางการแพทย์ มีการจัดระบบการจัดการภัยพิบัติออกเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย เริ่มตั้งแต่การเตรียมพร้อมองค์กรและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ ให้ความรู้อาสาสมัครและประชาชนในพื้นที่ ประเมินความเสียหายและความต้องการเบื้องต้น รวมไปถึงการฟื้นฟูในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการศึกษา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากความขัดแย้ง ช่วยเหลือฟื้นฟูด้านวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และส่งเสริมด้านอาชีพให้แก่ผู้ประสบภัย ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 สภากาชาดไทยถือเป็นหน่วยงานเสริมภาครัฐ ไม่ใช่หน่วยงานหลักในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ปัญหาที่พบบ่อยจึงเป็นเรื่องของการประสานงาน ดังนั้น เราจึงต้องพูดคุยกับหน่วยงานในพื้นที่ว่าเขามีปัญหาอะไร ลำบากใจหรือไม่ถ้าเราจะลงไปช่วยเหลือ เราต้องยึดคติ I am OK. You are OK. เพราะเราไม่ได้อยากโดดเด่นเกินใคร แต่เราอยากเดินไปพร้อมๆ…

เรื่องเล่า…จากบรรเทาทุกข์ ตอน เรือพระราชทาน “เวชพาหน์”

เรือพระราชทาน “เวชพาหน์” หน่วยแพทย์เคลื่อนที่บรรเทาทุกข์และรักษาพยาบาลทางน้ำ โดยไม่คิดมูลค่า เรือแห่งความศรัทธาของประชาชน “หมอเริ่มทำงานที่สภากาชาดไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นเวลาประมาณ 25 ปี เป็นหมอฝังเข็มประยุกต์และมีส่วนในการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่กับเรือเวชพาหน์มาไม่ต่ำกว่า 15 ปี แน่นอนว่าเคยพบกับปัญหาในการทำงานมาบ้าง อย่างในกรณีที่มีชาวบ้านมารับบริการจำนวนมาก จนบางครั้งคนไข้อาจจะต้องรอนาน ๆ แต่เท่าที่เห็นส่วนใหญ่คือ พอคนไข้รู้ว่าเรือลำนี้เป็นเรือที่พระราชทานมาจากความห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ท่าน ชาวบ้านก็ออกมารอกันแต่เช้า บางคนมาวันนี้พรุ่งนี้ก็จะตามไปอีก และยินดีรอเพื่อที่จะได้รับการบริการรักษาจากเรือพระราชทาน “เวชพาหน์” ลำนี้” “ก่อนหน้านี้มีอาจารย์หมอท่านหนึ่งชื่อว่า นายแพทย์สหัส อรุณเวช เป็นอาจารย์ที่ทำงานกับเรือเวชพาหน์มาตั้งแต่หลังเกษียณมาจากที่อื่น ซึ่งอาจารย์เป็นหมอฝังเข็มที่ชาวบ้านต่างเรียกว่า “หมอเทวดา” เมื่อออกไปรักษาที่ไหนก็มักจะได้ยินชาวบ้านพูดว่า เรือลำนี้มีหมอฝังเข็มเทวดามาด้วย โดยเรือเวชพาหน์จะล่องไปได้ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลัก เช่น ปทุมธานี นนทบุรี อ่างทอง นครสวรรค์ เป็นต้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ตามแถบลุ่มแม่น้ำช่วงนั้นก็จะจำได้ว่าอาจารย์ไปกับเรือ ซึ่งหมอเองเคยตามไปอยู่ช่วงหนึ่ง หลัง ๆ ก็จะได้ยินชาวบ้านบอกว่า หมอเป็นลูกศิษย์หมอฝังเข็มเทวดา พอเราฟังแล้วก็รู้สึกภาคภูมิใจที่อาจารย์ได้ปูทางเอาไว้ คนไข้มีความศรัทธา และต่างก็เฝ้ารอว่าเมื่อไหร่เรือลำนี้จะมาอีก หมอเคยเจอคนไข้ ท่านหนึ่งที่เหมือนว่า เคยเจอกันก่อนหน้านี้แล้ว 2-3 ครั้ง เขาบอกว่าตั้งใจมารอ…