เทียนส่องใจ WORLD AIDS DAY TikTok Challenge

  ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ขอเชิญชวนนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ส่งผลงานวิดีโอคลิปสั้น TikTok เนื่องในวันเอดส์โลก 2565 ร่วมรณรงค์ในหัวข้อ “การสนับสนุนความเสมอภาคและเท่าเทียมของผู้ติดเชื้อ HIV ในการอยู่ร่วมกันในสังคม” ในกิจกรรม “เทียนส่องใจ WORLD AIDS DAY TikTok Challenge”   เงื่อนไขและขั้นตอนการร่วมกิจกรรม โพสต์คลิปวิดีโอบนแอดเคาท์ TikTok ของคุณ ในสไตล์ของตัวคุณเอง โดยในคลิปจะต้องมีเนื้อหารณรงค์การสนับสนุนความเสมอภาคและเท่าเทียมของผู้ติดเชื้อ HIV ในการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยไม่จำกัดเทคนิคการผลิต หรือตัดต่อ และรูปแบบการนำเสนอ ในคำบรรยาย (Caption) ของคลิปจะต้องใส่ hashtag ดังนี้ #Equalize #ทำให้เท่าเทียม #LetsStopHIVTogether #ไม่ติดใหม่ไม่ตีตราหยุดปัญหาเอดส์ #ThaiRedCrossSociety ลงทะเบียนด้วยการส่งรายละเอียดดังนี้ · ถ่ายภาพหน้าจอ (Capture) คลิปวิดีโอ TikTok ที่ร่วมกิจกรรม ส่ง Link URL ด้วยการกด Share แล้วเลือก copy…

ผลกระทบของพฤติกรรมต่อ “สุขภาพเพศ”

ผลกระทบของพฤติกรรมต่อ “สุขภาพเพศ” ปัจจุบันเรื่องเพศได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น การทำความรู้จักกับเรื่องเพศนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ สุขภาพเพศ (Sexual Health) เพื่อที่ทุกท่านจะได้ดูแลสุขภาพเพศของตนเองได้ดีขึ้น โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำนิยามของ “สุขภาพเพศ” คือ สุขภาวะทางกาย อารมณ์ จิตใจและสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศ ซึ่งมิได้หมายถึงเพียงการไม่มีโรคหรือไม่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศเท่านั้น การมีสุขภาพเพศที่ดีจะเกิดขึ้นเมื่อสิทธิทางเพศของมนุษย์ทุกคนได้รับการเคารพ การคุ้มครองและเติมเต็ม แต่ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าท่านมีสุขภาพเพศที่ดีหรือไม่ การวัดสุขภาพเพศนั้นทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานในการชั่งตวงวัด ไม่เหมือนการวัดความสามารถในการเจริญพันธุ์หรือวัดระดับฮอร์โมนในร่างกายซึ่งทำได้ง่ายกว่า อีกทั้งคำว่า“สุขภาพเพศ” ยังมีความแตกต่างไปตามบริบทของแต่ละสังคม ดังนั้นในแต่ละสังคม จึงต้องการเครื่องมือในการวัดที่จำเพาะกับแต่ละวัฒนธรรม นอกจากนี้แล้วปัจจัยทางพฤติกรรมก็มีผลต่อสุขภาพเพศด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ความอ้วน (Obesity) ความอ้วนมีความสัมพันธ์ชัดเจนกับการลดลงของความสามารถในการมีบุตรของสตรี สตรีที่มีน้ำหนักตัวมากจะเพิ่มความเสี่ยงของการมีประจำเดือนไม่ปกติ การแท้งบุตร และความพึงพอใจขณะมีเพศสัมพันธ์ลดลง จากการศึกษาพบว่าสตรีที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) >25kg/m2 หรือมีน้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์มากกว่า 80 กิโลกรัม ใช้เวลามากกว่าคนปกติ 2 เท่า เพื่อที่จะตั้งครรภ์ได้สำเร็จ ผู้ชายอ้วนก็มีปัญหาสุขภาพเพศด้วย กล่าวคือจะไม่พบอสุจิหรือมีอสุจิน้อยกว่าคนทั่วไป มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนน้อยกว่าคนทั่วไป ความอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงของ Metabolic Syndrome ซึ่งส่งผลต่อการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มความเสี่ยงการมีไขมันในโลหิตสูง อันจะส่งผลเสียต่อรูปร่างของอสุจิรวมถึงทำให้อุณหภูมิของถุงอัณฑะสูงเกินกว่าจุดที่เหมาะสมของการสร้างอสุจิ…