เครื่องช่วยหายใจอัตราไหลสูง นวัตกรรมฝีมือคนไทย

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแถลงข่าวในหัวข้อ เครื่องช่วยหายใจอัตราไหลสูง นวัตกรรมฝีมือคนไทย ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยโครงการดังกล่าวได้ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) หรือ และบริษัท อินทรอนิคส์ จำกัด ร่วมพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ เครื่องช่วยหายใจอัตราไหลสูง Chula HFNC (Chula High Flow Nasal Cannula ) เพื่อใช้รักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยจากการติดเชื้อจากโควิด– 19 และผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินหายใจ นับว่าเป็นเครื่องช่วยหายใจอัตราไหลสูงเครื่องแรกที่ผลิตได้โดยคนไทย สามารถลดการนำเข้าเครื่องมือทางการแพทย์ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา จากสถิติพบว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 จะมีอาการปอดอักเสบรุนแรงมากกว่าร้อยละ 15 ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องบำบัดโรคระบบทางเดินหายใจอัตราการไหลสูง โดยพบว่าสามารถลดอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจและอัตราการเสียชีวิตได้ หลังจากการทดสอบ เครื่อง Chula HFNC  ในอาสาสมัครปกติทั้งหมด 5 คน รวมถึงผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการปอดอักเสบที่รักษาตัวในห้อง ICU ทั้งหมด 10…

สภากาชาดไทย มอบเครื่องบำบัดโรคระบบทางเดินหายใจอัตราการไหลสูง ให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลน

สภากาชาดไทย มอบเครื่องบำบัดโรคระบบทางเดินหายใจอัตราการไหลสูง ให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลน

สภากาชาดไทย มอบเครื่องบำบัดโรคระบบทางเดินหายใจอัตราการไหลสูง ให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลน       วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564  รศ.ดร.นพ.พิชิต สุวรรณประกร ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการระบบศึกษาและวิจัยสภากาชาดไทย พร้อมด้วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.กาญจน์พิมล ฤทธิเดช รองผู้อำนวยการสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ฝ่ายบริหารและเทคนิค เดินทางไปมอบเครื่องบำบัดโรคระบบทางเดินหายใจอัตราการไหลสูง Chula High Flow Nasal Cannula (Chula HFNC) ให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 2 เครื่อง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ ในการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 โดยมี นายแพทย์ จรัล ปันกองงาม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า รับมอบ จากนั้น เดินทางไปส่งมอบ อีกจำนวน 5 เครื่อง ให้กับโรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยมี แพทย์หญิงรุจิรา เข็มเพ็ชร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านโป่ง รับมอบ เพื่อใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีปัญหาระบบหายใจที่มีจำนวนมากขึ้น     …

เครื่องอัลตราซาวด์รพระราชทาน

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รับพระราชทานเครื่องอัลตราซาวด์ เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 อาการวิกฤติ

นายแพทย์สุุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รับมอบเครื่องอัลตราซาวด์พระราชทาน ตามที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์นายกกิตติมศักดิ์ และองค์ประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานงบประมาณจาก “กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่างๆ )” ในการจัดซื้อ เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 อาการวิกฤติ โดยมีนางสาววิลาวรรณ วนดุรงค์วรรณ กรรมการและเหรัญญิกมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นผู้เชิญเครื่องอัลตราซาวด์พระราชทาน เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 ณ ศาลาทินทัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

เยี่ยมโรงพยาบาลสนามจุฬาฯ

ตรวจเยี่ยมความพร้อมโรงพยาบาลสนามจุฬาฯ

นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมด้วย นายเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร ศาตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศาสตราจารย์ ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามจุฬาฯ และคณะทำงานจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรวจเยี่ยมความพร้อมของโรงพยาบาลสนามจุฬา ฯ ที่จะเปิดให้บริการในวันที่ 22 เมษายน 2564 ณ อาคารจันทนยิ่งยง ภายในสนามกีฬาแห่งชาติ โรงพยาบาลสนามจุฬา ฯ เป็นโรงพยาบาลสนามด้านโรคระบาด ระดับที่ 1 มีเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 100 เตียง ได้มาตรฐานตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในด้านสถานที่ บุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะนำมาใช้กับผู้ป่วย ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคโควิด-19 ที่ไม่มีความรุนแรง มีการดูแลที่ไม่มีความซับซ้อน สามารถตรวจรักษาโดยแพทย์ในเบื้องต้นและพิจารณาส่งต่อไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่ศักยภาพสูงกว่าอย่างเหมาะสม โดยกลุ่มเป้าหมายจะเป็นนิสิต บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป ที่ติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่มีอาการหรืออาการน้อย และไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้

รักษาผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งที่มีปอดเป็นพังผืด ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์

จุฬาฯ รักษาผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งที่มีปอดเป็นพังผืด ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

วันที่ 8 เมษายน 2564 สาขาวิชาโรคข้อและรูมาติสซั่ม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับ สาขาวิชาโลหิตวิทยา, สาขาวิชาระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤติโรคระบบการหายใจ และสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าว การรักษาผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งที่มีปอดเป็นพังผืด ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์คุณธรรม ที่ได้พัฒนานวัตกรรมการบริการ รวมทั้งการรักษา จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด รวมทั้งเพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของศาสตร์ทางการแพทย์ในปัจจุบันและในอนาคต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากชาดไทย ได้มีตัวอย่างผลงานจากเทคโนโลยีทางการแพทย์เกี่ยวกับสเต็มเซลล์มากมาย เช่น การสร้างแผ่นกระจกตาจากสเต็มเซลล์โดยวิธีใหม่ รวมทั้งการสร้างสเต็มเซลล์พหุศักยภาพจากเซลล์เลือดผู้ป่วยโรคพันธุกรรมธาลัสซีเมีย และกลุ่มอาการ…

ก้าวใหม่ของการรักษามะเร็งเต้านม

ก้าวใหม่ของการรักษามะเร็งเต้านมด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

ปาฏิหาริย์ที่รอคอยของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาโดยใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด หลังรักษาพบเซลล์มะเร็งที่กระจายตัวเป็นศูนย์ ปัจจุบันการรักษามะเร็งเต้านมสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การผ่าตัดเต้านม การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด การรักษาด้วยการฉายรังสี การรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมน และการรักษาด้วยยาพุ่งเป้า ซึ่งเป็นการรักษาตามมาตรฐานทั่วโลก แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยบางรายหลังพบว่าผู้ป่วยกลับไปเป็นซ้ำ ศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถเพื่อมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เล็งเห็นวิธีการรักษาที่ดีอีกวิธีหนึ่งที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นั่นคือ การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy โดยได้จัดงานแถลงความสำเร็จ “ก้าวใหม่ของการรักษามะเร็งเต้านม” Immunotherapy: the final path towards the cure of breast cancer เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 เวลา 11.00 น. ณ ศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถเพื่อมะเร็งเต้านม ชั้น 9 ตึกว่องวานิช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รศ.นพ.กฤษณ์ จาฏามระ หัวหน้าศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถเพื่อมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยในงานแถลงความสำเร็จ ว่า “การใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด คือ…

มอบไม้เท้าเลเซอร์ให้ทอ.

สภากาชาดไทยส่งมอบไม้เท้าเลเซอร์พระราชทานให้แก่กองทัพอากาศ

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย พร้อมด้วย ศ.นพ.รื่นเริง ลีลานุกรม รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฝ่ายบริการ และศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน และกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นผู้แทนสภากาชาดไทยส่งมอบไม้เท้าเลเซอร์พระราชทาน ในโครงการ ไม้เท้าเลเซอร์ช่วยเดินสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนพันปีหลวง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  ให้แก่ พลอากาศเอกแอร์บูล สุทธิวรรณ ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย ณ ห้องรับรองพิเศษ 1 กองทัพอากาศไทย เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ ได้พัฒนาไม้เท้าเลเซอร์พระราชทานให้ มีน้ำหนักเบา ตั้งได้ มีความโค้งงอในส่วนปลายเพื่อรับกับสรีระของผู้ป่วยช่วยลดการสะดุดหรือหกล้ม รวมถึงชาร์จไฟได้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย กรมกิจกรรมผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ส่งมอบไม้เท้าเลเซอร์พระราชทานให้แก่ผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีอาการเดินติด ก้าวขาไม่ออกทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 จำนวนมากกว่า…

ความก้าวหน้าล่าสุดของการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19

ความก้าวหน้าล่าสุดของการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 และความพร้อมในการทดสอบในอาสาสมัคร

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าว “ความก้าวหน้าล่าสุดของการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และความพร้อมในการทดสอบในอาสาสมัคร”  โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ  ให้เกียรติร่วมแถลงข่าว ณ ห้องประชุม 1210 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โอกาสนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง นโยบายของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยวัคซีนโควิด-19…

ประกาศติดตามญาติของผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา (อาจารย์ใหญ่) เพื่อจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ

ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกาศติดตามหาญาติของผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา (อาจารย์ใหญ่) ดังรายนามต่อไปนี้ 1. นางสาวฉวีวรรณ แสวงกิจ 2. นายรักษา สังขิลิต 3. นายเขียว ฟักนาค 4. ร.ต.กฤติกร ผ่องอักษร 5. นายเจริญ หนูแหยม 6. นางสาวแสงจันทร์ จิตต์ปั้น ขอให้ญาติของผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาดังกล่าว นำบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านมาติดต่อที่ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ ชั้น 11 อาคารแพทยพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เนื่องจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จะจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา (เป็นกรณีพิเศษ) ประจำปี 2563 ในระหว่างวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2564 สอบถามโทร. 0 2256 4751 หรือ 0 2256 4737 ในวันจันทร์ – วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น.…

ปล่อยคาราวานทางการแพทย์

ปล่อยขบวนคาราวานอุปกรณ์การแพทย์ มอบให้โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เหรัญญิกสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนคาราวานพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ ร่วมกับ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย นางจันทร์ประภา วิชิตชลชัย รองผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา รศ.พญ.ภัณฑิลา หฤทัยวิจิตรโชค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ด้านจัดซื้อ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล บุคลากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้บริหารสภากาชาดไทย สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย  มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ และนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 9 เพื่อเดินทางมอบให้กับโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และส่งต่อช่วยเหลือโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ณ บริเวณด้านหน้าอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2564 ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ปล่อยขบวนคาราวานพัสดุ…