บริจาคพลาสม่า

ถึงเวลาช่วยชาติอีกครั้ง! ร่วมบริจาคพลาสมา เสริมการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ประกาศเชิญชวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่หายแล้ว ร่วมบริจาคพลาสมา เพื่อนำไปช่วยเสริมการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 รายใหม่ ช่วยยับยั้งไม่ให้ปอดอักเสบอย่างรุนแรงได้ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ  ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า “จากการรณรงค์เชิญชวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่หายแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2563 ให้กลับมาเป็นฮีโร่ในโครงการวิจัยการใช้พลาสมาเพื่อเสริมการรักษาโรค เนื่องจากพลาสมาของผู้ป่วยที่หายจากโรคแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อไวรัส สามารถนำไปใช้เสริมการรักษาผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรค โดยยับยั้งไวรัสก่อนที่จะเข้าไปทำลายเซลล์ปอดขั้นรุนแรงได้ ซึ่งภูมิต้านทานในพลาสมานี้เปรียบเสมือนยาใช้รักษาโรคได้ โดยมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่หายแล้วร่วมลงทะเบียนกว่า 400 ราย แต่มีเพียง 152 รายที่สามารถบริจาคพลาสมาได้เป็นจำนวน 446 ถุง นำไปผลิตเป็น COVID-19 Convalescent Plasma หรือ CCP ที่มีภูมิต้านทานสูงได้จำนวน 383 ถุง ซึ่งได้นำไปดำเนินการ ดังนี้ เตรียมเป็นพลาสมาโควิด-19 (CCP) พร้อมใช้รักษาโรค 250-300 มล./ยูนิต จำนวน 342 ยูนิต นำพลาสมา CCP 160 ถุง…

บริจาคโลหิต

ทำไมต้องบริจาคโลหิต?

“โลหิต” หรือ “เลือด” เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญในการใช้รักษาผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีผู้ที่สามารถคิดค้นสิ่งใดมาใช้ทดแทนโลหิตได้ จึงจำเป็นต้องมีการรับบริจาคโลหิตจากคน เพื่อให้ได้มาซึ่งโลหิตสำหรับใช้ในการช่วยชีวิตผู้ป่วย “การบริจาคโลหิต” คือ การสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคโลหิต เพราะร่างกายของแต่ละคนมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ร่างกายจะใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ โดยสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน เมื่อบริจาคโลหิตออกไปแล้ว ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทน ทำให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม หากไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัวเพราะหมดอายุ ทั้งนี้ กระบวนการในการบริจาคโลหิตตั้งแต่เริ่มลงทะเบียนจนบริจาคโลหิตเสร็จสิ้น ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเลือกเจาะโลหิตที่เส้นโลหิตดำบริเวณแขน แล้วเก็บโลหิตบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ประมาณ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค การบริจาคโลหิตเป็นเรื่องจำเป็น และยังไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ ผู้ป่วยต้องการโลหิตทุกวินาที ได้ทราบข้อมูลสุขภาพของตัวเอง ได้ทราบระบบหมู่โลหิต ทั้งระบบ ABO และ Rh ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และทำให้มีความสุข ส่งผลให้สุขภาพดี บริจาคโลหิต 1 ถุง ช่วยผู้ป่วยได้อย่างน้อย…

ตาก

สภากาชาดไทยเร่งระดมความช่วยเหลือผู้ที่กักตนเองในที่พักและผู้ประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจ

สภากาชาดไทยเร่งระดมความช่วยเหลือผู้ที่กักตนเองในที่พักและผู้ประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ขาดแคลนอาหารและยังไม่มีหน่วยงานอื่นให้การช่วยเหลือ สภากาชาดไทยองค์การสาธารณกุศลระดับชาติ ดำเนินการโดยยึดหลักมนุษยธรรมตามหลักการกาชาดสากลและช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 เร่งระดมความช่วยเหลือผู้ที่กักตนเอง  ในที่พักและผู้ประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ขาดแคลนอาหารและยังไม่มีหน่วยงานอื่นให้การช่วยเหลือ รวมถึงแรงงานข้ามชาติทั่วประเทศ ด้วยการมอบชุดธารน้ำใจ กู้ชีวิตฝ่าวิกฤต COVID-19 พร้อมน้ำดื่ม ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม 2563 – 30 มกราคม 2564 จำนวน 175,974 ชุด รวมมูลค่า 116,142,840 บาท ทั้งนี้ ประชาชนสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือผ่านแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” หรือติดต่อขอความช่วยเหลือผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ ส่วนการลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือไปยังส่วนภูมิภาคผ่านสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ เหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาดอำเภอทั่วประเทศ ด้วยการร่วมมือกับหลายภาคส่วนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ยากไร้และขาดแคลน อาทิ มอบชุดธารน้ำใจ กู้ชีวิตฝ่าวิกฤต COVID-19 พร้อมน้ำดื่ม มอบแท่นกดเจลแอลกอฮอล์แบบเท้าเหยียบ มอบ Face shield มอบแอลกอฮอล์ล้างมือ และเปิดหน่วยรับบริจาคโลหิตโดยยึดหลักปฏิบัติตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระหว่างวันที่ 15-20 มกราคม 2564 ดังนี้…

บริจาคโลหิตปลอดภัย

ปลอดภัย มั่นใจได้ บริจาคโลหิตฝ่าวิกฤติโควิด-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติทั่วทุกมุมโลก สร้างการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่ ในการรักษาระยะห่างเพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยเฉพาะ “การบริจาคโลหิต” โควิด-19 ก่อให้เกิดความวิตกกังวลแก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ทำให้จำนวนผู้บริจาคโลหิตลดลงกว่า 50% หน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ถูกยกเลิก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ไม่สามารถจ่ายโลหิตให้กับโรงพยาบาลได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้โรงพยาบาลทั่วประเทศขาดแคลนเลือด และจำเป็นต้องเลื่อนการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล โดยมีภารกิจในการจัดหาโลหิตบริจาคให้มีปริมาณเพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณภาพสูง ให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยจัดทำมาตรฐาน ความปลอดภัยในหลายมิติ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการรับบริจาคโลหิตมีความปลอดภัยตั้งแต่ต้นทาง คือ “ผู้บริจาค” จนถึงปลายทาง คือ “ผู้ป่วย” รวมทั้งผู้รับบริการอื่น ๆ ด้วย มาตรการการเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ คลิก  มาตรการการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร คลิก นอกจากนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ ได้กำหนดมาตรการเพื่อคัดกรองประวัติสุขภาพของผู้บริจาคโลหิตอย่างรัดกุม ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยขอให้ผู้บริจาคคัดกรองตนเองก่อนเดินทางมาบริจาคโลหิต เช่น หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส เดินทางไปยังสถานบันเทิงหรือสถานที่แออัด อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 หรือเป็นผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ต้องงดบริจาคโลหิตชั่วคราวอย่างน้อย 28…

99 ปียุวกาชาดไทย

27 มกราคม 2564 วันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดไทย

 27 มกราคม 2564 วันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาด    “99 สู่ 100 ปี ยุวกาชาดไทย” 27 มกราคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดไทย …กิจการยุวกาชาดไทย ก่อตั้งขึ้นโดยพระดำริของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2465 ในชื่อ “กองอนุสภากาชาดสยาม” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “กองอนุกาชาด” “กองยุวกาชาด” และ “สำนักงานยุวกาชาด” ในปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน   นางสุนันทา ศรอนุสิน ผู้อำนวยการสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย กล่าวว่า สำนักงานยุวกาชาดมีภารกิจในการปลูกฝังอบรมและเผยแพร่ให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์ของกาชาด มีศรัทธาต่อกาชาด และเข้าร่วมกิจกรรมกับสภากาชาดไทยอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสำนักงานยุวกาชาดเน้นการอบรมอาสายุวกาชาดให้มีความรู้ ทักษะ สามารถพึ่งพาได้เรื่องปฐมพยาบาลและการดูแลผู้สูงอายุ อาสายุวกาชาดยังเป็นพลังสำคัญในการช่วยเหลือกิจการของสภากาชาดไทย ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นด้านการประชาสัมพันธ์เรื่องของการบริจาคโลหิต การส่งเสริมคุณภาพชีวิตในชุมชน ซึ่งในปีนี้เป็นปีที่ 99 เรากำลังจะก้าวสู่ ปีที่…

ปล่อยคาราวานทางการแพทย์

ปล่อยขบวนคาราวานอุปกรณ์การแพทย์ มอบให้โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เหรัญญิกสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนคาราวานพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ ร่วมกับ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย นางจันทร์ประภา วิชิตชลชัย รองผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา รศ.พญ.ภัณฑิลา หฤทัยวิจิตรโชค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ด้านจัดซื้อ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล บุคลากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้บริหารสภากาชาดไทย สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย  มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ และนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 9 เพื่อเดินทางมอบให้กับโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และส่งต่อช่วยเหลือโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ณ บริเวณด้านหน้าอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2564 ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ปล่อยขบวนคาราวานพัสดุ…

พระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์

พระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล รับพระราชทาน หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ห้องประชุม 1210 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564

ลำพูน

สภากาชาดไทยเร่งเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ทั่วประเทศ

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นองค์การสาธารณกุศลระดับชาติ ดำเนินการโดยยึดหลักมนุษยธรรมตามหลักการกาชาดสากลและช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 โดยกระจายความช่วยเหลือไปยังส่วนภูมิภาคผ่านสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ เหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาดอำเภอทั่วประเทศ ด้วยการร่วมมือกับหลายภาคส่วนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ยากไร้และขาดแคลน อาทิ มอบชุดธารน้ำใจ กู้ชีวิตฝ่าวิกฤต COVID-19 พร้อมน้ำดื่ม และเข้าเยี่ยมเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักตนเอง ตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือของแต่ละจังหวัด ระหว่างวันที่ 9-14 มกราคม 2564 ดังนี้ วันที่ 9 มกราคม 2564 เหล่ากาชาดจังหวัดนครพนม มอบชุดธารน้ำใจฯ พร้อมน้ำดื่ม แก่ผู้กักตนเอง ในพื้นที่ 12 อำเภอ จำนวน 692 ราย และวันที่ 11 มกราคม 2564 ในพื้นที่อำเภอโพนสวรรค์ จำนวน 40 ราย   วันที่ 12 มกราคม 2564 เหล่ากาชาดจังหวัดชัยนาท มอบชุดธารน้ำใจฯ พร้อมน้ำดื่ม…

โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร

สภากาชาดไทย สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร

เมื่อวันที่ 18 ม.ค 2564 นายกฤษฎา บุญราช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี โดยได้ทราบความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามโครงการฯ ดังนี้ 1.การคัดเลือกครูอาสาสอนหนังสือ/ภาษาไทยตามโครงการแก่เด็กนักเรียนและเยาวชนตามเป้าหมายพบว่าการใช้ครูอาสาหรือบุคคลที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ที่ว่างเว้นจากการสอนหนังสือตามปกติหรือการรับสมัครให้ครู/อาจารย์ที่เกษียณราชการหรือบุคคลที่มีความรู้ด้านการสอนหนังสือและมีจิตอาสาเข้าร่วมโครงการมาสอนเสริมแก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมายจะสามารถดำเนินการได้มีประสิทธิภาพเพราะทั้งครูอาสาและนักเรียนไม่ต้องเดินทางไกลจากที่พักสามารถนัดสถานที่และเวลาสอนเสริมได้สะดวกไม่เสียเวลาและไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านงบประมาณมากนัก 2.เพื่อให้การกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอนเสริมภาษาไทยให้สอดคล้องสภาพปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ภาษาไทยของนักเรียนนั้น สำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาดมีข้อแนะนำว่าควรจัดนักเรียนเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้ 2.1 กลุ่มเด็กนักเรียนจากครอบครัวกลุ่มชาติพันธ์ุที่ใช้ภาษาชนเผ่าติดต่อสื่อสารกันในครอบครัวเกือบตลอด 24 ชั่วโมงประกอบกับมีภูมิลำเนาครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารไม่มีไฟฟ้าและไม่มีเครื่องมือสื่อสารต่างๆ จึงไม่ได้ยินเสียงภาษาไทยจากสื่อทีวีหรือวิทยุทำให้ไม่มีโอกาสได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันและการสื่อสารในครอบครัวก็ใช้ภาษาชนชาติพันธุ์ตนเองเท่านั้น นักเรียนกลุ่มนี้มีโอกาสใช้ภาษาไทยได้เมื่อมาโรงเรียนเท่านั้น 2.2 กลุ่มนักเรียนเป้าหมายที่มีวัฒนธรรมและการใช้ภาษาตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่แตกต่างจากนักเรียนทั่วไป เช่น นักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เมื่อกลับไปบ้านหรือภูมิลำเนาของตนเองจะสื่อสารกับบุคคลในครอบครัวด้วยภาษามาลายูเดิมรวมทั้งบางครอบครัวอาจไม่สามารถมาเรียนหนังสือได้สม่ำเสมอเพราะต้องช่วยผู้ปกครองทำงานบ้าน แต่นักเรียนเหล่านี้ยังมีโอกาสได้ใช้และได้ฟังภาษาไทยจากสื่อภาษาไทยต่าง ๆ รวมทั้งในชุมชนข้างเคียงเมื่อกลับไปบ้านหรือภูมิลำเนามากกว่านักเรียนกลุ่มแรก 2.3 กลุ่มนักเรียนไทยทั่วไปที่ไม่สามารถใช้ภาษาไทยทั้งการอ่านและเขียนนั้น อาจเกิดจากมีปัญหาครอบครัวยากจนรายได้ไม่เพียงพอต้องขาดการเรียนไปช่วยผู้ปกครองทำงานทำให้ไม่มีเวลาเรียนได้เต็มตามหลักสูตรหรือมีปัญหาด้านการพัฒนาการทางการเรียนรู้ (LD) เป็นต้น นายกฤษฎา บุญราช กล่าวว่าจะนำผลการติดตามการดำเนินงานของโครงการฯที่จังหวัดนราธิวาสไปแนะนำเหล่ากาชาดจังหวัดต่างๆในการรับสมัครครูอาสาสอนเสริมภาษาไทยและปรับวิธีการ รวมทั้งเทคนิคการถ่ายทอดการใช้ภาษาไทยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของนักเรียนตามกลุ่มปัญหาต่างๆรวมทั้งจะเน้นให้เหล่ากาชาดจังหวัดคัดเลือกครูอาสาจากกลุ่มบุคคลในพื้นที่ก่อน เช่น กลุ่มครูที่เกษียณหรือบุคคลที่มีคุณวุฒิด้านการสอนและมีเวลาว่างพร้อมเป็นครูอาสาร่วมสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามโครงการข้างต้น สำหรับสถานที่และเวลาการสอนเสริมให้เหล่ากาชาดประสานงานกับครูใหญ่หรือผู้บริหารสถานศึกษาของนักเรียนเป้าหมายรวมทั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตต่างๆ/สำนักงาน กศน./สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด/สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด/มหาวิทยาลัยในพื้นที่/หน่วยงาน ตชด. ตลอดจนภาคีเครือข่ายหน่วยงานต่างๆที่อาสาสมัครมาร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนกับสภากาชาดไทย เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ชมรมครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เป็นต้น…

พิษโควิด คนบริจาคเลือดน้อย ขาดแคลนเลือดทุกกรุ๊ปขั้นวิกฤติ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบให้จำนวนผู้บริจาคโลหิตลดลงอย่างมาก ครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ที่เกิดวิกฤติมากอีกครั้งหนึ่ง เพราะโรงพยาบาลใหญ่ทั่วประเทศ ประกาศขาดเลือดพร้อม ๆ กัน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ไม่สามารถจ่ายเลือดให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากผู้บริจาคโลหิตมีจำนวนลดลงทุกแห่งทั่วประเทศ อีกทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ได้ยกเลิกการจัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิต เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาด และสถาบันการศึกษาปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นออนไลน์ ส่งผลให้มีปริมาณโลหิตบริจาควันละ 700-900 ยูนิตเท่านั้น โดยลดลงมากถึงร้อยละ 50 หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วอนคนไทยสุขภาพดีช่วยกันบริจาคโลหิตอย่างเร่งด่วน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติทั่วประเทศ 12 แห่ง และหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ทุกแห่ง มีมาตรการและแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริจาคโลหิต ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยยังคงรักษามาตรการและสร้างความมั่นใจให้เป็นสถานที่ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 มีการควบคุม ดูแล รักษาความสะอาด อุปกรณ์ สถานที่ สุขอนามัยของผู้มาบริจาคโลหิต และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน เพื่อให้มั่นใจว่าทุกหน่วยงานไม่มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ ผู้บริจาคโลหิตต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพและการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงตามความเป็นจริง หากไม่แน่ใจควรงดการบริจาคโลหิตชั่วคราว เพื่อเว้นระยะเวลาการพบเชื้อ 4 สัปดาห์ และใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เดินทางมา  บริจาคโลหิต  จากกรณีที่มีข่าวว่าบุคลากรสภากาชาดไทยติดโรคโควิด-19 นางสาวปิยนันท์ คุ้มครอง…