ช่วยแรงงานต่างด้าว จ.นครปฐม

สภากาชาดไทยมอบชุดธารน้ำใจฯ พร้อมให้ความรู้แก่แรงงานต่างด้าว จ.นครปฐม

สภากาชาดไทย ร่วมกับกระทรวงแรงงานและกระทรวงสาธารณสุข มอบชุดธารน้ำใจฯ พร้อมให้ความรู้แก่แรงงานต่างด้าว จ.นครปฐม วันที่ 24 เมษายน 2563 ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ฯ กระทรวงสาธารณสุข เหล่ากาชาดจังหวัดนครปฐม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางไปเยี่ยมให้กำลังใจและให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมมอบชุดธารน้ำใจกู้ชีวิตฝ่าวิกฤตโควิด-19 จำนวน 500 ชุด แก่แรงงานต่างด้าวในพื้นที่ชุมชนบ้านท่าตลาด ตลาดศรีสามพราน และชุมชนยายชา ตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ สภากาชาดไทยยังจัดทำแผ่นพับ 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาพม่า และภาษากัมพูชา สำหรับแจกจ่ายแก่ผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าว เพื่อให้ความรู้เรื่องการป้องกันและดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลจากโรคโควิด-19 ด้วย

พิธีปล่อยคาราวาน

ปล่อยคาราวานอาสาร่วมใจสู้ภัยโควิด มุ่งหน้าจังหวัดสงขลา

สภากาชาดไทย ร่วมกับมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ปล่อยคาราวานอาสาร่วมใจสู้ภัยโควิด วันที่ 23 เมษายน 2563 เวลา 09.00 น. นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีปล่อยคาราวานอาสาร่วมใจสู้ภัยโควิด โดยสภากาชาดไทยและมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ เพื่อเดินทางไปยังจังหวัดสงขลา ในการนำอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต่าง ๆ ที่ได้รับบริจาคมอบให้กับโรงพยาบาลทางภาคใต้ โดยมี นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานโครงการอาสาร่วมใจ สู้ภัยโควิด สภากาชาดไทย คณะผู้บริหารสภากาชาดไทย มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ และผู้สนับสนุนโครงการฯ ร่วมด้วย ณ บริเวณหน้าสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย   สำหรับขบวนคาราวานฯ นี้ จะเป็นการส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ลอตแรกของโครงการฯ อาทิ หน้ากากอนามัย N95 ชุดป้องกัน PPE เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ดิจิทัล เพื่อมอบให้กับโรงพยาบาลในภาคใต้ โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ประสานการรับมอบและช่วยดำเนินการแจกจ่ายไปยังจังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผู้ป่วยจำนวนมากและมีชาวไทยที่กำลังเดินทางกลับจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย จากนั้นจะทยอยส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับบริจาคให้ครบทั่วทุกภูมิภาค นอกจากอุปกรณ์ทางการแพทย์แล้ว ยังได้นำเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งของบริจาคทั้งจากหน่วยงานภาครัฐเอกชน รวมถึงประชาชน ร่วมช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อีกด้วย…

ช่วยแรงงานต่างด้าว

สภากาชาดไทย ผนึกกำลังกระทรวงแรงงาน ช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว

สภากาชาดไทย ผนึกกำลังกระทรวงแรงงาน ช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว ให้ความรู้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 พร้อมมอบหน้ากากอนามัยและชุดธารน้ำใจ ฯ โควิด  วันที่ 20 เมษายน 2563 ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร และนายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรสาคร เดินทางไปเยี่ยมและให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พร้อมมอบชุดธารน้ำใจกู้ชีวิตฝ่าวิกฤตโควิด-19 และหน้ากากอนามัยแบบผ้าแก่แรงงานต่างด้าวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ถูกเลิกจ้างจากการหยุดชะงักของระบบเศรษฐกิจ ทำให้เดือดร้อนขาดรายได้แต่ยังต้องรับภาระค่าอาหารและค่าที่พักอาศัย ตามโครงการความร่วมมือให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ ตลาดกุ้ง และ มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร นายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ กล่าวว่า “เป็นนิมิตรหมายที่ดีที่เราได้มาทำงานใกล้ชิด ลงพื้นที่ด้วยกัน ในส่วนของสภากาชาดไทยเองก็จะช่วยหนุนเสริม ในส่วนที่เกิดการติดขัด เราก็จะมาเสริมทำให้การทำงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะว่าเป็นเรื่องที่ต้องทำพร้อม ๆ กันกับการควบคุมโรคในคนไทย สภากาชาดไทยมองเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน ทั้งในเรื่องของการควบคุมโรคและในเรื่องของมนุษยธรรม ทั้งนี้แม้ว่าเราจะควบคุมโรคในกลุ่มคนไทยได้ดี แต่ถ้าเราไม่สามารถควบคุมโรคในกลุ่มแรงงานต่างด้าวได้ ก็เท่ากับว่าเราไม่สามารถควบคุมวิกฤตโควิด-19…

พิธีมอบหน้ากาก

สภากาชาดไทยจัดพิธีมอบหน้ากากอนามัยแบบผ้า

สภากาชาดไทย จัดพิธีมอบหน้ากากอนามัยแบบผ้าตามโครงการสภากาชาดไทยร่วมใจป้องกันภัย COVID-19 ด้วยหน้ากากอนามัยแบบผ้า โดยจะมอบให้กับกระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อส่งมอบให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ซึ่งเป็นด่านหน้าในการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรค และมอบให้กับประชาชนทั่วประเทศทั้ง 77 จังหวัด วันที่ 15 เมษายน 2563 นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีมอบหน้ากากอนามัยแบบผ้า ตามโครงการ “สภากาชาดไทยร่วมใจป้องกันภัย COVID-19 ด้วยหน้ากากอนามัยแบบผ้า” แก่กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 ล้านชิ้น โดยมีนายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ ในฐานะผู้แทนปลัดกระทรวงสาธารณสุขและอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นผู้รับมอบ และมอบให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จำนวน 1 แสนชิ้น โดยมีนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย นายแผน วรรณเมธี…

เปิดรับอาสาสมัครทำ Face shield

เปิดรับอาสาสมัครทำ Face shield เพื่อส่งต่อให้แพทย์ พยาบาล

สภากาชาดไทย ร่วมกับ  MedAsa  ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลจุฬาฯ  และบริษัทไปรษณีย์ไทย เปิดรับอาสาสมัครทำ Face shield เพื่อส่งต่อให้แพทย์ พยาบาล ตามโรงพยาบาลต่างๆ วันที่ 10 เมษายน 2563 สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับ กลุ่ม MedAsa หรือ “สยามชีวาภิบาล” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการวิจัย สภากาชาดไทย เพื่อสร้างนวัตกรรมสำหรับงานอาสา ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลจุฬาฯ  และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดรับอาสาสมัครทำ Face shield ที่บ้านเพื่อส่งต่อให้แพทย์ พยาบาล ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันแพทย์และพยาบาลเป็นเสมือนด่านหน้าที่ต้องคอยรับมือกับโรค COVID-19 และ Face Shield คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ปกป้องแพทย์และพยาบาล ซึ่งขณะนี้ยังมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการในการปฎิบัติงานสู้กับวิกฤต COVID-19 สิ่งที่เราคนไทยสามารถช่วยได้ในวิกฤตนี้คือ การจัดทำ Face Shield อยู่ที่บ้าน โดยผู้ที่สนใจสมัครเป็นอาสาสมัคร สามารถสมัครผ่าน https://medasa.org/ โดยอาสา ร่วมทำ Face shield…

เลือดขาด

คนไทยไม่ทิ้งกัน บริจาคโลหิตช่วยผู้ป่วยได้ 3 ช่องทาง

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ชวนคนไทยรวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทย ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องช่วยกันบริจาคโลหิต อย่ารอให้ถึงวันที่ผู้ป่วยไม่มีโลหิตในการรักษา รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 เป็นเหตุให้ผู้บริจาคโลหิตมีความกังวลในการเดินทางมาบริจาคโลหิต ทำให้จำนวนผู้บริจาคโลหิตลดลง การปรับขนาดหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิต จากจำนวน 200-300 คน ให้เล็กลง เหลือเพียง 30 คน จนขณะนี้มีปริมาณโลหิตไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 160 แห่ง ที่ต้องใช้โลหิตในการผ่าตัด รวมทั้งผู้ป่วยโรคเลือดที่จำเป็นต้องใช้โลหิตเป็นประจำ ปัจจุบันมีการเบิกขอใช้โลหิตมายังศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติทั่วประเทศ เฉลี่ยวันละ 5,400 ยูนิตต่อวัน แต่สามารถจ่ายเลือดให้ได้เฉลี่ย 2,400 ยูนิตต่อวัน หรือร้อยละ 44 เท่านั้น จึงต้องจัดหาโลหิตให้เพียงพอต่อความต้องการอย่างเร่งด่วน หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้โลหิตในการรักษา ร่วมบริจาคโลหิตได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ บริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ , สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม (บางแค)…

สภากาชาดไทย ต้องการพลาสมาจากผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้ว พร้อมเปิดลงทะเบียนออนไลน์

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ชวนผู้ป่วยที่หายจากโรค COVID-19 กลับมาเป็นผู้ให้พลาสมาที่มีภูมิต้านทานต่อไวรัส นำไปใช้รักษาโรค และช่วยยับยั้งไม่ให้ปอดอักเสบอย่างรุนแรง ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกขณะนี้ การรักษาผู้ป่วยยังต้องพึ่งพาการให้ยารักษาตามอาการของผู้ป่วย และการผลิตวัคซีนยังอยู่ในกระบวนการของพัฒนาและวิจัยอย่างเร่งด่วน แต่ยังมีวิธีการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่สามารถทำได้ทันทีอีกวิธีหนึ่ง คือ การนำพลาสมาจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายแล้ว นำไปใช้รักษาผู้ป่วยอาการรุนแรงได้ ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ซึ่งทำหน้าที่ในการรับบริจาคพลาสมาเพื่อรักษาผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ อยู่แล้ว จึงขอรับบริจาคพลาสมาจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายดีแล้ว เพื่อนำไปช่วยรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ต่อไป โดยผู้ประสงค์จะบริจาคพลาสมา ต้องเป็นผู้ป่วยที่หายดีไม่มีอาการ ออกจากโรงพยาบาลและกักตัวที่บ้านครบ 14 วันแล้ว จึงจะสามารถมาบริจาคพลาสมาได้ หากมีผู้ที่บริจาคพลาสมาพิเศษนี้จำนวนเพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้ผู้ป่วยในประเทศได้มีโอกาสการรักษาและรอดชีวิตจากโรค COVID-19 เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ…

สภากาชาดไทย รวมใจต้านภัยโควิด

สภากาชาดไทยผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า 10 ล้านชิ้น พร้อมสนับสนุนชุดธารน้ำใจแก่ผู้ถูกกักกันโรคที่ยากไร้

สภากาชาดไทย จัดโครงการ “ร่วมใจป้องกันภัย COVID-19 ด้วยหน้ากากอนามัยแบบผ้า” โดยจับมือกับกระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า จำนวน 10 ล้านชิ้น ส่งมอบให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ซึ่งเป็นด่านหน้าในการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรค จำนวน 1 ล้านคน รวม 2 ล้านชิ้น และมอบให้กับประชาชนทั่วทั้ง 77 จังหวัด ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถผลิตได้ครบ 10 ล้านชิ้น ภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายน           นายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ในฐานะประธานกรรมการโครงการร่วมใจป้องกันภัย COVID-19 ด้วยหน้ากากอนามัยแบบผ้า กล่าวว่า “โครงการดังกล่าวฯ เป็นความร่วมมือระหว่างสภากาชาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในการช่วยกันส่งเสริมให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งหน้ากากอนามัยแบบผ้าที่สภากาชาดไทยจัดทำขึ้น เป็นหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานตามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แนะนำ สามารถป้องกันการรับและการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19…

เลื่อนพิธีพระราชทานเพลิงศพอาจารย์ใหญ่

ประกาศเลื่อนการจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาวิทยาลัย ประกาศเลื่อนการจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา (เป็นกรณีพิเศษ) ประจำปีการศึกษา 2562 ออกไปโดยไม่มีกำหนด เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมงาน รวมทั้งนิสิตแพทย์และบุคลากร  

การบริจาคโลหิตลดลง ส่งผลต่อผู้ป่วยโรคเลือด

การบริจาคโลหิตลดลง 50 % ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคเลือด

การบริจาคโลหิตลดลง 50% ส่งผลต่อผู้ป่วยโรคเลือดกว่า 1 หมื่นราย ที่ต้องรับเลือดในการรักษา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ไม่สามารถหยุดการรับบริจาคโลหิตได้ เพราะยังมีผู้ป่วยต้องใช้โลหิตเป็นประจำ คือ ผู้ป่วยเด็กโรคเลือดกว่า 1 หมื่นราย ซึ่งไม่มียาชนิดใดรักษาได้นอกจากการรับโลหิตเท่านั้น ในภาวะวิกฤติ COVID-19 ส่งผลให้โลหิตในประเทศไทยเข้าขั้นขาดแคลน รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันการจัดหาโลหิตบริจาคในแต่ละวัน จะต้องจัดหาให้ได้ 2,500 ยูนิต แต่ขณะนี้มีจำนวนลดลงกว่า 50% ไม่เพียงพอจ่ายให้กับผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคเลือดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้รับยีนธาลัสซีเมียจากพ่อและแม่ทำให้การสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ส่วนใหญ่มีอาการซีดตั้งแต่อายุขวบปีแรก ในรายที่เป็นชนิดรุนแรง ต้องได้รับการรักษาโดยการรับโลหิตเป็นประจำสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง หากไม่ได้รับโลหิต ผู้ป่วยจะมีภาวะซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตจะลดลง       ศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเลือด โรคมะเร็ง และชีวาภิบาล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2562 มีผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ต้องได้รับโลหิตเป็นประจำ จำนวน…