เยี่ยมชมศูนย์บริการโลหิต

ผู้แทน UN, WHO และ IFRC เยี่ยมชมศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ

วันที่ 10 มิถุนายน 2563  นายเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และคณะ ให้การต้อนรับ Ms. Gita Sabharwal ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UN) Dr. Liviu Vedrasco Programme Officer องค์การอนามัยโลก (WHO) และ Mr. Christopher Rassi หัวหน้าคณะทำงานสนับสนุนกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) ในโอกาสเยี่ยมชมงานบริการโลหิต กระบวนการบริจาคโลหิตและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์โลหิต พร้อมรับฟังการบรรยายประวัติและภารกิจของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย สถานการณ์การบริจาคโลหิตในประเทศไทย และการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการรณรงค์การบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

ขั้นตอนการบริจาคพลาสมาของผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้ว

พลาสมาของผู้ป่วย COVID-19 มีค่า สามารถช่วยเหลือผู้ป่วย COVID-19 ได้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เชิญชวนผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้ว และมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข ลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ บริจาคพลาสมาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการรุนแรงต่อไป ช่องทางลงทะเบียน —> (ข้อมูลการลงทะเบียนของท่านจะเก็บเป็นความลับอย่างปลอดภัย ในระบบฐานข้อมูลของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562) จากนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จึงติดต่อกลับทางโทรศัพท์เพื่อคัดกรองสุขภาพ กรณีผ่านการคัดกรอง จะทำการนัดหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการบริจาคพลาสมาฯ  การเข้าร่วมโครงการบริจาคพลาสมาฯ มีขั้นตอนดังนี้ ประเมินเส้นเลือดที่ข้อพับแขน ต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร ตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน ตรวจความเข้มข้นโลหิต (ผู้ชาย 13.00 กรัม/เดซิลิตร ผู้หญิง 12.5 กรัม/เดซิลิตร) ตรวจหมู่โลหิต (เฉพาะผู้บริจาคใหม่) ตรวจหาการติดเชื้อ COVID-19 และตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ COVID-19 โดยการตรวจเชื้อในโพรงจมูกและเก็บตัวอย่างโลหิต กรณีที่ผลการตรวจผ่าน จึงนัดหมายมาบริจาคพลาสมา การบริจาคพลาสมา บริจาคด้วยเครื่องแยกส่วนประกอบโลหิตอัตโนมัติ ใช้เวลาในการบริจาค…

เลือดขาด

คนไทยไม่ทิ้งกัน บริจาคโลหิตช่วยผู้ป่วยได้ 3 ช่องทาง

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ชวนคนไทยรวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทย ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องช่วยกันบริจาคโลหิต อย่ารอให้ถึงวันที่ผู้ป่วยไม่มีโลหิตในการรักษา รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 เป็นเหตุให้ผู้บริจาคโลหิตมีความกังวลในการเดินทางมาบริจาคโลหิต ทำให้จำนวนผู้บริจาคโลหิตลดลง การปรับขนาดหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิต จากจำนวน 200-300 คน ให้เล็กลง เหลือเพียง 30 คน จนขณะนี้มีปริมาณโลหิตไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 160 แห่ง ที่ต้องใช้โลหิตในการผ่าตัด รวมทั้งผู้ป่วยโรคเลือดที่จำเป็นต้องใช้โลหิตเป็นประจำ ปัจจุบันมีการเบิกขอใช้โลหิตมายังศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติทั่วประเทศ เฉลี่ยวันละ 5,400 ยูนิตต่อวัน แต่สามารถจ่ายเลือดให้ได้เฉลี่ย 2,400 ยูนิตต่อวัน หรือร้อยละ 44 เท่านั้น จึงต้องจัดหาโลหิตให้เพียงพอต่อความต้องการอย่างเร่งด่วน หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้โลหิตในการรักษา ร่วมบริจาคโลหิตได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ บริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ , สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม (บางแค)…

สภากาชาดไทย ต้องการพลาสมาจากผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้ว พร้อมเปิดลงทะเบียนออนไลน์

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ชวนผู้ป่วยที่หายจากโรค COVID-19 กลับมาเป็นผู้ให้พลาสมาที่มีภูมิต้านทานต่อไวรัส นำไปใช้รักษาโรค และช่วยยับยั้งไม่ให้ปอดอักเสบอย่างรุนแรง ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกขณะนี้ การรักษาผู้ป่วยยังต้องพึ่งพาการให้ยารักษาตามอาการของผู้ป่วย และการผลิตวัคซีนยังอยู่ในกระบวนการของพัฒนาและวิจัยอย่างเร่งด่วน แต่ยังมีวิธีการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่สามารถทำได้ทันทีอีกวิธีหนึ่ง คือ การนำพลาสมาจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายแล้ว นำไปใช้รักษาผู้ป่วยอาการรุนแรงได้ ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ซึ่งทำหน้าที่ในการรับบริจาคพลาสมาเพื่อรักษาผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ อยู่แล้ว จึงขอรับบริจาคพลาสมาจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายดีแล้ว เพื่อนำไปช่วยรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ต่อไป โดยผู้ประสงค์จะบริจาคพลาสมา ต้องเป็นผู้ป่วยที่หายดีไม่มีอาการ ออกจากโรงพยาบาลและกักตัวที่บ้านครบ 14 วันแล้ว จึงจะสามารถมาบริจาคพลาสมาได้ หากมีผู้ที่บริจาคพลาสมาพิเศษนี้จำนวนเพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้ผู้ป่วยในประเทศได้มีโอกาสการรักษาและรอดชีวิตจากโรค COVID-19 เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ…

การบริจาคโลหิตลดลง ส่งผลต่อผู้ป่วยโรคเลือด

การบริจาคโลหิตลดลง 50 % ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคเลือด

การบริจาคโลหิตลดลง 50% ส่งผลต่อผู้ป่วยโรคเลือดกว่า 1 หมื่นราย ที่ต้องรับเลือดในการรักษา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ไม่สามารถหยุดการรับบริจาคโลหิตได้ เพราะยังมีผู้ป่วยต้องใช้โลหิตเป็นประจำ คือ ผู้ป่วยเด็กโรคเลือดกว่า 1 หมื่นราย ซึ่งไม่มียาชนิดใดรักษาได้นอกจากการรับโลหิตเท่านั้น ในภาวะวิกฤติ COVID-19 ส่งผลให้โลหิตในประเทศไทยเข้าขั้นขาดแคลน รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันการจัดหาโลหิตบริจาคในแต่ละวัน จะต้องจัดหาให้ได้ 2,500 ยูนิต แต่ขณะนี้มีจำนวนลดลงกว่า 50% ไม่เพียงพอจ่ายให้กับผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคเลือดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้รับยีนธาลัสซีเมียจากพ่อและแม่ทำให้การสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ส่วนใหญ่มีอาการซีดตั้งแต่อายุขวบปีแรก ในรายที่เป็นชนิดรุนแรง ต้องได้รับการรักษาโดยการรับโลหิตเป็นประจำสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง หากไม่ได้รับโลหิต ผู้ป่วยจะมีภาวะซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตจะลดลง       ศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเลือด โรคมะเร็ง และชีวาภิบาล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2562 มีผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ต้องได้รับโลหิตเป็นประจำ จำนวน…

วอนบริจาคเลือด

กาชาดวางมาตรการเข้ม หน่วยรับบริจาคโลหิตทั่วประเทศปลอด COVID-19

กาชาดประกาศสร้างความเชื่อมั่นวางมาตรการเข้ม ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และหน่วยรับบริจาคทุกภาคบริการโลหิตทั่วประเทศเป็นสถานที่สะอาดปลอด COVID-19 วิกฤติ COVID-19 ส่งผลกระทบบริจาคโลหิตน้อย ไม่เพียงพอ วอนคนไทย ต้องช่วยกัน   ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วอนคนไทยต้องช่วยกันบริจาคโลหิตอย่างเร่งด่วนเพื่อช่วยผู้ป่วยทั่วประเทศ ชี้สถานการณ์การระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบผู้บริจาคโลหิตลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ได้รับโลหิตไม่ถึงวันละ 1,000 ยูนิต อยู่ในภาวะโลหิตสำรองไม่เพียงพอ พร้อมประกาศเป็นแกนกลางสร้างมาตรการเข้มเป็นสถานที่สะอาดปลอด COVID-19 สร้างความมั่นใจความปลอดภัยทั้งผู้บริจาคโลหิต และการส่งต่อโลหิตที่ปลอดภัยไปยังผู้ป่วยทั่วประเทศ    รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มส่งผลกระทบกับการบริจาคโลหิตภายในศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิต จากเป้าหมายที่ต้องได้รับโลหิตวันละ 2,000-2,500 ยูนิต ได้รับโลหิตลดลงเฉลี่ยวันละ 1,400 ยูนิต ต่อเนื่อง 3 วัน อีกทั้งหลายหน่วยงานที่ได้นัดหมายล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมบริจาคโลหิตแจ้งยกเลิกจำนวนมาก เนื่องจากมีการเฝ้าระวังการเข้าพื้นที่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดทำให้จำนวนการบริจาคโลหิตลดลงต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ไม่ถึงวันละ 1,000 ยูนิต อยู่ในภาวะโลหิตสำรองไม่เพียงพอจ่ายให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศแล้ว หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้โลหิตในการรักษาอย่างยิ่ง    …

รวมพลหมู่โลหิตพิเศษ

31 ปี…ด้วยรักจากใจ ครอบครัวหมู่โลหิตพิเศษ Rh-

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.30 น. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เป็นประธานเปิดงาน “รวมพล (ครอบครัว) หมู่โลหิตพิเศษ ประจำปี 2563” ตอน 31 ปี…ด้วยรักจากใจ โดยมี นายแพทย์พนิต จันทรภักดี ประธานชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ ร่วมด้วย ณ ห้องประชุม 1210 โซน B ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โอกาสนี้ ได้มีการมอบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้บริจาคโลหิต และส่วนประกอบโลหิต ที่บริจาคโลหิต 3 ครั้งขึ้นไป ต่อปี และต่อเนื่องเป็นเวลา 23 ปี มากที่สุด (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2540 – 31 มกราคม 2563) แก่…

โครงการ plus 1

Plus 1 เพิ่มจำนวนครั้ง เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต

วันที่ 24 มกราคม 2563 เวลา 10.00 น. นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานแถลงข่าวการจัดโครงการ “Plus 1 เพิ่มจำนวนครั้ง เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต” (Plus One Blood Donation, More Blood More Lives) เป็นโครงการหลักประจำปี 2563 เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นของโลหิตด้วยการเพิ่มจำนวนครั้งการบริจาคโลหิต ร่วมด้วย รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงประสบศรี อึ้งถาวร ประธานคณะกรรมการจัดหาและส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งสภากาชาดไทย และศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย พร้อมด้วยศิลปิน ดารา ร่วมรณรงค์เชิญชวนบริจาคโลหิตในโครงการ ณ ห้องจุมภฏ ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ   นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย กล่าวว่า การบริการโลหิต เป็นภารกิจประการหนึ่งที่สภากาชาดไทย ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้ทำหน้าที่จัดหาโลหิตจากผู้บริจาคที่มีคุณภาพปลอดภัยและเพียงพอสำหรับผู้ป่วยทั่วประเทศ…

เดินการกุศลเพื่อสุขภาพ ครั้งที่ 19

รวมพลังผู้นำการจัดหาโลหิต เดินการกุศลเพื่อสุขภาพ ครั้งที่ 19

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ร่วมกับ คณะกรรมการจัดหาและส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งสภากาชาดไทย จัดงาน “เดินการกุศลเพื่อสุขภาพ ครั้งที่ 19” โดยมีนายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานเปิดงาน ในวันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2563 เวลา 06.00 น. ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์  การจัดงานเดินการกุศลเพื่อสุขภาพ ครั้งที่ 19 เริ่มปล่อยขบวนจากศูนย์บริการโลหิตฯ ถนนอังรีดูนังต์ เข้าสู่ถนนพระรามที่ 1 เลี้ยวซ้ายสี่แยกมาบุญครอง เข้าสู่ถนนพญาไท มุ่งตรงไปสี่แยกจามจุรีสแควร์ เลี้ยวซ้ายผ่านหน้าสถานเสาวภา และกลับมายังศูนย์บริการโลหิตฯ รวมระยะทาง 4.5 กิโลเมตร โดยมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ชมรมต่างๆ และประชาชนทั่วไป กว่า 1000 คน ภายในงานพบกับเหล่า Super Hero ที่มาร่วมสร้างสีสันและความประทับใจแก่ผู้ร่วมงาน นอกจากนี้ร่วมลุ้นรางวัลจากการจับหางบัตรเดินการกุศลฯ อาทิ สร้อยคอทองคำ, โทรศัพท์ Samsung A80, นาฬิกา สมาทวอช,…

ทรงเปิดอาคารภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น

ทรงเปิดอาคารภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น

วันที่ 2 ธันวาคม 2562 เวลา 18.15 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมีนายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เฝ้าฯ รับเสด็จ ณ เลขที่ 244 หมู่ 3 ถนนมิตรภาพ ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น  เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  สร้างขึ้นบนที่ดินของแขวงการทางจังหวัดขอนแก่นที่ 1 และสำนักงานธนารักษ์ ในการจัดสรรที่ดิน โดยได้อนุญาตให้สภากาชาดไทย เช่าที่ราชพัสดุแปลงหมายเลข ขก.295 บางส่วน เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 82.85…