บริจาคโลหิตช่วยผู้ป่วยโรคเลือด

บริจาคโลหิต ช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคเลือดกว่า 5 แสนราย ทั่วประเทศ

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ขอเชิญชวนบริจาคโลหิตในภาวะวิกฤติ COVID-19 ช่วยผู้ป่วยโรคเลือด กว่า 5 แสนราย ทั่วประเทศ เพราะยังมีผู้ป่วยต้องใช้โลหิตเป็นประจำทุกเดือน รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 รอบ 2 ขณะนี้ การดำเนินงานบริการโลหิต ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนต่อไป ไม่สามารถหยุดการรับบริจาคโลหิตได้ เนื่องจากโลหิตยังคงเป็นยารักษาโรคที่สำคัญ ซึ่งต้องได้มาจากการบริจาคเท่านั้น และต้องการใช้ทุกวัน หากขาดโลหิตจะส่งผลกระทบกับผู้ป่วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย จำเป็นที่ต้องใช้โลหิตในการรักษาเป็นประจำ ซึ่งในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา ผู้ป่วยประสบปัญหาในการรอรับโลหิต หรือบางรายต้องเลื่อนการรับโลหิตออกไป นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยผ่าตัดใหญ่ อุบัติเหตุ ตกเลือดจากการคลอดบุตร ฯลฯ ที่มีการเสียโลหิตในปริมาณมาก ต้องให้โลหิตทดแทนอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่สามารถที่จะเลือกเวลาได้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ก็ตาม รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดารินทร์ ซอโสตถิกุล สาขาโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคโลหิตจางเรื้อรัง เกิดจากการถ่ายทอดพันธุกรรมจากพ่อและแม่ ที่เป็นพาหะหรือมียีนแฝงของโรคธาลัสซีเมีย…

บริจาคโลหิตมาฆบูชา

กาชาดชวนถือศีลทำบุญบริจาคโลหิตวันพระใหญ่มาฆบูชา

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญบริจาคโลหิตวันพระใหญ่มาฆบูชา ระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2564 (3 วัน) ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ หน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ 6 แห่ง และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่งทั่วประเทศ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ซึ่งถือว่าเป็นวันพระใหญ่และมีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ในวันสำคัญนี้พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ จึงพร้อมใจร่วมกันทำกิจกรรมด้วยการทำบุญ และปฏิบัติธรรม เพื่อระลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและถวายเป็นพุทธบูชา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จึงถือโอกาสนี้จัดทำโครงการ “ถือศีล ทำบุญ บริจาคโลหิต เนื่องในวันมาฆบูชา” ระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.30-15.30 น. ณ…

ส่งความรักผ่านโลหิต

กาชาดชวนส่งความรักผ่านโลหิต ฝ่าวิกฤติ COVID-19 รับสายคล้องหน้ากาก “Give Blood Save Lives” Limited Edition

เนื่องในเทศกาลวันแห่งความรัก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ชวนส่งความรักด้วยการบริจาคโลหิตในโครงการ “ส่งความรักผ่านโลหิต ฝ่าวิกฤติ COVID-19” เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย พร้อมรับสายคล้องหน้ากาก “Give Blood Save Lives” รุ่น Limited Edition แทนความห่วงใยจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และแทนคำขอบคุณจากผู้ป่วยทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 12 มีนาคม 2564 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถ.อังรีดูนังต์, หน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ Fixed Station 6 แห่ง, ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่ง และโรงพยาบาลสาขาบริการโลหิต 6 แห่งในกรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า “14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันวาเลนไทน์หรือวันแห่งความรัก ซึ่งหลาย ๆ คน มักใช้โอกาสนี้แสดงออกถึงความรัก ความห่วงใย และความรู้สึกดี…

บริจาคโลหิตตรุษจีน

ตรุษจีนนี้ กาชาดชวนสร้างบุญเสริมเฮง มอบโลหิตเป็นมงคลชีวิต

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เชิญชวนชาวไทยเชื้อสายจีน และประชาชนทั่วไป สร้างบุญ เสริมเฮง บริจาคโลหิตรับตรุษจีน ในโครงการ “ตรุษจีนนี้ มอบโลหิตเป็นมงคลชีวิต” ระหว่างวันที่ 8-12 กุมภาพันธ์ 2564 (5 วัน) ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ผู้บริจาคโลหิตจะได้รับปฏิทินจีน ปี 2564 ชุด “SUPERNOVA CHINESE CALENDAR 2021” เป็นของขวัญปีใหม่แทนคำขอบคุณ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า วันตรุษจีน เป็นเทศกาลสำคัญที่สุดของชาวจีน และชาวไทยเชื้อสายจีน ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 (วันที่ 1 เดือน 1 ของวันจีน) ถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ โดยธรรมเนียมการปฏิบัติตนในเทศกาลวันตรุษจีน คือ การพูดทักทายกันด้วยคำอวยพร “ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้” หมายถึง เวลาใหม่ให้สมใจ ปีใหม่ให้สมปรารถนา รวมถึงการทำบุญ…

บริจาคพลาสม่า

ถึงเวลาช่วยชาติอีกครั้ง! ร่วมบริจาคพลาสมา เสริมการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ประกาศเชิญชวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่หายแล้ว ร่วมบริจาคพลาสมา เพื่อนำไปช่วยเสริมการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 รายใหม่ ช่วยยับยั้งไม่ให้ปอดอักเสบอย่างรุนแรงได้ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ  ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า “จากการรณรงค์เชิญชวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่หายแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2563 ให้กลับมาเป็นฮีโร่ในโครงการวิจัยการใช้พลาสมาเพื่อเสริมการรักษาโรค เนื่องจากพลาสมาของผู้ป่วยที่หายจากโรคแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อไวรัส สามารถนำไปใช้เสริมการรักษาผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรค โดยยับยั้งไวรัสก่อนที่จะเข้าไปทำลายเซลล์ปอดขั้นรุนแรงได้ ซึ่งภูมิต้านทานในพลาสมานี้เปรียบเสมือนยาใช้รักษาโรคได้ โดยมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่หายแล้วร่วมลงทะเบียนกว่า 400 ราย แต่มีเพียง 152 รายที่สามารถบริจาคพลาสมาได้เป็นจำนวน 446 ถุง นำไปผลิตเป็น COVID-19 Convalescent Plasma หรือ CCP ที่มีภูมิต้านทานสูงได้จำนวน 383 ถุง ซึ่งได้นำไปดำเนินการ ดังนี้ เตรียมเป็นพลาสมาโควิด-19 (CCP) พร้อมใช้รักษาโรค 250-300 มล./ยูนิต จำนวน 342 ยูนิต นำพลาสมา CCP 160 ถุง…

บริจาคโลหิต

ทำไมต้องบริจาคโลหิต?

“โลหิต” หรือ “เลือด” เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญในการใช้รักษาผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีผู้ที่สามารถคิดค้นสิ่งใดมาใช้ทดแทนโลหิตได้ จึงจำเป็นต้องมีการรับบริจาคโลหิตจากคน เพื่อให้ได้มาซึ่งโลหิตสำหรับใช้ในการช่วยชีวิตผู้ป่วย “การบริจาคโลหิต” คือ การสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคโลหิต เพราะร่างกายของแต่ละคนมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ร่างกายจะใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ โดยสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน เมื่อบริจาคโลหิตออกไปแล้ว ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทน ทำให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม หากไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัวเพราะหมดอายุ ทั้งนี้ กระบวนการในการบริจาคโลหิตตั้งแต่เริ่มลงทะเบียนจนบริจาคโลหิตเสร็จสิ้น ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเลือกเจาะโลหิตที่เส้นโลหิตดำบริเวณแขน แล้วเก็บโลหิตบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ประมาณ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค การบริจาคโลหิตเป็นเรื่องจำเป็น และยังไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ ผู้ป่วยต้องการโลหิตทุกวินาที ได้ทราบข้อมูลสุขภาพของตัวเอง ได้ทราบระบบหมู่โลหิต ทั้งระบบ ABO และ Rh ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และทำให้มีความสุข ส่งผลให้สุขภาพดี บริจาคโลหิต 1 ถุง ช่วยผู้ป่วยได้อย่างน้อย…

บริจาคโลหิตปลอดภัย

ปลอดภัย มั่นใจได้ บริจาคโลหิตฝ่าวิกฤติโควิด-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติทั่วทุกมุมโลก สร้างการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่ ในการรักษาระยะห่างเพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยเฉพาะ “การบริจาคโลหิต” โควิด-19 ก่อให้เกิดความวิตกกังวลแก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ทำให้จำนวนผู้บริจาคโลหิตลดลงกว่า 50% หน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ถูกยกเลิก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ไม่สามารถจ่ายโลหิตให้กับโรงพยาบาลได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้โรงพยาบาลทั่วประเทศขาดแคลนเลือด และจำเป็นต้องเลื่อนการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล โดยมีภารกิจในการจัดหาโลหิตบริจาคให้มีปริมาณเพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณภาพสูง ให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยจัดทำมาตรฐาน ความปลอดภัยในหลายมิติ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการรับบริจาคโลหิตมีความปลอดภัยตั้งแต่ต้นทาง คือ “ผู้บริจาค” จนถึงปลายทาง คือ “ผู้ป่วย” รวมทั้งผู้รับบริการอื่น ๆ ด้วย มาตรการการเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ คลิก  มาตรการการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร คลิก นอกจากนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ ได้กำหนดมาตรการเพื่อคัดกรองประวัติสุขภาพของผู้บริจาคโลหิตอย่างรัดกุม ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยขอให้ผู้บริจาคคัดกรองตนเองก่อนเดินทางมาบริจาคโลหิต เช่น หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส เดินทางไปยังสถานบันเทิงหรือสถานที่แออัด อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 หรือเป็นผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ต้องงดบริจาคโลหิตชั่วคราวอย่างน้อย 28…

พิษโควิด คนบริจาคเลือดน้อย ขาดแคลนเลือดทุกกรุ๊ปขั้นวิกฤติ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบให้จำนวนผู้บริจาคโลหิตลดลงอย่างมาก ครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ที่เกิดวิกฤติมากอีกครั้งหนึ่ง เพราะโรงพยาบาลใหญ่ทั่วประเทศ ประกาศขาดเลือดพร้อม ๆ กัน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ไม่สามารถจ่ายเลือดให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากผู้บริจาคโลหิตมีจำนวนลดลงทุกแห่งทั่วประเทศ อีกทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ได้ยกเลิกการจัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิต เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาด และสถาบันการศึกษาปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นออนไลน์ ส่งผลให้มีปริมาณโลหิตบริจาควันละ 700-900 ยูนิตเท่านั้น โดยลดลงมากถึงร้อยละ 50 หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วอนคนไทยสุขภาพดีช่วยกันบริจาคโลหิตอย่างเร่งด่วน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติทั่วประเทศ 12 แห่ง และหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ทุกแห่ง มีมาตรการและแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริจาคโลหิต ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยยังคงรักษามาตรการและสร้างความมั่นใจให้เป็นสถานที่ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 มีการควบคุม ดูแล รักษาความสะอาด อุปกรณ์ สถานที่ สุขอนามัยของผู้มาบริจาคโลหิต และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน เพื่อให้มั่นใจว่าทุกหน่วยงานไม่มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ ผู้บริจาคโลหิตต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพและการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงตามความเป็นจริง หากไม่แน่ใจควรงดการบริจาคโลหิตชั่วคราว เพื่อเว้นระยะเวลาการพบเชื้อ 4 สัปดาห์ และใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เดินทางมา  บริจาคโลหิต  จากกรณีที่มีข่าวว่าบุคลากรสภากาชาดไทยติดโรคโควิด-19 นางสาวปิยนันท์ คุ้มครอง…

ชี้แจงศูนย์บริการโลหิต

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ชี้แจงไม่มีบุคลากรติดเชื้อ COVID-19

จากข่าวบุคลากรสภากาชาดไทย ติดเชื้อ COVID-19 ที่เป็นกระแสในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ทำให้เกิดความวิตกกังกลของหมู่ประชาชน ในการเดินทางมาบริจาคโลหิตหรือมารับบริการที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย   รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ชี้แจงว่า ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ มีหน้าที่จัดหาและให้บริการโลหิตแก่โรงพยาบาลต่างๆ ต้องทำงานประสานกับหลายภาคส่วน จากข่าวที่เผยแพร่เป็นกระแสสังคมว่าบุคลากรสภากาชาดไทยติดเชื้อ COVID-19 ทำให้ผู้บริจาคโลหิตและผู้รับบริการ มีความวิตกกังวล ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เป็นอย่างมาก ในส่วนของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย  ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่ง ทั่วประเทศ ขอชี้แจงว่าไม่มีบุคลากรคนใดติดเชื้อ COVID-19 ด้วยมาตรการที่ป้องกันอย่างเข้มงวด ดังนี้ บุคลากรที่มีบ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงให้กักกันตัว ปฏิบัติงานที่บ้าน ไม่ต้องเข้ามาปฏิบัติงานที่ศูนย์ฯ/ภาคฯ จัดรถ รับ-ส่ง บุคลากรกรณีที่ไม่มีรถส่วนตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ บุคลากรทุกคนต้องวัดไข้ก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานทุกครั้ง ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เป็นประจำ บุคลากรทุกคน ต้องไม่ไปในพื้นที่เสี่ยง หรือแหล่งที่มีผู้คนจำนวนมาก บุคลากรนำอาหารจากบ้านหรือซื้ออาหารเข้ามารับประทาน ไม่ไปนั่งรับประทานที่ร้านอาหารภายนอก ส่วนมาตรการความปลอดภัยเรื่องการบริจาคโลหิต มีมาตรการป้องกันเชื้อ COVID-19  ผู้บริจาคโลหิตทุกคนต้องคัดกรองตนเอง…

เลือดไม่พอจ่าย

โรงพยาบาลขาดเลือดเข้าขั้นวิกฤติทั่วประเทศ วอนคนไทยช่วยกันบริจาคโลหิตอย่างเร่งด่วน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วอนคนไทยสุขภาพดีช่วยกันบริจาคโลหิต อย่างเร่งด่วน ชี้สถานการณ์การระบาด COVID-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบผู้บริจาคโลหิตลดลงอย่างมาก ทำให้โลหิตขาดแคลนเข้าขั้นวิกฤติทั่วประเทศ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ระลอกใหม่ขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หลายแห่ง ที่ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดให้ผู้ป่วย รวมทั้งผู้ป่วยเด็กโรคเลือด อาทิ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลีย ที่ต้องใช้เลือดในปริมาณมากและต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยโรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 340 แห่ง มีความต้องการเลือดสูงมาก แต่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ไม่สามารถจ่ายเลือดให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากผู้บริจาคโลหิตมีจำนวนลดลงทุกแห่งทั่วประเทศ หน่วยงานยกเลิกการจัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิต เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาด และสถาบันการศึกษาปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นออนไลน์ ส่งผลให้มีปริมาณโลหิตบริจาควันละ 700 – 900 ยูนิต เท่านั้น ลดลงมากถึงร้อยละ 50 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ ปีพ.ศ.2512 มีการประกาศขาดเลือดบ่อยๆ แต่ครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ที่วิกฤติมากอีกครั้งหนึ่ง เพราะโรงพยาบาลใหญ่ๆ ทั่วประเทศ ประกาศขาดเลือดพร้อมๆ กัน หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยถึงชีวิตได้…