กาชาดและโรงพยาบาลทั่วประเทศขาดเลือดหนัก วอนคนไทยสุขภาพดีช่วยบริจาคโลหิตอย่างเร่งด่วน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วอนคนไทยสุขภาพดี ช่วยบริจาคโลหิตอย่างเร่งด่วน    สถานการณ์การระบาด COVID-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบผู้บริจาคโลหิตลดลงอย่างมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทำให้โลหิตขาดแคลนหนัก วิกฤติทั่วประเทศ รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการระบาดของโรค COVID-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้การบริจาคโลหิตลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยที่โรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 340 แห่ง มีความต้องการใช้โลหิตวันละ 6,500 – 7,000 ยูนิต ปัจจุบันปริมาณโลหิตบริจาคทั่วประเทศ ได้เพียงวันละ 2,000 ยูนิตเท่านั้น เนื่องจากจำนวนผู้บริจาคโลหิตลดลงอย่างมากทุกแห่ง หน่วยงานยกเลิกการจัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิต พนักงานหลายองค์กรต้องทำงานที่บ้าน เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาดหรือมีการกักตัว โรงพยาบาลทุกแห่งขาดเลือด ไม่มีโลหิตเพียงพอในการรักษาและผ่าตัดผู้ป่วย รวมทั้งผู้ป่วยเด็กโรคเลือด อาทิ โรคธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลีย ที่ต้องใช้เลือดในปริมาณมากและต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป การชะลอและเลื่อนการรักษาด้วยโลหิต อาจส่งผลอันตรายแก่ผู้ป่วยถึงชีวิตได้ ขอให้ผู้บริจาคโลหิตเชื่อมั่นในการทำงานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ผู้ทำหน้าที่จัดหาโลหิตบริจาคที่ปลอดภัยให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยยกระดับ มาตรการ 3 ข้อ “คัดกรอง เข้มงวด ครอบคลุม”…

เยี่ยมโรงพยาบาลสนามจุฬาฯ

ตรวจเยี่ยมความพร้อมโรงพยาบาลสนามจุฬาฯ

นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมด้วย นายเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร ศาตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศาสตราจารย์ ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามจุฬาฯ และคณะทำงานจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรวจเยี่ยมความพร้อมของโรงพยาบาลสนามจุฬา ฯ ที่จะเปิดให้บริการในวันที่ 22 เมษายน 2564 ณ อาคารจันทนยิ่งยง ภายในสนามกีฬาแห่งชาติ โรงพยาบาลสนามจุฬา ฯ เป็นโรงพยาบาลสนามด้านโรคระบาด ระดับที่ 1 มีเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 100 เตียง ได้มาตรฐานตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในด้านสถานที่ บุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะนำมาใช้กับผู้ป่วย ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคโควิด-19 ที่ไม่มีความรุนแรง มีการดูแลที่ไม่มีความซับซ้อน สามารถตรวจรักษาโดยแพทย์ในเบื้องต้นและพิจารณาส่งต่อไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่ศักยภาพสูงกว่าอย่างเหมาะสม โดยกลุ่มเป้าหมายจะเป็นนิสิต บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป ที่ติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่มีอาการหรืออาการน้อย และไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้

US Embassy

อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเยี่ยมคารวะนายเตช บุนนาค

  เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2564 นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พร้อมด้วย ดร.สตีเวน โอลีฟ ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สำนักงานภาคพื้นเอเชีย และ นายเดวิด มิวล์กี ผู้ประสานงานฝ่ายกิจการผู้อพยพประจำเอเชียตะวันออก สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ นายเตช บุนนาค ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร ณ ห้องรับรอง ชั้น 1 อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สภากาชาดไทย เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสที่ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร  ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภากาชาดไทย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความพร้อมของสภากาชาดไทยในการเข้ามาของผู้หนีภัยจากสถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา บริเวณชายขอบประเทศไทย และการระบาดระลอกที่ 3 ของโรคโควิด-19 โดยอุปทูตสหรัฐฯ แจ้งว่า ยินดีให้การสนับสนุนสภากาชาดไทยในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หนีภัยจากสถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

รักษาผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งที่มีปอดเป็นพังผืด ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์

จุฬาฯ รักษาผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งที่มีปอดเป็นพังผืด ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

วันที่ 8 เมษายน 2564 สาขาวิชาโรคข้อและรูมาติสซั่ม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับ สาขาวิชาโลหิตวิทยา, สาขาวิชาระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤติโรคระบบการหายใจ และสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าว การรักษาผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งที่มีปอดเป็นพังผืด ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์คุณธรรม ที่ได้พัฒนานวัตกรรมการบริการ รวมทั้งการรักษา จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด รวมทั้งเพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของศาสตร์ทางการแพทย์ในปัจจุบันและในอนาคต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากชาดไทย ได้มีตัวอย่างผลงานจากเทคโนโลยีทางการแพทย์เกี่ยวกับสเต็มเซลล์มากมาย เช่น การสร้างแผ่นกระจกตาจากสเต็มเซลล์โดยวิธีใหม่ รวมทั้งการสร้างสเต็มเซลล์พหุศักยภาพจากเซลล์เลือดผู้ป่วยโรคพันธุกรรมธาลัสซีเมีย และกลุ่มอาการ…

สถานีเพาะเลี้ยงม้า

สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลองฯ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า-เซรุ่มแก้พิษงูเพื่อคนไทย

สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2465 มีภารกิจครอบคลุมถึงการผลิตวัคซีนวัณโรค ผลิตเซรุ่มแก้พิษงู เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและบริการเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ แก่ประชาชน รวมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องสัตว์มีพิษกัดและโรคเมืองร้อนด้วย สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เป็นสถานที่ผลิตเซรุ่มแห่งแรกในประเทศไทย และเป็นเพียงแห่งเดียวที่ผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากเลือดม้า ในชื่อ TRCS ERIG® (Equine Rabies Immunoglobulins) โดยมีสถานที่เพาะเลี้ยงม้าเพื่อผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และเซรุ่มแก้พิษงูโดยเฉพาะ ชื่อว่า “สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลองสภากาชาดไทยเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา” ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เพื่อการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งองค์ราชูปถัมภกสภากาชาดไทย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด “สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลองสภากาชาดไทยเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา” เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2543 ณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลองฯ ตั้งอยู่ที่ถนนสายหัวหิน-ป่าละอู อำเภอหัวหิน…

แล้งนี้ไม่แล้งน้ำใจ

กาชาดชวนบริจาคโลหิต สำรองช่วยผู้ป่วยกรณีเร่งด่วน รับมือหยุดยาวสงกรานต์

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เตรียมพร้อมสำรองโลหิตช่วงหยุดยาวสงกรานต์ ชวนประชาชน ร่วมทำบุญบริจาคโลหิตช่วยผู้ป่วยกรณีเร่งด่วน ในโครงการ “แล้งนี้ไม่แล้งน้ำใจ ด้วยการให้โลหิต” ระหว่างวันที่ 5-16 เมษายน 2564 (12 วัน) ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ หน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ (Fixed Station) 6 แห่ง และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่งทั่วประเทศ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า วันสงกรานต์ถือเป็นวันหยุดตามประเพณีไทย เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนส่วนใหญ่เดินทางกลับภูมิลำเนาไปเยี่ยมครอบครัวเป็นจำนวนมาก และมักจะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก จากข้อมูลของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 7 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน ย้อนหลัง 3 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2560-2562) เกิดอุบัติเหตุเฉลี่ย 3,584 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บมากถึง 3,716 คน และในการรักษาผู้ป่วยจะต้องมีโลหิตสำรองไว้ระหว่างการผ่าตัด 2-3 ยูนิต…

ถวายพระพรสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2564

วันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2564 เวลา 10.00 น. นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมลงนามถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงเจริญพระชนมายุ 66 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2564 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

จิตอาสาบริจาคโลหิตด้วยหัวใจ

สภากาชาดไทยชวนจิตอาสาบริจาคโลหิตด้วยหัวใจ ตลอดเดือนเมษายน 2564

ชวนจิตอาสา บริจาคโลหิต ด้วยหัวใจ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงเจริญพระชนมายุ 66 พรรษา 2 เมษายน 2564 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ขอเชิญพสกนิกรทั่วประเทศ ร่วมเป็นจิตอาสา ทำความดี บริจาคโลหิตด้วยหัวใจ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 66 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2564 และเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องรับโลหิตในการรักษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ตลอดเดือนเมษายน 2564 รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในเดือนเมษายนของทุกปีมีวันสำคัญของคนไทยที่ร่วมกันทำความดีในวันนั้นก็คือ วันที่ 2 เมษายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่งอุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน…

มอบขนมคอนเฟลก

มอบขนมคอนเฟลกเพื่อผู้บริจาคโลหิต ในโครงการ “อิ่มท้อง อิ่มใจ”

วันที่ 1 เมษายน 2564 เวลา 11.00 น. นางสุนันทา ศรอนุสิน ผู้อำนวยการสำนักงานยุวกาชาด พร้อมด้วยนายธีรศักดิ์  เฟื่องสุวรรณ  ผู้จัดการแผนกกิจกรรมการตลาด บริษัทเพาเวอร์ภา อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  ในนามอาสายุวกาชาด สำนักงานยุวกาชาด  และอาสาสมัครดีเด่นแห่งชาติ นำขนมคอนเฟลก “สูตรผสมความรัก จากครัว Power Pa” จำนวน 111 ถ้วย มอบให้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ในโครงการ “อิ่มท้อง อิ่มใจ” แทนความรักและคำขอบคุณแก่ผู้บริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ในวันที่ 2 เมษายน 2564 วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย โดยมีนางสาวปิยนันท์ คุ้มครอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านจัดหาโลหิตและภาพลักษณ์องค์กร ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยเป็นผู้รับมอบ ในโอกาสนี้ นายธีรศักดิ์ เฟื่องสุวรรณ ยังได้ร่วมบริจาคโลหิตเป็นครั้งที่ 40 อีกด้วย

รวมพลังบริจาคโลหิต

อาสายุวกาชาดกว่า 295 คน รวมพลังบริจาคโลหิต

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้ให้การต้อนรับ นางสุนันทา ศรอนุสิน ผู้อำนวยการสำนักงานยุวกาชาด ในการนำอาสายุวกาชาดจากชมรมอาสายุวกาชาดสถานศึกษาต่างๆ จำนวนกว่า 295 คน ร่วมแสดงพลังโดยการบริจาคโลหิต เนื่องจากวิกฤตโลหิตขาดแคลนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย อีกทั้งยังถือเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดไทย 99 สู่ 100 ปี กิจการยุวกาชาดชาดไทย อีกด้วย โดยกิจกรรมการรวมพลังนี้ สำนักงานยุวกาชาดสภากาชาดไทย ได้กำหนดจัดขึ้นเดือนละครั้ง โดยเริ่มมาตั้งแต่ เดือนมกราคม 2564 – มกราคม 2565 ซึ่งผ่านมาแล้ว 3 ครั้ง มีอาสายุวกาชาดรวมพลังที่ผ่านมากว่า 368 คน และมีกำหนดรวมพลังครั้งต่อไป ในวันที่ 26 เมษายน 2564 เพื่อให้อาสายุวกาชาดได้เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือผู้ป่วยที่รอความหวังจากผู้บริจาค และ ช่วยบรรเทาภาวะการขาดแคลนเลือดในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน