ผลกระทบของพฤติกรรมต่อ “สุขภาพเพศ”

ผลกระทบของพฤติกรรมต่อ “สุขภาพเพศ” ปัจจุบันเรื่องเพศได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น การทำความรู้จักกับเรื่องเพศนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ สุขภาพเพศ (Sexual Health) เพื่อที่ทุกท่านจะได้ดูแลสุขภาพเพศของตนเองได้ดีขึ้น โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำนิยามของ “สุขภาพเพศ” คือ สุขภาวะทางกาย อารมณ์ จิตใจและสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศ ซึ่งมิได้หมายถึงเพียงการไม่มีโรคหรือไม่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศเท่านั้น การมีสุขภาพเพศที่ดีจะเกิดขึ้นเมื่อสิทธิทางเพศของมนุษย์ทุกคนได้รับการเคารพ การคุ้มครองและเติมเต็ม แต่ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าท่านมีสุขภาพเพศที่ดีหรือไม่ การวัดสุขภาพเพศนั้นทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานในการชั่งตวงวัด ไม่เหมือนการวัดความสามารถในการเจริญพันธุ์หรือวัดระดับฮอร์โมนในร่างกายซึ่งทำได้ง่ายกว่า อีกทั้งคำว่า“สุขภาพเพศ” ยังมีความแตกต่างไปตามบริบทของแต่ละสังคม ดังนั้นในแต่ละสังคม จึงต้องการเครื่องมือในการวัดที่จำเพาะกับแต่ละวัฒนธรรม นอกจากนี้แล้วปัจจัยทางพฤติกรรมก็มีผลต่อสุขภาพเพศด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ความอ้วน (Obesity) ความอ้วนมีความสัมพันธ์ชัดเจนกับการลดลงของความสามารถในการมีบุตรของสตรี สตรีที่มีน้ำหนักตัวมากจะเพิ่มความเสี่ยงของการมีประจำเดือนไม่ปกติ การแท้งบุตร และความพึงพอใจขณะมีเพศสัมพันธ์ลดลง จากการศึกษาพบว่าสตรีที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) >25kg/m2 หรือมีน้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์มากกว่า 80 กิโลกรัม ใช้เวลามากกว่าคนปกติ 2 เท่า เพื่อที่จะตั้งครรภ์ได้สำเร็จ ผู้ชายอ้วนก็มีปัญหาสุขภาพเพศด้วย กล่าวคือจะไม่พบอสุจิหรือมีอสุจิน้อยกว่าคนทั่วไป มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนน้อยกว่าคนทั่วไป ความอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงของ Metabolic Syndrome ซึ่งส่งผลต่อการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มความเสี่ยงการมีไขมันในโลหิตสูง อันจะส่งผลเสียต่อรูปร่างของอสุจิรวมถึงทำให้อุณหภูมิของถุงอัณฑะสูงเกินกว่าจุดที่เหมาะสมของการสร้างอสุจิ…

สมาร์ทโฟนซินโดรม

เนื่องจากสังคมปัจจุบันคนนิยมใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น ตั้งแต่เด็กเล็ก วัยรุ่น คนทำงานหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ทุกวันจะมีการใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น จึงพบมีโรคสมาร์ทโฟนซินโดรมเกิดขึ้น เนื่องจากการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป จนส่งผลเสียต่อสุขภาพ อาการที่พบบ่อย ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษากับทางฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยจะมีลักษณะอาการปวดที่เกิดจากการใช้ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่หมอสังเกตเห็น คือ คนส่วนใหญ่จะอยู่ในท่าก้มหรือบางคนก้มมากจนจอแทบติดหน้า การก้มแบบนี้ทำให้กระดูกต้นคอรับแรงกดมากขึ้น ถ้าศีรษะตั้งตรง 0% จะเห็นว่าแรงกดที่ต้นคอน้อยมาก ประมาณ 4-5 กิโลกรัม แต่ถ้าเราก้มมากขึ้นประมาณ 10-15 องศา แรงกดที่ต้นคอจะเพิ่มมากขึ้นประมาณ 4-5 กิโลกรัม และถ้าก้มมากขึ้นถึง 30 องศา แรงกดอาจมากถึง 25 กิโลกรัม แต่ถ้าก้มมากถึง 45 องศา แรงกดจะมากได้ถึง 20 กิโลกรัม ถ้ายิ่งโก้งโค้งทั้งคอและบ่า จะพบว่าแรงกดมีมากถึง 30 กิโลกรัม การที่เราอยู่ในท่านี้นาน ๆ ทำให้กระดูกต้นคอทำงานเยอะ รวมทั้งกล้ามเนื้อที่อยู่รอบต้นคอและบ่า ต้องทำงานตลอดเวลา มีอาการเมื่อยล้า ทำให้เราไม่สามารถทำงานต่อได้ นอกจากนี้การใช้สมาร์ทโฟนไม่ใช่แค่ก้มอย่างเดียว ยังจะมีใช้มือกดหรือยกขึ้นมา…

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อย ๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูกซึ่งมีผลให้กระดูกบางและเปราะ ไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดดันได้ตามปกติ ทำให้เกิดความเสี่ยงกระดูกหักได้ง่าย ภาวะที่เนื้อกระดูกลดลงประมาณร้อยละ 30 เป็นภาวะที่เรียกว่า “โรคกระดูกพรุน” มักพบในวัยผู้สูงอายุ จากสถิติพบว่าผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนร้อยละ 30 มีภาวะโรคกระดูกพรุน พบโรคกระดูกพรุนร้อยละ 45 ในผู้หญิงอายุมากกว่า 60 ปี และร้อยละ 35 ของผู้ชายจะเป็นโรคนี้เมื่อายุ 75 ปี กระดูกประกอบด้วยโปรตีนที่เป็นเส้นใยคอลลาเจนและมีแคลเซียมมาตกผลึกจับตัวกับคอลลาเจนกลายเป็นของแข็งที่สามารถรับน้ำหนัก รับแรงกดกระแทก และมีความยืดหยุ่นในตัวเอง การสร้างกระดูกที่ดีจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมและสารอาหารที่เหมาะสม โดยแคลเซียมทำให้กระดูกแข็ง ส่วนโปรตีนในกระดูกโดยเฉพาะคอลลาเจนและโปรตีนอื่น ๆ จะให้กระดูกมีความเหนียวและยืดหยุ่น ในแต่ละวัยร่างกายสามารถสะสมปริมาณแคลเซียมในมวลกระดูกในระดับที่แตกต่างกัน และมวลกระดูกจะถึงจุดสูงสุดในช่วงอายุ 25-30 ปี หลังจากนั้นมวลกระดูกจะค่อย ๆ ลดลงประมาณร้อยละ 0.5-1 ต่อปี ในช่วงหมดประจำเดือนมวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว อาจลดลงเร็วถึงร้อยละ 3-5 ต่อปี ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เพศหญิงจึงมักมีโอกาสเกิดกระดูกพรุนมากกว่าเพศชาย ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การได้รับสารอาหารโดยเฉพาะแคลเซียมไม่เพียงพอ กรรมพันธุ์ การหมดประจำเดือน การสูบบุหรี่…

เลือกยาสีฟันอย่างไรดี

ไม่มียาสีฟันชนิดใดที่จะผลิตมาให้เหมาะกับทุกคน เพราะแต่ละคนมีปัญหาในช่องปากที่แตกต่างกันไป โรคที่เกิดในช่องปากต่าง ๆ จะเกิดจากเชื้อโรคต่างชนิดกัน แต่แหล่งที่เชื้อโรคสะสมอยู่เป็นที่เดียวกันหมด คือ ในแผ่นคราบจุลินทรีย์ (plaque) ซึ่งจะถูกกำจัดออกได้ด้วยการแปรงฟันและทำความสะอาดซอกฟันอย่างถูกวิธี โดยมียาสีฟันเป็นตัวช่วยให้การแปรงฟันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนประกอบพื้นฐานในยาสีฟัน ฟลูออไรด์ (Fluoride) : เช่น Sodium fluoride, Sodium monofluorophosphate ผสมอยู่ในปริมาณไม่เกิน 1,000 ppm (ตามข้อกำหนดของ อย. หรือ ADA) โดยจะเข้าไปทำให้เคลือบฟันแข็งแรง ป้องกันการถูกกัดกร่อนจากกรดที่เชื้อแบคทีเรียสร้างขึ้น สารขัดฟัน (Mild Abrasive) : เช่น Calcium carbonate, Dehydrated silica gels, Hydrated aluminium oxides, Magnesium carbonate, Phosphate salts, silicates เป็นผงละเอียดช่วยกำจัดคราบอาหารและคราบสีบนตัวฟัน สารเพิ่มความชื้น (Humectants) : เช่น Glycerol, Propylene, Glycol,…

ใส่บาตรดี…ผู้ให้ได้บุญ ผู้รับได้สุขภาพ

     ในการทำบุญแต่ละครั้งหลาย ๆ คนคงคิดว่า จะจัดอาหารอะไรไปถวายพระ อาหารที่ทำบุญไปนั้น โดยมากมักจะถวายอาหารเป็นแกงกะทิหรือขนมหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด โดยขนมหวานเหล่านั้นส่งผลต่อสุขภาพต่อพระสงฆ์ ซึ่งเป็นที่น่าตกใจว่า ปัจจุบัน มีพระสงฆ์จำนวนมากที่อาพาธด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในโลหิตสูง และโรคอ้วน ซึ่งเป็นโรคที่ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการฉันอาหารที่ไม่เหมาะสม แนวทางการเลือกอาหารถวายพระ – ข้าวกล้องอุดมด้วยวิตามิน มีใยอาหารสูง และมีดัชนีน้ำตาล (glycemic index) ต่ำ – เลือกเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ – หลีกเลี่ยงของมัน ของทอดหรือส่วนประกอบจากกะทิ – เลือกเมนูอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ – ผักและผลไม้หลากหลายชนิดที่ปลอดสารพิษ – เครื่องดื่มปราศจากน้ำตาล หรือหวานน้อย หลีกเลี่ยงน้ำผลไม้กล่องหรือชาเขียวที่รสหวาน เพราะมีน้ำตาลสูง การเลือกอาหารใส่บาตรหรือถวายพระ จึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ซึ่งมีกิจวัตรและการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยกว่าคนทั่วไป ให้มีสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยวิธีการรักษาโรคดังกล่าว คือ…

การป้องกันไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย หากมีความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานและไม่ได้รับการรักษา จะเป็นเสมือนระเบิดเวลาที่ฝังอยู่ในตัวเรา รอวันแสดงอาการ โรคความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้ง่าย ๆ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา หันมาดูแลสุขภาพร่างกาย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเค็ม เน้นทานผักผลไม้ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ควบคุมน้ำหนักตัว และตรวจสุขภาพเป็นประจำ

แมลงก้นกระดก ภัยร้ายใกล้ตัว

แมลงก้นกระดก (Rove beetles) หรือที่เรียกกันว่า ด้วงก้นกระดก ด้วงก้นงอน หรือ ด้วงปีกสั้น เป็นแมลงขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีดำสลับส้มเป็นปล้องๆ จุดเด่นของแมลงชนิดนี้คือเมื่อเกาะแล้วจะมีลักษณะเหมือนก้นกระดกขึ้นมา มักพบในช่วงฤดูฝน โดยเข้ามาตอมหลอดไฟในบ้านและร่วงหล่นตามพื้น   สาเหตุของโรค เกิดจาก แมลงก้นกระดก ปล่อยพิษที่มีชื่อว่า พิเดอริน (Pederin) ซึ่งมีลักษณะเป็นกรดที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการแสบร้อนเป็นรอยไหม้หลังจากสัมผัสพิษประมาณ 8-12 ชั่วโมง โดยส่วนมากมักเกิดจากการสัมผัส ปัด หรือบี้ตัวแมลง จนทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง   อาการของโรค สำหรับผู้ป่วยที่โดนกรดจากแมลงก้นกระดก จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน พบรอยไหม้ และตุ่มน้ำเป็นเป็นผื่น ที่มีลักษณะคล้ายเป็นเริมหรืองูสวัด แต่จะพบเป็นรอยยาว ไม่เป็นกระจุก มักพบรอยบริเวณนอกเสื้อผ้า ในบางคนที่แพ้พิษอาจมีอาการรุนแรง เช่น พุพอง คลื่นไส้อาเจียน หรือเริ่มมีไข้ แต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต   วิธีการรักษา สำหรับการรักษา เบื้องต้นเมื่อโดนพิษจากแมลงก้นกระดก ให้รีบล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผลล้างทันที แต่หากเกิดตุ่มน้ำและรอยแดงขึ้นแล้วสามารถทายาเพื่อรักษารอยแดงซึ่งจะหายไปเองประมาณ 2-3…