โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
สัตว์นำโรค
- คิดว่าสุนัขและแมวเท่านั้นที่แพร่เชื้อสู่คนได้
จริง ๆ แล้ว…สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเป็นโรคและแพร่เชื้อพิษสุนัขบ้าได้เช่นกัน แม้แต่ ลิง หนู และกระต่าย อย่างไรก็ดีในกรณีของหนูและกระต่าย เมื่อติดเชื้อและเกิดโรค ความสามารถในการแพร่กระจายโรคในหมู่พวกเดียวกันเองต่ำมาก และไม่ถือว่าเป็นตัวการสำคัญในการแพร่โรค แค่ถ้าคนถูกหนูหรือกระต่ายกัดให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป
การตรวจหาเชื้อในสมองสัตว์ จะช่วยตัดสินได้เด็ดขาดว่า ควรต้องการรักษาแก่คนที่ถูกกัดหรือไม่ อนึ่ง ระยะเวลา 10 วันที่ใช้ในการจับแยกและกักขังเพื่อดูอาการว่าเป็นบ้าหรือไม่ ใช้ได้กับสุนัขและแมวเท่านั้น
- คิดว่าลูกสุนัขและแมว ไม่มีเชื้อพิษสุนัขบ้า
จริง ๆ แล้ว…สุนัขและแมวอายุเท่าใดก็ตามแพร่โรคได้ แม้จะมีอายุเพียง 1 เดือน - คิดว่าสุนัขและแมวเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้เฉพาะหน้าร้อนเท่านั้น
จริง ๆ แล้ว…เป็นได้ทุกฤดูกาล ฉะนั้นการฉีดวัคซีนในสัตว์ไม่จำเป็นต้องรอฤดูกาล และคนเมื่อถูกกัดไม่ว่าฤดูไหนก็ตาม ต้องได้รับการฉีดยาป้องกัน - คิดว่าหากถูกสุนัขหรือแมวกัดโดยอาการของสัตว์ปกติดี ก็ไม่น่าจะเป็นบ้า
จริง ๆ แล้ว…สุนัขและแมวสามารถแพร่เชื้อโรคได้ถึง 10 วันก่อนจะแสดงอาการ หากถูกสุนัขหรือแมวกัด ถ้าสัตว์ดูยังปกติอย่านิ่งนอนใจ ต้องได้รับการฉัดยาป้องกัน จับแยก กักขังสุนัขและแมวนั้น ๆ หากแสดงอาการผิดปกติต้องตัดหัวนำไปส่งตรวจทันที ถ้าผ่านไป 10วันไปแล้วไม่มีอาการผิดปกติ แสดงว่าไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า - คิดว่าการฉัดวัคซีนในสุนัขหรือแมวจะป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าได้ 100%
จริง ๆ แล้ว…หากสัตว์ติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าแล้วและอยู่ในระยะฟักตัว การฉีดวัคซีนจะไม่ได้ผล ดังนั้นการนำสุนัขและแมวมาเลี้ยง ต้องรู้ประวัติพ่อแม่และการเลี้ยงดูที่ผ่านมาอย่างชัดเจน - คิดว่าสุนัขหรือแมวที่ได้รับวัคซีน 1 ครั้งจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต ไม่มีโอกาสเป็นบ้า
จริง ๆ แล้ว…ยังมีโอกาสเป็นบ้าได้ ดังนั้นสุนัขและแมวต้องได้รับวัคซีน 2 ครั้งในปีแรก และ 1 เข็มต่อปี มิฉะนั้นยังมีโอกาสเป็นบ้าได้เมื่อได้รับเชื้อ ทั้งนี้อาจต่างจากบางประเทศที่เจริญแล้วที่สุนัขและแมวหลังจากที่ได้รับการฉีดครั้งแรกแล้ว ไม่ต้องฉีดประจำทุกปี ทั้งนี้เนื่อง จากโอกาสที่สุนัขและแมวจะได้รับเชื้อมีน้อยมากเหลือเกินและจะทำการฉีดกระตุ้นต่อเมื่อมีการสัมผัสโรคจริง ๆ เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่เป็นประเทศที่ชุกชุมด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข และมีโอกาสที่สัตว์เลี้ยงจะได้รับเชื้อค่อนข้างสูงจึงต้องฉีดทุกปี - คิดว่าสุนัขและแมวที่เราเลี้ยงและเคยได้รับวัคซีนมาก่อนถูกสุนัขบ้ากัดก็ไม่เสี่ยงต่อการติดโรค
จริง ๆ แล้ว… ต้องได้รับการฉีกวัคซีนซ้ำ และกักขังดูอาการอย่างน้อย 45 วัน แต่ถ้าสุขันและแมวนั้นไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน เมื่อถูกสุนัขบ้ากัด องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทำลายเพราะมีโอกาสติดเชื้อสูง แต่ถ้าไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ให้ฉีดวัคซีนทันทีและกักขังดู อาการ 6 เดือน และฉีดวัคซีนซ้ำ 1 เดือนก่อนปล่อย