ระดมความคิดเพื่อยกระดับสู่ความเป็นผู้นำด้านการปลูกถ่ายอวัยวะในเอเชีย

นับเป็นเวลากว่า 24 ปี ที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรับแจ้งผู้บริจาคอวัยวะ จัดสรรอวัยวะ รวมทั้งประสานงานกับโรงพยาบาลทั่วประเทศเมื่อมีผู้เสียชีวิตสมองตายที่ญาติมีความประสงค์จะบริจาคอวัยวะกับโรงพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความเป็นธรรม เสมอภาค ไม่เลือกชั้น วรรณะ เชื้อชาติ ศาสนา และไม่มีการซื้อขายอวัยวะ นายแพทย์วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า  “กระบวนการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ มีขั้นตอนการประสานงานทั้งในส่วนของโรงพยาบาลที่มีผู้บริจาคอวัยวะโรงพยาบาลที่ปลูกถ่ายอวัยวะ  ทีมแพทย์ผ่าตัด การจัดหายานพาหนะที่จำเป็นสำหรับทีมแพทย์จากโรงพยาบาลสมาชิกในการเดินทางไปทำการผ่าตัดยังโรงพยาบาลที่มีผู้บริจาคอวัยวะ และการจัดส่งอวัยวะที่ได้รับบริจาคไปยังโรงพยาบาลที่ปลูกถ่ายอวัยวะให้อวัยวะนั้นๆ มีคุณภาพดี ประสิทธิภาพดี และปลอดภัย โดยศูนย์รับบริจาคอวัยวะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำ รวมถึงประสานงานในทุกขั้นตอนเพื่อให้อวัยวะที่ได้รับจากผู้บริจาคนำไปใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างทันท่วงทีและเกิดประโยชน์อันสูงสุด”  ทั้งนี้กระบวนการรับบริจาคอวัยวะและปลูกถ่ายอวัยวะเป็นงานที่มีความท้าทายจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วนโดยเฉพาะโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วประเทศ โดยศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทยได้ดำเนินงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ซึ่งนอกจากดำเนินงานด้านการรับบริจาคอวัยวะจากผู้เสียชีวิตสมองตายแล้วยังจัดกิจกรรมวิชาการและการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อพัฒนาศักยภาพทีมสุขภาพในเขตบริการให้สามารถดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้มีผู้บริจาคอวัยวะเพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นมา การดำเนินงานที่ผ่านมา ยังพบว่ามีอุปสรรคบางประการที่สามารถแก้ไขและพัฒนากระบวนการบริจาคอวัยวะต่อไปได้ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย จึงจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมก้าวสู่ยุคใหม่ ของการบริจาคอวัยวะ” เมื่อวันที่ 8…

เรื่องเล่า…จากศูนย์ดวงตา ตอน “นำพาชีวิตผู้ป่วยจากโลกมืด ให้กลับมาสดใสอีกครั้ง”

ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2508มีภารกิจหลักในการรับบริจาคดวงตาจากผู้มีกุศลจิต การจัดเก็บดวงตาจากผู้มีกุศลจิตเมื่อถึงแก่กรรมการนำดวงตามาวิเคราะห์ และมอบให้กับจักษุแพทย์ทั่วประเทศเพื่อนำไปใช้ในการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคกระจกตาพิการซึ่งจะมอบให้ตามลำดับคิวการจอง หลายคนคิดว่า คนตาบอดทุกชนิดสามารถเปลี่ยนดวงตาแล้วกลับมามองเห็นได้แต่ในความเป็นจริงแล้ว “ดวงตา” มีลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายกับลูกบอล ส่วนที่เปลี่ยนได้เรียกว่า“กระจกตา” มีลักษณะโค้งนูนใส อยู่ด้านหน้าตรงกลางของดวงตา ซึ่งการผ่าตัดนี้จะได้ผลดีก็ต่อเมื่อส่วนประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการมองเห็นของดวงตาผู้ป่วยยังดีอยู่ ดังนั้นคนตาบอดที่จะมารับการเปลี่ยนกระจกตาจะต้องมีสาเหตุจากกระจกตาเท่านั้น สถิติตั้งแต่ก่อตั้งศูนย์ดวงตาจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2561 พบว่ามีผู้แสดงความจำนงบริจาคดวงตา 1,217,213 ราย ผู้ป่วยกระจกตาพิการได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา 13,515 ราย และมีผู้ป่วยกระจกตาพิการที่รอดวงตาบริจาคเป็นจำนวนมากถึง 12,078 ราย ซึ่งต้องใช้เวลาในการรอคอยนานอย่างน้อย3-5 ปี เห็นได้ว่าการจัดเก็บเพื่อใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตานั้น ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรอรับดวงตาบริจาคโดยเฉพาะการเปลี่ยนกระจกตาในผู้ป่วยที่ตาบอดทั้ง 2 ข้างให้กลับมามองเห็นได้อีกครั้งหลังจากเฝ้ารอคอยมานานแสนนาน เมื่อมีผู้เสียชีวิตในโรงพยาบาลที่มีผู้ประสานงานในการเจรจากับญาติ และญาติมีความยินยอมในการบริจาคดวงตา ก็จะสามารถจัดเก็บดวงตามาได้ ซึ่งถือว่าญาติได้เป็นสะพานในการสร้างบุญครั้งสุดท้ายให้กับผู้เสียชีวิต ภายหลังเสียชีวิตดวงตาจะเริ่มเสื่อมสภาพและเน่าเปื่อย ดังนั้นเพื่อให้ดวงตาที่มีสภาพดีที่สุด จึงต้องจัดเก็บดวงตาให้เรียบร้อยภายใน 6-8 ชั่วโมง ญาติของผู้แสดงความจำนงบริจาคดวงตา ควรโทรแจ้งศูนย์ดวงตาทันที หลังจากผู้บริจาคเสียชีวิต เพื่อให้ศูนย์ดวงตาได้จัดเก็บดวงตาโดยเร็วที่สุด กรณีที่ผู้เสียชีวิตเป็นโรคต้องห้ามจะไม่สามารถเป็นผู้บริจาคดวงตาได้ ได้แก่ โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซี โรคซิฟิลิส โรคติดเชื้อในกระแสโลหิต โรคติดเชื้อทางสมองบางชนิด โรคมะเร็งบางชนิด หรือโรคติดเชื้ออื่น…