“เคสนี้เป็นเด็กอายุ 15 ปี พ่อแม่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ และเขาก็อยู่กับยาย ยายเลี้ยงมา
ตอนที่เขาประสบอุบัติเหตุ เชื่อไหม! ยายไม่มาเยี่ยมเลย แต่คนที่มาคือแม่ที่มาจากกรุงเทพฯ
.
พี่ก็ให้ข้อมูลและบอกแม่น้องเขาว่าให้คุยกับยายก่อนนะ เพราะยายเลี้ยงเขามาตั้ง 15 ปี
ตอนนั้นแม่เขาก็ 50/50 นะ แต่ยายไม่มาเลย น้องเขานอนโรงพยาบาล 3 วัน ยายยังก็ไม่มา เพราะยายทำใจไม่ได้
ต่อมาแม่เขากลับไปคุยกับคนในครอบครัวและยินดีจะบริจาคอวัยวะให้ เราก็ดำเนินตามขั้นตอน
.
ผ่านมา 1 อาทิตย์ จังหวะที่เดินราวน์คนไข้ในโรงพยาบาล เห็นหน้าแม่น้องที่บริจาคอวัยวะมากับผู้หญิงสูงอายุ
จังหวะที่เขาเห็นเรา เขาก็ยิ้มและรีบเดินมาหาเราพร้อมกับผู้หญิงสูงอายุคนนั้น
ผู้หญิงแก่ ๆ คนนั้น ยกมือไหว้พี่ บอกว่าเป็นยายของน้อง (ที่บริจาคอวัยวะ)
.
เขาให้ลูกสาวพามาหาเรา เพราะว่าตอนที่จัดงานศพน้อง คนในหมู่บ้านมาช่วยงานศพทุกบ้านเลย
ทุกคนต่างชื่นชม เพราะเป็นคนแรกของหมู่บ้านที่บริจาคอวัยวะ
.
ยายภูมิใจกับหลานมาก หลานเขาอายุแค่นี้ ตัวเขาที่อยู่มาจนจะตายอยู่แล้ว
ยังไม่เคยเห็นคนในหมู่บ้านมาช่วยงานศพใครเยอะขนาดนี้มาก่อน
.
“พี่ว่างานบริจาคอวัยวะเนี่ย ทำให้ครอบครัวที่เขาสูญเสีย เขามีพลัง มีความภาคภูมิใจมากกว่า
เลยเปลี่ยน Mindset เราว่าเราต้องทำงานนี้ เพื่อช่วยเหลือคนให้ผู้ป่วยมีชีวิตใหม่”
.
จริง ๆ มันไม่ใช่ เพราะเรากำลังช่วยครอบครัวที่เขากำลังเสียใจอยู่ด้วยเหมือนกัน
.
คุณสกุนตลา รอดไม้
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล
#โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี