งานเทียนส่องใจ เนื่องในวันเอดส์โลก

เเถลงข่าว การจัดกิจกรรม “งานเทียนส่องใจ เนื่องในวันเอดส์โลก” ประจำปี 2564

สภากาชาดไทย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม“งานเทียนส่องใจ เนื่องในวันเอดส์โลก” ประจำปี 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงยุวรีย์ พิชิตโชค กล่าวว่า ทุกวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ทางสภากาชาดไทย ได้ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ภาคประชาสัมคมที่ทำงานด้านเอดส์ จัดงาน “เทียนส่องใจ”เนื่องในวันเอดส์โลก เพื่อที่จะกระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้เกิดความตระหนักถึงปัญหาเอดส์ และให้ความสำคัญที่จะต้องร่วมมือกันป้องกันแก้ไขปัญหา รวมถึงการไม่เลือกปฏิบัติ ลดการตีตรา และลดการรังเกียจกีดกันผู้ติดเชื้อ และในปีนี้ทาง UNAIDS หรือ โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ได้กำหนดแนวคิดไว้ว่า “ยุติความเหลื่อมล้ำ ยุติเอดส์” (End inequalities. End AIDS. End pandemics.) ซี่งหมายถึงการส่งเสริมให้คนในสังคมลดความเหลื่อมล้ำ และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ติดเชื้อ ไม่ว่าในเรื่องสิทธิ สถานะการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของผู้ติดเชื้อทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม รวมถึงลดการตีตราและเลือกปฏิบัติกับผู้ติดเชื้อ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเป้าหมายที่สามในการยุติปัญหาเอดส์ที่ในเรื่องการลดการรังเกียจ และไม่เลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจาก เอช ไอ วี และ เพศภาวะ สำหรับการจัดงานในปีนี้   ถึงแม้ว่าจะเป็นการจัดงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19   ทางคณะกรรมการฯ ก็ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับมาตรการการป้องกันอย่างรัดกุม…

บริจาคยาต้านไวรัส

ศูนย์วิจัยโรคเอดส์รับมอบยาต้านไวรัสจากบริษัท แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ จำกัด

วันที่ 11 มิถุนายน 2564 นางโชติรส อำนวยสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ จำกัด ผู้แทนจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาจาก บริษัท Mylan Laboratories Ltd., ประเทศอินเดีย มอบยาต้านไวรัส RICOVIR-EM (30’s) จำนวน 6,000 ขวด รวมมูลค่า 5,760,000 บาท เพื่อใช้ในการดำเนินงานโครงการ “เพร็พ” พระองค์โสมฯ” (Princess PrEP) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงยุวรีย์ พิชิตโชค รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย

คลีนิคนิรนามเปิดทำการตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป

คลีนิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เปิดทำการตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป  ดังนี้ คลินิกเปิดให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-15.00 น. คลินิกนอกเวลา เปิดให้บริการวันพุธและวันศุกร์ เวลา 16.00-19.00 น. วันเสาร์ เวลา 08.30-11.30 น. ปิดทำการ วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันที่รัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดพิเศษ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดต่อคลีนิคนิรนาม ตามหัวข้อดังต่อไปนี้ – สอบถามทั่วไป โทร. 0 2251 6711-5 ต่อ 102 หรือ 08 3612 2623 – นัดตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และคลินิกนอกเวลา โทร. 06 2726 9900 – รับผลออนไลน์ โทร. 06 2741 1116…

แถลงข่าววันเอดส์โลก

แถลงข่าวการจัดกิจกรรม “งานเทียนส่องใจ เนื่องในวันเอดส์โลก”

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เวลา 14.00 น. ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย จัดงานแถลงข่าวการจัดกิจกรรม งานเทียนส่องใจเนื่องในวันเอดส์โลก ประจำปี 2563 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงยุวรีย์ พิชิตโชค รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย นายแพทย์ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นางสายสม วงศาสุลักษณ์ ประธานกรรมการฝ่ายหารายได้ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ นางสาวนภสร วีระยุทธวิไล (ปุยเมฆ) และนายณัฐวรรธ์ ฟิงค์เลอร์ (แพทริค) ศิลปินดารา บริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ร่วมแถลงข่าว ณ  ห้องประชุม 7A ชั้น 7 ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงยุวรีย์ พิชิตโชค กล่าวว่า วันที่ 1 ธันวาคม ทางโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวันเอดส์โลก ซึ่งสภากาชาดไทยได้รับนโยบายนี้มาตั้งแต่ต้น ด้วยการจัดกิจกรรมในวันที่ 1…

บุคคลดีเด่นด้านเอดส์

เชิญชวนส่งผลงาน เพื่อคัดเลือกเป็นบุคคลหรือองค์กรดีเด่นด้านเอดส์

ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เชิญชวนบุคคล หน่วยงาน องค์กร และชมรม ร่วมส่งผลงานด้านเอดส์ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อคัดเลือกเป็นบุคคลหรือองค์กรดีเด่นด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1. บุคคลด้านการแพทย์และสาธารณสุข 2. บุคคลดีเด่นด้านสังคม 3. สื่อสร้างสรรค์ดีเด่น 4. สถานประกอบการดีเด่น 5. สถาบันการศึกษาดีเด่น 6. องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นดีเด่น 7. ครอบครัวดีเด่น และ 8. ชมรมฯ/กลุ่มผู้ติดเชื้อดีเด่น โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับโล่รางวัลในงานเทียนส่องใจ เนื่องในวันเอดส์โลก ประจำปี 2563 ผู้สนใจสามารถกรอกข้อมูลการเสนอชื่อได้ที่ หมดเขตส่งผลงานวันที่ 16 ตุลาคม 2563 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณสมชาติ ทาแกง โทร.0 2251 6711-5 ต่อ 119 หรือ 08 1399 6121

พิธีมอบประกาศนียบัตรหลักสูตร “การป้องกัน ส่งต่อ และดูแลด้านเอชไอวี” รุ่นที่ 1

  วันที่ 30 กรกฎาคม 2563 เวลา 11.00 น. นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่อาสาสมัครองค์กรภาคประชาสังคมที่ผ่านการบอรมและรับรองสมรรถนะ หลักสูตร “การป้องกัน ส่งต่อ และดูแลด้านเอชไอวี” รุ่นที่ 1 ภายใต้โครงการ USAID Community Partnership (ENGAGE) ณ โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร     โครงการ USAID Community Partnership หรือ ENGAGE เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ USAID ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และ 3 องค์กรชุมชน คือ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ และมูลนิธิเอ็มพลัส เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2559 มีภารกิจหลัก คือ ดำเนินการพัฒนาศักยภาพและรับรองสมรรถนะเจ้าหน้าที่ขององค์กรภาคประชาสังคมด้านการให้บริการเอชไอวีเพื่อให้สามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ และขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อให้เกิดระบบการสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมให้มีส่วนร่วมในการจัดบริการเอชไอวีอย่างเป็นระบบ ถูกต้อง…

เยี่ยมชมศูนย์วิจัยโรคเอดส์

ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมชมศูนย์วิจัยโรคเอดส์

วันที่ 10 มิถุนายน 2563  กีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมชมศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ให้การต้อนรับ

ทั่วโลกร่วมยินดี ผลการวิจัยยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ผลดี

ทั่วโลกร่วมยินดี ผลการวิจัยพบว่า ยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้ผลดีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง   ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวแสดงความยินดีว่า “เมื่อได้ยินข่าวที่ประกาศทั่วโลกเมื่อวานนี้ (18 พ.ค. 63) ว่า การทดสอบประสิทธิผลของยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ (PrEP) ที่ประเทศไทยได้ร่วมวิจัยกับอีกหลายประเทศทั่วโลก ได้ผลออกมาก่อนกำหนดถึง 2 ปี พบว่ายาฉีดที่ฉีด 2 เดือนครั้งนี้ ได้ผลในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่ายาเพร็พแบบเม็ดที่ต้องกินทุกวัน และมีความปลอดภัยเท่าๆ กัน ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง ผมต้องขอแสดงความยินดีกับคณะนักวิจัยไทยที่มาจากหลายสถาบันที่ทำงานกันอย่างเหน็ดเหนื่อยมาตลอดระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมาในการทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทย โดยเรามีอาสาสมัครชาวไทยที่ร่วมอยู่ในโครงการคิดเป็น 12% ของทั่วโลก และที่สำคัญคือ หน่วยพรีเวนชั่นของศูนย์วิจัยโรคเอดส์สามารถรับอาสาสมัครที่เป็นหญิงข้ามเพศได้มากถึง 1 ใน 5 ของอาสาสมัครที่เป็นหญิงข้ามเพศทั้งโครงการทั่วโลก ทำให้น่าจะมีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปได้ว่ายาฉีดนี้ก็ใช้ได้ผลดีกับหญิงข้ามเพศด้วย ไม่ต้องเสียเวลามาทดสอบอีกรอบหนึ่ง นอกจากนี้ ต้องขอขอบคุณและชื่นชมอาสาสมัครทุกคนทั้งที่เป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและหญิงข้ามเพศ ที่อาจหาญเข้าร่วมโครงการและอยู่กับโครงการมาอย่างตลอดรอดฝั่ง ทุกท่านได้ชื่อว่าทำบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ให้กับมนุษยชาติในการพิสูจน์ให้เห็นว่ายาฉีดคาโบทิกราเวียร์เป็นยาตัวที่สองที่สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ แม้ว่าเกือบ 40 ปีแล้วเรายังไม่มีวัคซีนเอชไอวีใช้ แต่อย่างน้อยๆ เราก็มียาที่สามารถกินหรือฉีดป้องกันเอชไอวีได้ ซึ่งได้ผลเกือบ 100% เป็นทางเลือกหลายๆ…

อาจารย์ประพันธ์รับหนังสือขอโทษ

ผอ.ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ฯ รับหนังสือขอโทษ หลังถูกกล่าวหากรณีพีทคนเลือดบวก

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย รับหนังสือขอโทษจาก นายแพทย์ชเนษฎ์ ศรีสุโข จากกรณีแสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กพาดพิงและกล่าวหาประเด็น “พีทคนเลือดบวก” ณ สำนักงานแพทยสภา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สืบเนื่องจากกรณีพีทคนเลือดบวกออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องการตรวจไม่เจอเชื้อเอชไอวี (Undetectable) เท่ากับการไม่แพร่เชื้อเอชไอวี (Untransmittable) หรือ U=U ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งกลายเป็นที่วิพากษณ์วิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวางนั้น นายแพทย์ชเนษฎ์ ศรีสุโข ได้ใช้เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นพาดพิงและกล่าวหา ผอ.ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ฯ โดยไม่ได้วิเคราะห์ข้อเท็จจริง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงาน จนนำไปสู่การร้องเรียนต่อแพทยสภา ทั้งนี้ นายแพทย์ชเนษฎ์ ศรีสุโข สำนึกผิด จึงได้ยื่นหนังสือขอโทษต่อ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย โดยหนังสือขอโทษมีข้อความดังนี้ “สืบเนื่องมาจากกรณีพีทคนเลือดบวกที่ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องการตรวจไม่เจอเชื้อเอชไอวี (Undectatable) เท่ากับการไม่แพร่เชื้อเอชไอวี (Untransmittable) หรือ U=U ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งกลายเป็นที่วิพากษณ์วิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง และข้าพเจ้าได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้บนเฟซบุ๊คภายใต้ชื่อ ชเนษฎ์ ศรีสุโข (Chanesd…

ข้อเท็จจริง : เรื่อง U = U

ข้อเท็จจริง : เรื่อง U = U

U = U คืออะไร U = U หรือ Undetectable = Untransmittable เป็นข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย 3 โครงการใหญ่ ซึ่งร่วมกันทำในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย เป็นการศึกษาที่วางแผนและดำเนินการอย่างรัดกุม มีการตรวจสอบจากหลายฝ่ายเพื่อให้ข้อมูลน่าเชื่อถือที่สุด ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่แล้วในวารสารการแพทย์ระดับชั้นนำ การศึกษาวิจัยดังกล่าว เป็นการติดตามพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของคู่ผลเลือดต่าง (ฝ่ายหนึ่งติดเชื้อเอชไอวี อีกฝ่ายไม่ติดเชื้อเอชไอวี) ใน 2 กรณี คือ คู่ชายกับชาย และคู่ชายกับหญิง โดยฝ่ายที่ติดเชื้อเอชไอวีทั้ง 2 กรณี ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส จนมีปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดต่ำมาก คือ ต่ำกว่า 200 copies ต่อซีซีของเลือด หรือที่เรียกว่า “ตรวจไม่เจอ (Undetectable)”   นักวิจัยติดตามคู่ของผู้ติดเชื้อ (ฝ่ายที่ไม่ติดเชื้อ) ทุก 1-2 เดือน โดยให้บันทึกความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ การใส่หรือไม่ใส่ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ในแต่ละครั้ง ซึ่งทุกคนได้รับข้อมูลอย่างดี พร้อมกับได้รับแจกถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่น อีกทั้งสามารถขอรับ Pre-exposure prophylaxis (PrEP) และ…