ครัวพระราชทานวัดปทุมวนาราม

“ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” ณ วัดปทุมวนาราม

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงห่วงใยและทรงตระหนักถึงความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สภากาชาดไทยจัดตั้ง “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” ณ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการจัดตั้งครัวพระราชทานแห่งที่ 4 ในระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2563 เพื่อประกอบอาหารปรุงสุกใหม่สำหรับนำไปมอบให้แก่ประชาชนในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร อันสอดคล้องกับภารกิจของสภากาชาดไทยในการปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมตามหลักการกาชาดสากล เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ วรรณะ ศาสนา ลัทธิ และความเชื่อทางการเมืองใด ๆ โดยในวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ณ อาคารเสนาสนะสงฆ์ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สภากาชาดไทยจัดตั้ง “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” ขึ้น จากนั้นได้มอบชุดธารน้ำใจกู้ชีวิตฝ่าวิกฤติโควิด-19 จำนวน 50 ชุด และมอบอาหารปรุงสุกให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19…

สภากาชาดไทยรับมอบหน้ากากอนามัยและเงินสนับสนุนจาก ICRC

วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 นายเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร รับมอบหน้ากากอนามัย จำนวน100,000 ชิ้น เงินสนับสนุนการจัดทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า จำนวน 500,000 บาท และ สื่อเพื่อการเรียนรู้ เรื่องโรคโควิด-19 ในภาษาไทย และ ภาษาต่างๆ ของกลุ่มผู้พลัดถิ่นและแรงงานต่างด้าวอีกจำนวน 5 ภาษา จากนาย คริสตอฟ ซุตแตร์ ผู้อำนวยการ และนายบรูโน ปอมมิเยร์ รองผู้อำนวยการ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของสภากาชาดไทย ในการตอบโต้และป้องกันภัยจากการระบาดของโรค โควิด-19 โดยเน้นที่การสนับสนุนและดูแลกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้พลัดถิ่น และแรงงานต่างด้าว โดยมีนายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ รวมเป็นเกียรติในการรับมอบ

ครัวพระราชทานนนทบุรี

“ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” จังหวัดนนทบุรี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงห่วงใยและทรงตระหนักถึงความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงพระราชทานพระราชานุญาตให้สภากาชาดไทยจัดตั้ง “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” ณ วัดหูช้าง ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการจัดตั้งครัวพระราชทานแห่งที่ 3 ในระหว่างวันที่ 24 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2563 เพื่อประกอบอาหารปรุงสุกใหม่สำหรับนำไปมอบให้แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี อันสอดคล้องกับภารกิจของสภากาชาดไทย ในการปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมตามหลักการกาชาดสากล เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ วรรณะ ศาสนา ลัทธิ และความเชื่อทางการเมืองใด ๆ โดยในวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย  เป็นประธานในพิธีเปิดครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ณ วัดหูช้าง ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระราชทานพระราชานุญาตให้สภากาชาดไทยจัดตั้ง “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” ขึ้น จากนั้นได้มอบชุดธารน้ำใจฝ่าวิกฤติโควิด-19 จำนวน 100…

พระราชทานห้องตรวจหาเชื้อ

พระราชทานห้องตรวจหาเชื้อ แห่งที่ 9 ให้โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระราชทาน “ห้องตรวจหาเชื้อ”แห่งที่ 9 ให้ “โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา” เพื่อปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ ประชาชน ปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19     ชลบุรีฯ – 22 พฤษภาคม 2563: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “ห้องตรวจหาเชื้อ (Modular Swab Unit)” ภายใต้ “โครงการเครื่องช่วยหายใจและเครื่องมือแพทย์พระราชทาน” ให้กับ “โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ” เป็นแห่งที่ 9 โดยได้พระราชทานพระราชทรัพย์ให้เอสซีจีดำเนินการก่อสร้างให้ 20 โรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อเสริมความพร้อมหากมีสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งห้องตรวจหาเชื้อดังกล่าวมีการแยกพื้นที่ระหว่างทีมแพทย์และคนไข้ออกจากกัน และใช้ระบบควบคุมแรงดันและคุณภาพอากาศที่เหมาะสม พร้อมมีระบบฆ่าเชื้อ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยสามารถติดตั้งในพื้นที่จำกัดได้ในเวลาเพียง 3 วัน ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ขณะปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งประชาชนที่มาตรวจรักษา ยังความปลื้มปีติแก่บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนประชาชนทุกหมู่เหล่า ต่างรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น…

ครัวพระราชทานสระแก้ว

“ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” จังหวัดสระแก้ว

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงห่วงใยและทรงตระหนักถึงความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงพระราชทานพระราชานุญาตให้สภากาชาดไทยจัดตั้ง “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” ณ สถานีกาชาดที่ 6 อรัญประเทศ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นการจัดตั้งครัวพระราชทานแห่งที่ 2 ในระหว่างวันที่ 20 – 29 พฤษภาคม 2563 เพื่อประกอบอาหารปรุงสุกใหม่สำหรับนำไปมอบให้แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว อันสอดคล้องกับภารกิจของสภากาชาดไทย ในการปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมตามหลักการกาชาดสากล เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ วรรณะ ศาสนา ลัทธิ และความเชื่อทางการเมืองใด ๆ โดยในวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 นายเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีเปิดครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ณ สถานีกาชาดที่ 6 อรัญประเทศ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดสระแก้ว เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้สภากาชาดไทยจัดตั้ง “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” ขึ้น จากนั้น…

ทั่วโลกร่วมยินดี ผลการวิจัยยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ผลดี

ทั่วโลกร่วมยินดี ผลการวิจัยพบว่า ยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้ผลดีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง   ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวแสดงความยินดีว่า “เมื่อได้ยินข่าวที่ประกาศทั่วโลกเมื่อวานนี้ (18 พ.ค. 63) ว่า การทดสอบประสิทธิผลของยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ (PrEP) ที่ประเทศไทยได้ร่วมวิจัยกับอีกหลายประเทศทั่วโลก ได้ผลออกมาก่อนกำหนดถึง 2 ปี พบว่ายาฉีดที่ฉีด 2 เดือนครั้งนี้ ได้ผลในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่ายาเพร็พแบบเม็ดที่ต้องกินทุกวัน และมีความปลอดภัยเท่าๆ กัน ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง ผมต้องขอแสดงความยินดีกับคณะนักวิจัยไทยที่มาจากหลายสถาบันที่ทำงานกันอย่างเหน็ดเหนื่อยมาตลอดระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมาในการทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทย โดยเรามีอาสาสมัครชาวไทยที่ร่วมอยู่ในโครงการคิดเป็น 12% ของทั่วโลก และที่สำคัญคือ หน่วยพรีเวนชั่นของศูนย์วิจัยโรคเอดส์สามารถรับอาสาสมัครที่เป็นหญิงข้ามเพศได้มากถึง 1 ใน 5 ของอาสาสมัครที่เป็นหญิงข้ามเพศทั้งโครงการทั่วโลก ทำให้น่าจะมีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปได้ว่ายาฉีดนี้ก็ใช้ได้ผลดีกับหญิงข้ามเพศด้วย ไม่ต้องเสียเวลามาทดสอบอีกรอบหนึ่ง นอกจากนี้ ต้องขอขอบคุณและชื่นชมอาสาสมัครทุกคนทั้งที่เป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและหญิงข้ามเพศ ที่อาจหาญเข้าร่วมโครงการและอยู่กับโครงการมาอย่างตลอดรอดฝั่ง ทุกท่านได้ชื่อว่าทำบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ให้กับมนุษยชาติในการพิสูจน์ให้เห็นว่ายาฉีดคาโบทิกราเวียร์เป็นยาตัวที่สองที่สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ แม้ว่าเกือบ 40 ปีแล้วเรายังไม่มีวัคซีนเอชไอวีใช้ แต่อย่างน้อยๆ เราก็มียาที่สามารถกินหรือฉีดป้องกันเอชไอวีได้ ซึ่งได้ผลเกือบ 100% เป็นทางเลือกหลายๆ…

คาราวานอาสาร่วมใจสู้ภัยโควิด ครั้งที่ 2

พิธีปล่อยคาราวานอาสาร่วมใจสู้ภัยโควิด ครั้งที่ 2 ไปยังพื้นที่ภาคเหนือ

วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 เวลา 07.00 น. นายกฤษฎา บุญราช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย เป็นประธานพิธีปล่อยขบวนคาราวานอาสาร่วมใจสู้ภัยโควิด ครั้งที่ 2 โดยมี นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ประธานโครงการอาสาร่วมใจสู้ภัยโควิด และคณะผู้บริหารร่วมในพิธี ณ บริเวณสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย  สภากาชาดไทย และมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ได้จัดคาราวานอาสาร่วมใจสู้ภัยโควิด ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นให้แก่โรงพยาบาลในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ตาก ลำปาง และลำพูน โดยอุปกรณ์ทางการแพทย์ ประกอบด้วย ชุด Coverall PPE กว่า 9,000 ชุด หน้ากากอนามัย 60,000 ชิ้น หน้ากาก N95 27,000 ชิ้น แอลกอฮอล์ 1,000 ลิตร ถุงคลุมเท้า 11,000…

ICRC ช่วยแรงงานข้ามชาติ

ICRC ให้การช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติในการรับมือกับ COVID-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ICRC ได้ดำเนินกิจกรรมในการสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งในประเทศไทยทั้งส่วนกลางและต่างจังหวัด ในการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติซึ่งถือเป็นกลุ่มเปราะบางและอาจจะยังขาดแคลนอุปกรณ์ในการป้องกันเชื้อที่จำเป็นหลายรายการ อันได้แก่ ห้องกักสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) – ICRC ให้การสนับสนุนกับห้องกักด่านตรวจคนเข้าเมือง 4 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ สตม.สวนพลู สตม.ดอนเมือง สตม.ระนอง และด่านตม.สะเดา จังหวัดสงขลา ด้วยการมอบอุปกรณ์ทำความสะอาด เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ และ อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ เช่น แว่นป้องกันตา ถุงมือ อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า และ หน้ากากอนามัย โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกนำไปใช้ฆ่าเชื้อและดูแลความสะอาดของสถานที่และป้องกันเจ้าหน้าที่และบุคคลที่อยู่ในความดูแลของห้องกักดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้มอบชุด Restoring Family Links (RFL) kits ให้แก่ ห้องกักสตม. สวนพลู สำหรับใช้ทำความสะอาดโทรศัพท์สาธารณะที่ต้องใช้ร่วมกันเพื่อสร้างความมั่นใจว่าการติดต่อทางไกลระหว่างผู้ต้องกักและญาติจะดำเนินไปอย่างปลอดภัย พื้นที่ภาคเหนือ – ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลในประเทศไทยที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดน ในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยที่ไม่ได้อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพของไทย – จัดสร้างห้องแยกผู้ป่วยโควิด-19 ให้กับคลีนิคแม่ตาว ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อสามารถให้บริการสุขภาพขั้นพื้นฐานกับแรงงานข้ามชาติซึ่งข้ามมาจากชายแดนประเทศเพื่อนบ้านได้ –  ให้ความช่วยเหลือในการอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อและการป้องกันให้กับชุมชนในจังหวัดตาก ให้ความรู้…

ขั้นตอนการบริจาคพลาสมาของผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้ว

พลาสมาของผู้ป่วย COVID-19 มีค่า สามารถช่วยเหลือผู้ป่วย COVID-19 ได้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เชิญชวนผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้ว และมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข ลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ บริจาคพลาสมาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการรุนแรงต่อไป ช่องทางลงทะเบียน —> https://bit.ly/2K6cIL6 (ข้อมูลการลงทะเบียนของท่านจะเก็บเป็นความลับอย่างปลอดภัย ในระบบฐานข้อมูลของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562) จากนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จึงติดต่อกลับทางโทรศัพท์เพื่อคัดกรองสุขภาพ กรณีผ่านการคัดกรอง จะทำการนัดหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการบริจาคพลาสมาฯ  การเข้าร่วมโครงการบริจาคพลาสมาฯ มีขั้นตอนดังนี้ ประเมินเส้นเลือดที่ข้อพับแขน ต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร ตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน ตรวจความเข้มข้นโลหิต (ผู้ชาย 13.00 กรัม/เดซิลิตร ผู้หญิง 12.5 กรัม/เดซิลิตร) ตรวจหมู่โลหิต (เฉพาะผู้บริจาคใหม่) ตรวจหาการติดเชื้อ COVID-19 และตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ COVID-19 โดยการตรวจเชื้อในโพรงจมูกและเก็บตัวอย่างโลหิต กรณีที่ผลการตรวจผ่าน จึงนัดหมายมาบริจาคพลาสมา การบริจาคพลาสมา บริจาคด้วยเครื่องแยกส่วนประกอบโลหิตอัตโนมัติ…

ปิดครัวพระราชทาน จ.สมุทรสาคร

สภากาชาดไทย จัดตั้งครัวพระราชทานฯ จ.สมุทรสาคร แจกจ่ายอาหารปรุงสุกแก่ประชาชน รวม 15,559 ชุด

  ตามที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย พระราชทานพระราชานุญาตให้สภากาชาดไทย จัดตั้ง “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” ณ สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรสาคร เป็นแห่งแรกของประเทศ ระหว่างวันที่ 8 – 17 พฤษภาคม 2563 เพื่อประกอบอาหารปรุงสุกใหม่สำหรับนำไปมอบให้แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยตลอดระยะเวลา 10 วัน ได้ประกอบอาหารแจกจ่ายให้ประชาชนทั้งชาวไทยและแรงงานข้ามชาติในอำเภอเมือง อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว จำนวน 37 ตำบล รวมทั้งสิ้น 15,599 ชุด     นางชุติพร วิจิตร์แสงศรี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า “ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากจังหวัดสมุทรสาครมีโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า 7,000 โรงงาน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้โรงงานหลายแห่งปิดตัวลง เศรษฐกิจย่ำแย่ และประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก อาหารปรุงสุกจากครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย จะแจกจ่ายไปยังประชาชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร โดยจะคำนึงถึงการเป็นต้นแบบที่ดีด้านการจัดการครัวที่เน้นความสะอาด ยึดหลักสุขาภิบาล ที่ได้มาตรฐาน มีเมนูอาหารที่สด สะอาด บุคลากรในครัวแต่งกายตามมาตรฐาน คือ สวมหมวกคลุมผม…