เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ยาลดกรด กลุ่ม “PPIs”
ยาลดกรดกลุ่ม Proton pump Inhibitors (PPIs) ทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารโดยจะออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Proton pump ที่เซลล์ผนังของกระเพาะอาหารซึ่งทำงานในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตกรด เพื่อไม่ให้เกิดการหลั่งกรดเข้าสู่กระเพาะอาหาร ปัจจุบันยากลุ่มนี้ที่มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยมีทั้งรูปแบบยารับประทานและยาฉีด
ข้อบ่งใช้ของยาลดกรดกลุ่ม PPIs ที่ขึ้นทะเบียนโดย อย. ประเทศไทย มีดังนี้
– รักษาแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcers) แผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal ulcers)
– รักษาแผลในทางเดินอาหารจากการใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบในกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID-associated ulcers)
– รักษากรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal reflux disease)
– รักษาภาวะที่มีการหลั่งกรดมากเกิน (รวมถึง Zollinger – Ellison syndrome)
– รักษาการติดเชื้อ Helicobacter Pylori (H. Pylori) โดยใช้ร่วมกับยาต้านจุลชีพ (Antibiotics)
– รักษาหลอดอาหารอักเสบชนิดปานกลางถึงรุนแรง (Moderate to severe reflux esophagitis)
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
การใช้ยาลดกรดกลุ่ม PPIs ในระยะสั้น พบอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดหรือไม่สบายท้อง แน่นท้อง ปวดศีรษะ เป็นต้น สำหรับกรณีที่ใช้ยาเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ดังนี้
- ผลต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น
– เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติเมื่อหยุดใช้ยา พบได้ในผู้ที่ใช้ยาติดต่อกันนาน 8 สัปดาห์ หรือมากกว่า ดังนั้นในผู้ป่วยบางรายอาจต้องปรับลดขนาดยาลงก่อนหยุดยา
– เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อ Clostridium difficile ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ซึ่งความรุนแรงอาจแตกต่างกันในแต่ละรายเนื่องจากการใช้ยาทำให้กระเพาะอาหารมีความเป็นกรดน้อย จึงมีโอกาสทำให้เชื้อนี้เจริญเติบโต
– การดูดซึมสารอาหารลดลง ทำให้เกิดการขาดวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี 12 แคลเซียม และแมกนีเซียม
- ผลต่อไต การใช้ยาเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังและการดำเนินของโรคแย่ลง ดังนั้นการใช้ยากลุ่มนี้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุจึงควรมีการติดตามค่าการทำงานของไต หรือค่า Glomerular filtration rate (GFR)
- ผลต่อระบบทางเดินหายใจ พบว่าผู้ที่ใช้ยาลดกรดกลุ่ม PPIs มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคปอดอักเสบชุมชน (Community acquired pneumonia) มากกว่าผู้ไม่ใช้ยาทั้งนี้อาจเกิดจากการที่กระเพาะอาหารมีความเป็นกรดน้อยลงทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อและเกิดการสำลักเชื้อที่สะสมรวมอยู่บริเวณหลอดคอลงสู่เนื้อปอด
- ผลต่อระบบจิตประสาท การใช้ยาลดกรดกลุ่ม PPIs ในผู้สูงอายุเป็นเวลานานมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคสมองเสื่อม ทั้งนี้มีรายงานว่าการใช้ยากลุ่มนี้มีผลทำให้เกิดการสะสมของเบต้าอะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ทำให้เกิดพยาธิสภาพของโรคอัเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ยาลดกรด กลุ่ม “PPIs”ยาลดกรดกลุ่ม Proton pump Inhibitors (PPIs) ทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารโดยจะออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Proton pump ที่เซลล์ผนังของกระเพาะอาหารซึ่งทำงานในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตกรด เพื่อไม่ให้เกิดการหลั่งกรดเข้าสู่กระเพาะอาหาร ปัจจุบันยากลุ่มนี้ที่มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยมีทั้งรูปแบบยารับประทานและยาฉีดข้อบ่งใช้ของยาลดกรดกลุ่ม PPIs ที่ขึ้นทะเบียนโดย อย. ประเทศไทย มีดังนี้- รักษาแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcers) แผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal ulcers)- รักษาแผลในทางเดินอาหารจากการใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบในกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID-associated ulcers)- รักษากรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal reflux disease)- รักษาภาวะที่มีการหลั่งกรดมากเกิน (รวมถึง Zollinger – Ellison syndrome)- รักษาการติดเชื้อ Helicobacter Pylori (H. Pylori) โดยใช้ร่วมกับยาต้านจุลชีพ (Antibiotics)- รักษาหลอดอาหารอักเสบชนิดปานกลางถึงรุนแรง (Moderate to severe reflux esophagitis)อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาการใช้ยาลดกรดกลุ่ม PPIs ในระยะสั้น พบอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดหรือไม่สบายท้อง แน่นท้อง ปวดศีรษะ เป็นต้น สำหรับกรณีที่ใช้ยาเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ดังนี้
- ผลต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น
– เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติเมื่อหยุดใช้ยา พบได้ในผู้ที่ใช้ยาติดต่อกันนาน 8 สัปดาห์ หรือมากกว่า ดังนั้นในผู้ป่วยบางรายอาจต้องปรับลดขนาดยาลงก่อนหยุดยา
– เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อ Clostridium difficile ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ซึ่งความรุนแรงอาจแตกต่างกันในแต่ละรายเนื่องจากการใช้ยาทำให้กระเพาะอาหารมีความเป็นกรดน้อย จึงมีโอกาสทำให้เชื้อนี้เจริญเติบโต
– การดูดซึมสารอาหารลดลง ทำให้เกิดการขาดวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี 12 แคลเซียม และแมกนีเซียม
- ผลต่อไต การใช้ยาเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังและการดำเนินของโรคแย่ลง ดังนั้นการใช้ยากลุ่มนี้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุจึงควรมีการติดตามค่าการทำงานของไต หรือค่า Glomerular filtration rate (GFR)
- ผลต่อระบบทางเดินหายใจ พบว่าผู้ที่ใช้ยาลดกรดกลุ่ม PPIs มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคปอดอักเสบชุมชน (Community acquired pneumonia) มากกว่าผู้ไม่ใช้ยาทั้งนี้อาจเกิดจากการที่กระเพาะอาหารมีความเป็นกรดน้อยลงทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อและเกิดการสำลักเชื้อที่สะสมรวมอยู่บริเวณหลอดคอลงสู่เนื้อปอด
- ผลต่อระบบจิตประสาท การใช้ยาลดกรดกลุ่ม PPIs ในผู้สูงอายุเป็นเวลานานมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคสมองเสื่อม ทั้งนี้มีรายงานว่าการใช้ยากลุ่มนี้มีผลทำให้เกิดการสะสมของเบต้าอะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ทำให้เกิดพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์ได้
- ผลต่อกระดูก การใช้ยาในระยะยาวและขนาดสูงอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและพบความเสี่ยงของการเกิดกระดูกสะโพกและกระดูกไขสันหลังหักได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังอย่างยิ่งในการใช้ยานี้ในกลุ่มผู้สูงอายุ
หมายเหตุ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในกลุ่มผู้สูงอายุเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ หรือหากจำเป็นต้องใช้ ควรพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามผลการใช้ยาและเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด
ที่มา: วารสาร ฬ.จุฬา
ลไซเมอร์ได้
- ผลต่อกระดูก การใช้ยาในระยะยาวและขนาดสูงอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและพบความเสี่ยงของการเกิดกระดูกสะโพกและกระดูกไขสันหลังหักได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังอย่างยิ่งในการใช้ยานี้ในกลุ่มผู้สูงอายุ
หมายเหตุ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในกลุ่มผู้สูงอายุเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ หรือหากจำเป็นต้องใช้ ควรพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามผลการใช้ยาและเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด
ที่มา: วารสาร ฬ.จุฬา