ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยร่วมหารือประเด็นมนุษยธรรมในเมียนมาร์

นาง กีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย  เข้าพบ นาย เตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมด้วย ดร.อภิชาติ ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 เพื่อหารือเรื่องสถานการณ์ในประเทศเมียนมาร์และการให้ความช่วยเหลือผู้อพยพรวมถึงผู้พลัดถิ่นที่เข้ามาในประเทศไทย   ทั้งนี้ ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศเมียนมาร์ในปี 2565 สภากาชาดไทยทำงานร่วมกับหน่วยงานราชการในท้องถิ่นและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ในการให้ความช่วยเหลือแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค อาหาร ยารักษาโรค และสิ่งของบรรเทาทุกข์ มูลค่ากว่า 5.7 ล้านบาท และวัคซีนโควิด 19 จำนวนกว่า 16,000 โดส ให้กับผู้อพยพ ตามแนวชายแดนจังหวัดตากและแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ สภากาชาดไทยยังให้ความช่วยเหลือด้านวัคซีนโควิด 19 จำนวนกว่า 65,000 โดส และชุดบรรเทาทุกข์ กว่า 42,000 ชุด ให้กับแรงงานข้ามชาติและบุคคลไร้เอกสารแสดงตนในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

เอกอัครราชทูตแห่งสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทยเยี่ยมคารวะเลขาธิการสภากาชาดไทย

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 นาย เยฟกินี โทมิคิน เอกอัครราชทูตแห่งสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะนายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมด้วย ดร.อภิชาติ ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นความร่วมมือในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีไซโคลทรอนที่ใช้อุตสาหกรรมยาและการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งนี้ เลขาธิการสภากาชาดไทยกล่าวขอบคุณสหพันธรัฐรัสเซียที่เคยแบ่งปันเทคโนโลยีรังสีเอ็กซ์เรย์ที่ใช้ในการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยในอดีต

ผู้แทนสภากาชาดไทยร่วมการประชุมผู้นำสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 19 ที่บรูไนดารุสซาลาม

นายเตช บุนนาค  เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมด้วยคณะผู้แทนสภากาชาดไทยและอาสายุวกาชาดร่วมการประชุมผู้นำสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 19 ซึ่งมีสภาเสี้ยววงเดือนแดงบรูไนเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ระหว่างวันที่ 6-7 ตุลาคม 2565 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านมนุษยธรรมของขบวนการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงในภูมิภาคให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ในการประชุมดังกล่าว เลขาธิการสภากาชาดไทยได้นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานจากแถลงการณ์กรุงเทพ (Bangkok Statements) ซึ่งครอบคลุมประเด็นการตอบโต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรควิด 19 การพัฒนาการระดมทุนเพื่อความยั่งยืน และการขับเคลื่อนอาสาสมัครเยาวชน นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมยังเห็นพ้องกันในเรื่องการพัฒนาเครือข่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเป็นศูนย์อ้างอิงด้านการปฐมพยาบาล และการเพิ่มความร่วมมือกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ตามบันทึกความเข้าใจซึ่งลงนามกับสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2565 ในปีนี้ ยังถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของคณะกรรมการบริหารของ IFRC ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีจำนวนสมาชิกที่เป็นสตรีใกล้เคียงกับจำนวนบุรุษ โดย เจ้าหญิง ตันกู ปุเตรี อินตัน ซาฟินาซ ประธานสภาเสี้ยววงเดือนแดงมาเลเซีย ได้รับการเลือกตั้งให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้แทนสภากาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคในคณะกรรมการบริหารซึ่งมีจำนวน 5 ท่าน   นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการประชุมผู้แทนเยาวชนจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เป็นเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำของเยาวชนในงานด้านมนุษยธรรม ซึ่ง นางสาวกัญจรีย์ ศุภวิทยา เป็นผู้แทนเยาวชนจากสภากาชาดไทยในการประชุมดังกล่าว

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อย ๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูกซึ่งมีผลให้กระดูกบางและเปราะ ไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดดันได้ตามปกติ ทำให้เกิดความเสี่ยงกระดูกหักได้ง่าย ภาวะที่เนื้อกระดูกลดลงประมาณร้อยละ 30 เป็นภาวะที่เรียกว่า “โรคกระดูกพรุน” มักพบในวัยผู้สูงอายุ จากสถิติพบว่าผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนร้อยละ 30 มีภาวะโรคกระดูกพรุน พบโรคกระดูกพรุนร้อยละ 45 ในผู้หญิงอายุมากกว่า 60 ปี และร้อยละ 35 ของผู้ชายจะเป็นโรคนี้เมื่อายุ 75 ปี กระดูกประกอบด้วยโปรตีนที่เป็นเส้นใยคอลลาเจนและมีแคลเซียมมาตกผลึกจับตัวกับคอลลาเจนกลายเป็นของแข็งที่สามารถรับน้ำหนัก รับแรงกดกระแทก และมีความยืดหยุ่นในตัวเอง การสร้างกระดูกที่ดีจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมและสารอาหารที่เหมาะสม โดยแคลเซียมทำให้กระดูกแข็ง ส่วนโปรตีนในกระดูกโดยเฉพาะคอลลาเจนและโปรตีนอื่น ๆ จะให้กระดูกมีความเหนียวและยืดหยุ่น ในแต่ละวัยร่างกายสามารถสะสมปริมาณแคลเซียมในมวลกระดูกในระดับที่แตกต่างกัน และมวลกระดูกจะถึงจุดสูงสุดในช่วงอายุ 25-30 ปี หลังจากนั้นมวลกระดูกจะค่อย ๆ ลดลงประมาณร้อยละ 0.5-1 ต่อปี ในช่วงหมดประจำเดือนมวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว อาจลดลงเร็วถึงร้อยละ 3-5 ต่อปี ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เพศหญิงจึงมักมีโอกาสเกิดกระดูกพรุนมากกว่าเพศชาย ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การได้รับสารอาหารโดยเฉพาะแคลเซียมไม่เพียงพอ กรรมพันธุ์ การหมดประจำเดือน การสูบบุหรี่…