เคล็ด(ไม่)ลับ ทักษะสร้างมิตรภาพ

ในปัจจุบัน เราจะต้องอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย ซึ่งมีทั้งเพื่อน คนรู้จักคนที่เราต้องทำงานด้วย  หรือแม้แต่คนในครอบครัว ทุกคนที่อยู่รอบข้างของเราล้วนมีความแตกต่างกันทั้งในด้านการคิดและการกระทำ ซึ่งความแตกต่างนี่เองที่ทำให้คนเรามีความขัดแย้งกันแต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกบุคลิกภาพและการกระทำหรื่อสิ่งที่อยู่ภายใน เช่น ความคิด ทัศนคติ อารมณ์ ความรู้สึก ความชอบไม่ชอบ การตัดสินใจ ถ้าหากเราเข้าใจและยอมรับในความแตกต่างเหล่านี้ เราก็จะสามารถปรับตัวเข้ากับคนรอบข้างได้อย่างมีความสุข เทคนิคสร้างมิตรภาพ เปิดโอกาสให้ตัวเองได้พบปะผู้คนที่หลากหลาย สังคมที่หลากหลาย เพื่อเรียนรู้ เข้าถึง  เข้าใจในความแตกต่าง และเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมที่แตกต่างกันไป จะเห็นว่าคนที่มีจิตอาสาไปช่วยเหลือในสถานที่ต่าง ๆ หรือคนที่เดินทางไปในสถานที่หลากหลายได้เห็นความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ความคิดที่แตกต่างออกไป จะเป็นคนที่เปิดกว้างยอมรับและปรับตัวได้ง่าย การรับฟังและการอ่านเพื่อเปิดมุมมองให้กว้างขวาง ศึกษาเพื่อเรียนรู้สิ่งที่เราไม่ชอบในหลาย ๆ แง่มุมอคติเป็นสิ่งที่อันตรายมากที่สุด เวลาที่ไม่ชอบอะไร คนเรามักจะตั้งแง่ว่าสิ่งนั้นไม่ดี และน้อยคนที่จะพยายามเปิดใจให้กับมัน เช่น เดียวกับความคิดที่แตกต่างจากความคิดของเราสิ่งที่ควรทำคือลองเปิดใจรับฟัง ลองศึกษาในอีกแง่มุมให้มากขึ้น เราจะเห็นอีกมุมหนึ่งที่เราไม่เคยได้เห็นมาก่อน เราอาจจะเห็นว่าจริง ๆ แล้ว สิ่งที่เราคิดมาตลอดว่ามันไม่ดีมันก็มีมุมดี ๆ คบคนที่แตกต่างและเรียนรู้จากความแตกต่าง เริ่มจากการพูดคุยในสิ่งที่สนใจตรงกัน ใช้เวลาเพื่อสร้างมิตรภาพ จากนั้นเปิดใจรับฟังมุมมองความคิดที่แตกต่าง เราอาจได้เห็นโลกอีกใบที่เราไม่เคยเข้าถึงมาก่อน  ก็เป็นได้ และมิตรภาพจะเป็นปราการป้องกันอคติและความขัดแย้ง ศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด…

เทคนิคฟังเชิงรุก (Active Listening) ฟังอย่างไรให้ “เข้าใจ” ไม่ใช่แค่ “ได้ยิน”

เมื่อกล่าวถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร บ่อยครั้งเราจะคิดถึงการพัฒนาทักษะการส่งสาร (Sending skill) หรือการปรับวิธีการพูด การส่งข้อความ ให้น่าฟัง น่าเชื่อถือ และน่าดึงดูดใจ ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ส่งสาร ตัวสาร และช่องทางการสื่อสาร ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญที่จะส่งผลให้สื่อสารมีคุณภาพ  เพิ่มโอกาสที่การสื่อสารจะประสบความสำเร็จได้สูง อย่างไรก็ดี การสื่อสารนั้นมีด้วยกันสองฝ่าย คือฝ่ายผู้ส่งสารและผู้รับสาร และหากผู้รับสารไม่รับและไม่รู้ด้วย ก็มีโอกาสที่การสื่อสารนั้นจะล้มเหลวได้ การฟังในการสนทนากันมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ ผ่านไปครั้งเดียว แต่สามารถส่งอิทธิพลต่อความรู้สึกระหว่างกันได้มากเพราะมักรับรู้ถึงปฏิกิริยาของคู่สนทนาได้เดี๋ยวนั้น จึงมีความจำเป็นที่เราควรจะพัฒนาทักษะการฟัง หากประสงค์ให้การสื่อสารมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน และเกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันด้วย ก่อนที่จะเสนอว่าการฟังที่ดีเป็นอย่างไร เรามาตรวจสอบระดับการฟังที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันเสียก่อนโดยสามารถแบ่งระดับการฟังได้ 5 ระดับ ได้แก่ 1.ไม่สนใจ — ทำเหมือนผู้พูดกำลังพูดกับกำแพง 2.แกล้งฟัง — พยักหน้า ไม่ได้ตั้งใจฟังจริง 3.เลือกฟัง —  เลือกฟังเฉพาะสิ่งที่อยากฟัง 4.ตั้งใจฟัง —  ฟังด้วยหู อยู่กับปัจจุบัน ได้ข้อมูลครบถ้วนตามที่ได้ฟัง 5.ฟังด้วยใจ — ฟังด้วยหู ด้วยตา และด้วยใจ เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกผู้พูด คิดตามอย่างมีสติ ไม่ตัดสิน…