พิษแอลกอฮอล์ภัยร้ายที่ต้องระวัง!

สถานการณ์เกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกรณรงค์และให้ความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อ การเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา อาทิ ปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย จิตใจ และปัญหาทางด้านพฤติกรรม ทั้งนี้มีข้อมูลรายงานจากองค์การอนามัยโลก พบว่า ในทุกปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากพิษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 3.3 ล้านคน ถือเป็นร้อยละ5.9 ของการตายทั้งหมด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมากกว่า 200 ชนิด ถือเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บอื่น ๆ อีกด้วย ผลเสียด้านสุขภาพ ปริมาณในการดื่มแอลกอฮอล์นั้น ส่งผลโดยตรงต่อร่างกาย เพราะหลังจากดื่มแอลกอฮอล์จะซึมเข้าสู่กระแสเลือดโดยทันทีไม่ผ่านกระบวนการย่อย ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย ได้แก่ สมองและระบบประสาท การดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาวจะส่งผลให้สมองเกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้ดื่มมีอาการความจำเสื่อมความคิดเลอะเลือน สมองหดตัวมีขนาดเล็กลง บางรายมีอาการประสาทหลอนหวาดระแวง ระบบทางเดินอาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะกระตุ้นให้มีการหลั่งกรดและน้ำย่อยในกระเพาะออกมาในปริมาณมากขึ้น มีโอกาสทำให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กได้ ตับ เป็นอวัยวะที่รับพิษจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุด แอลกอฮอล์จะเข้าทำลายเซลล์ตับทำให้ไขมันเข้าไปแทนที่และคั่งอยู่ในตับ เมื่อเซลล์ตับตายลงถึงระดับหนึ่งจะมีการสร้างพังผืดที่บริเวณนั้น ทำให้เป็น “โรคตับแข็ง” หัวใจและหลอดเลือด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น การบีบตัวของหัวใจไม่ปกติ ความดันโลหิตสูงขึ้น และส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ขาดเลือด อวัยวะสืบพันธุ์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก จะทำให้ความต้องการทางเพศลดลงและอาจส่งผลให้ลูกอัณฑะเล็กลงอีกด้วย “CAGE” 4…

เทคนิคสุขภาพดีด้วยการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพประการหนึ่งที่สำคัญโดยมีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้อวัยวะระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ทำงานอย่างเต็มที่ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์ต่อทุกคนทุกเพศทุกวัย อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคหรือลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ อาทิ โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ประเทศไทยได้มีนโยบายส่งเสริมการออกกำลังกาย โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนไทยทุกกลุ่มอายุมีการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม ได้กำหนดแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อมุ่งเสริมสร้างสุขภาพคนไทยให้แข็งแรง ลด ละ เลิก พฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงทางสุขภาพออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เทคนิคสุขภาพดีด้วยการออกกำลังกาย 3 รูปแบบ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอความหนักปานกลาง ทำกิจกรรมที่ทำให้หายใจเหนื่อยกึ่งหอบแบบต่อเนื่องจนหัวใจเต้นเร็ว ทำให้หัวใจแข็งแรง เผาผลาญไขมัน ควรออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอให้ได้อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ แนะนำให้ทำวันละ 30-50 นาที อย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ละครั้งควรไม่น้อยกว่า 10 นาที    ไม่ควรหยุดติดต่อกันเกิน 2 วัน การออกกำลังกายแบบแรงต้าน ทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อฝึกกล้ามเนื้อของร่างกาย โดยใช้แรงต้านจากน้ำหนักอุปกรณ์ หรือ การต้านกับแรงโน้มถ่วงโลก แนะนำให้ออกกำลังกายแบบนี้อย่างน้อย…

รัฐบาลไทยมอบเงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบภัยในยูเครน ผ่านสภากาชาดไทย

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 รัฐบาลไทยมอบเงินจำนวน 3 ล้านบาท ให้กับสภากาชาดไทยเพื่อส่งต่อให้กับสภากาชาดยูเครน เพื่อการจัดซื้อเครื่องปั่นไฟสำหรับกลุ่มผู้เปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตทางมนุษยธรรมในยูเครน โดยมีนางเอกสิริ ปิณฑะรุจิ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้แทนส่งมอบเงินบริจาคดังกล่าวให้กับนายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย และมี Mr. Viktor Semenov อุปทูตยูเครนประจำประเทศไทยเข้าร่วมในพิธีรับมอบเงิน ณ อาคารเทิดพระเกียรติ สภากาชาดไทย