รู้สู้ฝุ่น PM2.5

สู้ฝุ่น PM2.5 อากาศ ถือเป็นหนึ่งในความต้องการขั้นพื้นฐานทางกายภาย สำหรับการดำรงค์ชีวิตของมนุษยชาติ เมื่ออากาศเต็มไปด้วยมลพิษอย่าง ฝุ่น PM2.5 หรือฝุ่นพิษขนาดจิ๋ว ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกปีในช่วงปลายฤดูหนาว    เข้าฤดูร้อน หรือระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน เราจะต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่นพิษกันแทบทั่วทุกภูมิภาค โดยเฉพาะปี 2568 นี้ สถานการณ์ดูจะทวีความรุนแรงและกินเวลาต่อเนื่องยาวนานกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา คุณภาพอากาศโดยรวมจัดอยู่ในเกณฑ์ “อันตรายต่อสุขภาพขั้นรุนแรง” ทำให้สภาพอากาศของประเทศไทยติดอันดับต้น ๆ ของประเทศที่มีสภาพอากาศที่อันตรายที่สุดในโลก ฝุ่น PM2.5 คืออะไร เป็นฝุ่นละอองจิ๋ว ที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เปรียบเทียบคือมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมหลายเท่า ด้วยความจิ๋วของขนาดที่ทำให้ฝุ่น PM2.5 มีอันตรายเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถเล็ดลอดการกรองของขนจมูกเข้าไปในปอดและกระแสเลือดของเราได้ ที่ร้ายที่สุดก็คือมันสามารถเป็นตัวกลางนำพาสารอันตรายอื่น ๆ ในอากาศเข้าสู่ปอดเราได้ด้วย เช่น สารก่อมะเร็ง สารโลหะหนัก เป็นต้น วิธีการป้องกันฝุ่น PM2.5   การป้องกันฝุ่นสำหรับประชาชนที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้ คือการสวมหน้ากากอนามัย N95 โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางไปข้างนอกหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง หน้ากาก N95 เป็นหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่นขนาดจิ๋วได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อสุขภาพ…

กอดสัมผัส สื่อรักทางกาย

พลังสัมผัสด้วยการกอด พื้นฐานภาษากายที่มนุษย์สามารถทำได้ทุกคน คือการสัมผัสด้วยการ กอด ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก การกอดมีความสำคัญต่อการดูแลทั้งภายในครอบครัว คนรอบข้าง เพราะการกอด เป็นมากกว่าการแสดงออกทางกายที่แสดงถึงความอบอุ่น ปลอดภัย มั่นคง และคลายความวิตกกังวลและยังเป็นการให้กำลังใจในแบบที่เรียบง่าย แต่มากด้วยคุณค่าทั้งทางใจและทางกาย ประโยชน์การกอด ไม่ว่าจะเป็นการกอดรูปแบบไหน ก็มีผลในทางบวกทั้งกับผู้ให้และผู้ที่รับ ในทางวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการกอดยังช่วยกระตุ้นการหลั่งของสารโดปามีน (Dopamine) ซีโรโทนีน (Serotonin) และคอร์ติโซน (Cortisone) สารเคมีเหล่านี้ช่วยในการขจัดความรู้สึกโกรธ อ้างว้าง เดียวดาย โดยทดแทนด้วยความรู้สึก รื่นรมย์ ยินดี รวมถึงความรู้สึกผูกพัน ความรักและความไว้วางใจลดความรู้สึกอ้างว้างและมีความสุขในชีวิตได้ ชนิดการกอด จากหนังสือการบำบัดด้วยการกอด (Hug Therapy) กล่าวถึงชนิดการกอดว่ามี 11 วิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและโอกาส คือ กอดแบบหมี (Bear hug) กอดแบบตัว เอ (A frame hug) กอดแนบแก้ม (Cheek hug) กอดประกบ (Sandwich hug) กอดแบบโฉบ (Grabber-squeezer…

รูปภาพ พิษเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

พิษแอลกอฮอล์ภัยร้ายที่ต้องระวัง!

สถานการณ์เกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกรณรงค์และให้ความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อ การเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา อาทิ ปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย จิตใจ และปัญหาทางด้านพฤติกรรม ทั้งนี้มีข้อมูลรายงานจากองค์การอนามัยโลก พบว่า ในทุกปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากพิษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 3.3 ล้านคน ถือเป็นร้อยละ5.9 ของการตายทั้งหมด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมากกว่า 200 ชนิด ถือเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บอื่น ๆ อีกด้วย ผลเสียด้านสุขภาพ ปริมาณในการดื่มแอลกอฮอล์นั้น ส่งผลโดยตรงต่อร่างกาย เพราะหลังจากดื่มแอลกอฮอล์จะซึมเข้าสู่กระแสเลือดโดยทันทีไม่ผ่านกระบวนการย่อย ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย ได้แก่ สมองและระบบประสาท การดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาวจะส่งผลให้สมองเกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้ดื่มมีอาการความจำเสื่อมความคิดเลอะเลือน สมองหดตัวมีขนาดเล็กลง บางรายมีอาการประสาทหลอนหวาดระแวง ระบบทางเดินอาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะกระตุ้นให้มีการหลั่งกรดและน้ำย่อยในกระเพาะออกมาในปริมาณมากขึ้น มีโอกาสทำให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กได้ ตับ เป็นอวัยวะที่รับพิษจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุด แอลกอฮอล์จะเข้าทำลายเซลล์ตับทำให้ไขมันเข้าไปแทนที่และคั่งอยู่ในตับ เมื่อเซลล์ตับตายลงถึงระดับหนึ่งจะมีการสร้างพังผืดที่บริเวณนั้น ทำให้เป็น “โรคตับแข็ง” หัวใจและหลอดเลือด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น การบีบตัวของหัวใจไม่ปกติ ความดันโลหิตสูงขึ้น และส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ขาดเลือด อวัยวะสืบพันธุ์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก จะทำให้ความต้องการทางเพศลดลงและอาจส่งผลให้ลูกอัณฑะเล็กลงอีกด้วย “CAGE” 4…

รูปภาพออกกำลังกายสุขภาพดี

เทคนิคสุขภาพดีด้วยการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพประการหนึ่งที่สำคัญโดยมีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้อวัยวะระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ทำงานอย่างเต็มที่ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์ต่อทุกคนทุกเพศทุกวัย อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคหรือลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ อาทิ โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ประเทศไทยได้มีนโยบายส่งเสริมการออกกำลังกาย โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนไทยทุกกลุ่มอายุมีการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม ได้กำหนดแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อมุ่งเสริมสร้างสุขภาพคนไทยให้แข็งแรง ลด ละ เลิก พฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงทางสุขภาพออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เทคนิคสุขภาพดีด้วยการออกกำลังกาย 3 รูปแบบ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอความหนักปานกลาง ทำกิจกรรมที่ทำให้หายใจเหนื่อยกึ่งหอบแบบต่อเนื่องจนหัวใจเต้นเร็ว ทำให้หัวใจแข็งแรง เผาผลาญไขมัน ควรออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอให้ได้อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ แนะนำให้ทำวันละ 30-50 นาที อย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ละครั้งควรไม่น้อยกว่า 10 นาที    ไม่ควรหยุดติดต่อกันเกิน 2 วัน การออกกำลังกายแบบแรงต้าน ทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อฝึกกล้ามเนื้อของร่างกาย โดยใช้แรงต้านจากน้ำหนักอุปกรณ์ หรือ การต้านกับแรงโน้มถ่วงโลก แนะนำให้ออกกำลังกายแบบนี้อย่างน้อย…

รูปภาพวันสร้างสุขภาพแห่งชาติ

วันสร้างสุขภาพแห่งชาติ

“วันสร้างสุขภาพแห่งชาติ”  ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายนของทุกปี กำหนดขึ้นเพื่อให้ประชาชน      ทุกคนตระหนักถึง ‘การสร้างสุขภาพ’ มากกว่าการ ‘ซ่อมสุขภาพ’ รวมถึงการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้น ปัญหาสุขภาพของประชากรโลกเป็นปัญหาทางสังคมที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ ในอดีตที่ผ่านมามีปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่รุนแรงเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง การมีสุขภาพดีจึงเป็นรากฐานที่สำคัญของการดำเนินชีวิต ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปัจจัยทางสังคม ดังนั้น การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) จึงเป็นกระบวนการในการเพิ่มความสามารถให้ประชาชน เพื่อให้สามารถควบคุมปัจจัยกำหนดสุขภาพและพัฒนาสุขภาพของตนเองได้ ทั้งสุขภาวะทางกาย จิต สังคมและปัญญา ซึ่งไม่ใช่ เป็นเพียงความรับผิดชอบของบุคลากรและองค์กรสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องไปถึงภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม               ที่จะร่วมกันสร้างวิถีชีวิตและสังคมสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่สุขภาวะที่ดี ในนิยามที่พัฒนาให้กว้างขึ้นยังรวมถึงการเชื่อมโยงถึงสิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรมทางสังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย รู้จัก “สุขภาพ” ดี ทั้ง 4 มิติ สุขภาพดี 4 มิติ ที่เป็นองค์ประกอบของสุขภาพ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและพึ่งพากัน                โดยพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ได้กำหนดนิยามของ “สุขภาพ” คือ ภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์      ทั้งทางกาย (Physical Health) ทางจิต (Mental Health)…

วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล

เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ทุกวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงสากล (International Day for the Elimination of Violence against Women) ” เพื่อรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและร่วมกันขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิง    ทั่วโลก ซึ่งในส่วนของประเทศไทยคณะรัฐมนตรี ได้กำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นเดือนรณรงค์     ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี มาตั้งแต่ปี 2542 รู้หรือไม่? โดยทั่วโลกได้มีการใช้ สัญลักษณ์“ริบบิ้นสีขาว” (White Ribbon) เป็นสัญลักษณ์       เพื่อแสดงถึงการร่วมต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัวด้วย “ไม่ยอมรับ    ไม่นิ่งเฉย และไม่กระทำความรุนแรง” องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้ให้นิยาม “ความรุนแรง”     ว่าหมายถึง การกระทำโดยมีเจตนาใช้กําลังทางกายหรือใช้อำนาจข่มขู่ครอบงำ ไม่ว่าจะเป็นการกระทํา       ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อกลุ่มบุคคลหรือต่อชุมชน อันทําให้เกิดหรืออาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ถึงแก่ความตาย เป็นอันตราย ต่อจิตใจ หรือการละเลยทอดทิ้ง…

โรคพิษสุนัขบ้า อันตรายแต่ป้องกันได้

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดเชื้อทางระบบประสาทเกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ เรบีส์ ไสรัส (Rabirs) ซึ่งเกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น คน สนุข แมว ลิง กระรอก ค้างคาว ฯลฯ โรคนี้ก่อให้เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทส่วนกลาง สามารถติดโรคพิษสุนัขบ้าจากทางใดบ้าง ถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด เชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ที่ถูกกัด ถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย การถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลียผ่านผิวหนังปกติจะไม่ติดโรคจากสัตว์เหล่านั้น ยกเว้นกรณีที่บริเวณที่ถูกเลียมีบาดแผลรอยถลอกหรือรอยขีดข่วน ในกรณีนี้จะมีโอกาสติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้รวมทั้งกรณีถูกเลียที่ริมฝีปากหรือนัยน์ตา ลักษณะอาการคนที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ในระยะ 2-3 วัน อาจมีอาการไข้ต่ำ ๆ เจ็บคอเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คันหรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณแผลที่กัด ตื่นเต้นง่าย กระสับกระส่าย กลืนอาหารลำบาก ชักเกร็ง กลัวน้ำ ข้อควรปฏิบัติภายหลังจากถูกสัตว์กัด ล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาด ฟอกด้วยสบู่ 2- 3 ครั้งแล้วทาแผลด้วยโพวิดีนหรือเบตาดีน ถ้าสุนัขตายให้นําซากมาตรวจ ถ้าหากสุนัขไม่ตายให้ขังไว้ดูอาการ 10 วันหรือนําไปให้ สัตวแพทย้ดูอาการ พบแพทย์ทันที ผู้ป่วยที่โดนสัตว์กัดหรือข่วนทุกราย ต้องไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อพิจารณาฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า และป้องกันบาดทะยัก วิธีการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า…

เคล็ด(ไม่)ลับ ทักษะสร้างมิตรภาพ

ในปัจจุบัน เราจะต้องอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย ซึ่งมีทั้งเพื่อน คนรู้จักคนที่เราต้องทำงานด้วย  หรือแม้แต่คนในครอบครัว ทุกคนที่อยู่รอบข้างของเราล้วนมีความแตกต่างกันทั้งในด้านการคิดและการกระทำ ซึ่งความแตกต่างนี่เองที่ทำให้คนเรามีความขัดแย้งกันแต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกบุคลิกภาพและการกระทำหรื่อสิ่งที่อยู่ภายใน เช่น ความคิด ทัศนคติ อารมณ์ ความรู้สึก ความชอบไม่ชอบ การตัดสินใจ ถ้าหากเราเข้าใจและยอมรับในความแตกต่างเหล่านี้ เราก็จะสามารถปรับตัวเข้ากับคนรอบข้างได้อย่างมีความสุข เทคนิคสร้างมิตรภาพ เปิดโอกาสให้ตัวเองได้พบปะผู้คนที่หลากหลาย สังคมที่หลากหลาย เพื่อเรียนรู้ เข้าถึง  เข้าใจในความแตกต่าง และเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมที่แตกต่างกันไป จะเห็นว่าคนที่มีจิตอาสาไปช่วยเหลือในสถานที่ต่าง ๆ หรือคนที่เดินทางไปในสถานที่หลากหลายได้เห็นความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความคิดที่แตกต่างออกไป จะเป็นคนที่เปิดกว้างยอมรับและปรับตัวได้ง่าย การรับฟังและการอ่านเพื่อเปิดมุมมองให้กว้างขวาง ศึกษาเพื่อเรียนรู้สิ่งที่เราไม่ชอบในหลาย ๆ แง่มุมอคติเป็นสิ่งที่อันตรายมากที่สุด เวลาที่ไม่ชอบอะไร คนเรามักจะตั้งแง่ว่าสิ่งนั้นไม่ดี และน้อยคนที่จะพยายามเปิดใจให้กับมัน เช่น เดียวกับความคิดที่แตกต่างจากความคิดของเราสิ่งที่ควรทำคือลองเปิดใจรับฟัง ลองศึกษาในอีกแง่มุมให้มากขึ้น เราจะเห็นอีกมุมหนึ่งที่เราไม่เคยได้เห็นมาก่อน เราอาจจะเห็นว่าจริง ๆ แล้ว สิ่งที่เราคิดมาตลอดว่ามันไม่ดีมันก็มีมุมดี ๆ คบคนที่แตกต่างและเรียนรู้จากความแตกต่าง เริ่มจากการพูดคุยในสิ่งที่สนใจตรงกัน ใช้เวลาเพื่อสร้างมิตรภาพ จากนั้นเปิดใจรับฟังมุมมองความคิดที่แตกต่าง เราอาจได้เห็นโลกอีกใบที่เราไม่เคยเข้าถึงมาก่อน  ก็เป็นได้ และมิตรภาพจะเป็นปราการป้องกันอคติและความขัดแย้ง ศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด…

เทคนิคฟังเชิงรุก (Active Listening) ฟังอย่างไรให้ “เข้าใจ” ไม่ใช่แค่ “ได้ยิน”

เมื่อกล่าวถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร บ่อยครั้งเราจะคิดถึงการพัฒนาทักษะการส่งสาร (Sending skill) หรือการปรับวิธีการพูด การส่งข้อความ ให้น่าฟัง น่าเชื่อถือ และน่าดึงดูดใจ ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ส่งสาร ตัวสาร และช่องทางการสื่อสาร ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญที่จะส่งผลให้สื่อสารมีคุณภาพ  เพิ่มโอกาสที่การสื่อสารจะประสบความสำเร็จได้สูง อย่างไรก็ดี การสื่อสารนั้นมีด้วยกันสองฝ่าย คือฝ่ายผู้ส่งสารและผู้รับสาร และหากผู้รับสารไม่รับและไม่รู้ด้วย ก็มีโอกาสที่การสื่อสารนั้นจะล้มเหลวได้ การฟังในการสนทนากันมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ ผ่านไปครั้งเดียว แต่สามารถส่งอิทธิพลต่อความรู้สึกระหว่างกันได้มากเพราะมักรับรู้ถึงปฏิกิริยาของคู่สนทนาได้เดี๋ยวนั้น จึงมีความจำเป็นที่เราควรจะพัฒนาทักษะการฟัง หากประสงค์ให้การสื่อสารมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน และเกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันด้วย ก่อนที่จะเสนอว่าการฟังที่ดีเป็นอย่างไร เรามาตรวจสอบระดับการฟังที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันเสียก่อนโดยสามารถแบ่งระดับการฟังได้ 5 ระดับ ได้แก่ 1.ไม่สนใจ — ทำเหมือนผู้พูดกำลังพูดกับกำแพง 2.แกล้งฟัง — พยักหน้า ไม่ได้ตั้งใจฟังจริง 3.เลือกฟัง —  เลือกฟังเฉพาะสิ่งที่อยากฟัง 4.ตั้งใจฟัง —  ฟังด้วยหู อยู่กับปัจจุบัน ได้ข้อมูลครบถ้วนตามที่ได้ฟัง 5.ฟังด้วยใจ — ฟังด้วยหู ด้วยตา และด้วยใจ เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกผู้พูด คิดตามอย่างมีสติ ไม่ตัดสิน…

มะเร็งปอดรอดได้ แค่หยุดสูบบุหรี่

มะเร็งปอดเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เลือกเพศ ช่วงวัย สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม สาเหตุของการเกิดโรคมีหลายประการ ปัจจัยเสี่ยงหลักที่ครองแชมป์ก่อโรคมะเร็งปอดอันดับหนึ่งก็ยังคงเป็นการสูบบุหรี่ คนที่ไม่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้ ซึ่งการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น เช่น ถ้าเราตรวจคน  ที่ไม่สูบบุหรี่ 1,000 คน อาจจะเจอคนเป็นมะเร็งปอดไม่ถึง 1 คน แต่ถ้าตรวจคนสูบบุหรี่ 1,000 คน เรามีโอกาสเจอคนเป็นมะเร็งปอดได้ 4-5 คน และจากสถิติโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี 2565 พบว่า ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งมากกว่า 1 แสนรายต่อปี (เฉลี่ย 400 คนต่อวัน) สาเหตุ การรับสารก่อเกิดมะเร็งอย่างต่อเนื่อง ที่พบบ่อยคือ ควันบุหรี่ ผู้สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องทั้ง ผู้สูบเองหรือสูดควันบุหรี่จากคนรอบข้าง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลที่ไม่สูบอย่างชัดเจน มลพิษจากสิ่งแวดล้อมบางชนิด เช่น Asbestos (แร่ใยหิน) Radon ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีที่พบได้ในครัวเรือน กลุ่มเสี่ยงจากปัจจัยอื่น เช่น สมาชิกในครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคมะเร็ง อาการ ไอเรื้อรัง เสมหะมีเลือด เหนื่อยหอบ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดกระดูก ปวดศีรษะ…