คณะผู้บริหารสภากาชาดไทย วางพวงมาลาเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 7

วันที่ 30 พฤษภาคม 2561  ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ศุภวัฒน์ ชุติวงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย  นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย วางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในอภิลักขิตสมัยวันคล้ายวันสวรรคต ณ รัฐสภา

กาชาดรวมพลังจิตอาสา “สร้างฝาย ปันสุข” ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ กาญจนบุรี

ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ ให้ความสำคัญเรื่อง การมีจิตอาสา ถือเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างคนดีให้เกิดขึ้นในสังคม “สภากาชาดไทย” ก็ได้นำเรื่องจิตอาสา มาเป็นภารกิจหนึ่งในยุทธศาสตร์การปฏิบัติงาน โดยมอบหมายให้ สำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สำนักงานยุวกาชาด และสำนักงานอาสากาชาด เป็นผู้ดำเนินการหลัก ทั้งส่งเสริมและสนับสนุน สร้างจิตสำนึกในงานอาสาสมัครให้เกิดขึ้นและดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน วันที่ 26 พฤษภาคม 2561 สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย ได้ปลูกฝังและเผยแพร่ให้เยาวชนอายุระหว่าง 15-30 ปี ให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ และอุดมการณ์ของกาชาด พร้อมสร้างเยาวชนให้มีจิตสำนึกที่ดี มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ตระหนักคิดและลงมือทำ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดประโยชน์สุข มีจิตใจอาสา พร้อมที่จะช่วยเหลือและทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ในโครงการ “สร้างฝาย ปันสุข” ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ร่วมพลังเยาวชนกว่า 200 คน ในการสร้างฝายคอกหมู ฝายหินซ้อน และจัดทำโป่งเทียม พร้อมยิงเมล็ดพันธุ์พืช ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีนายวิฑูรย์ สิรินุกุล นายอำเภอเมืองกาญจนบุรี เป็นประธานเปิดงาน  โอกาสนี้…

กาชาดสร้างชีวิตใหม่ให้ผู้ป่วยปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น จังหวัดสตูล

  สภากาชาดไทย ดำเนินการโครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น ตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ออกหน่วยปีละ 6 จังหวัด ครั้งละ 1 สัปดาห์ เป็นโครงการเชิงรุก เข้าค้นหาผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสและนำตัวเข้ารับการผ่าตัด โดยในแต่ละจังหวัดจะผ่าตัดโดยเฉลี่ย 50 รายต่อครั้ง และบางจังหวัดมีจำนวนร้อยกว่าราย  ล่าสุด สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ นำโดย นายแพทย์พิชิต ศิริวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ ร่วมกับแพทย์อาสาสมัคร ได้ออกหน่วยศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น ระหว่างวันที่ 21-25 พฤษภาคม 2561 ณ โรงพยาบาลสตูล จังหวัดสตูล พร้อมกันนี้ได้มอบของขวัญให้แก่ผู่ป่วยที่เข้ารับการรักษา เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจอีกด้วย สภากาชาดไทย ได้รณรงค์ให้ความรู้ประชาชน โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิติมินโฟลิก เพื่อป้องกันความพิการของลูกในครรภ์ ซึ่งวิตามินโฟลิก คือ วิตามินบี 9 ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตัวอ่อน ช่วยป้องกันความผิดปกติของเลือด และมีส่วนช่วยในการซ่อมแซม DNA ในเซลล์ ซึ่งหากร่างกายได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ ระดับโฟเลตในเซลล์ลดลง การเจริญเติบโตของเซลล์ก็จะหยุดชะงักตามไปด้วย ทำให้การเจริญเติบโตของตัวอ่อนไม่สมบูรณ์และเกิดความพิการแต่กำเนิดได้ การรับประทานโฟเลตหรือวิตามินโฟลิกเพียงวันละ 400…

เรื่องเล่า…จากบรรเทาทุกข์ ตอน ปากแหว่ง-เพดานโหว่ (1/2)

โครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น เป็นโครงการที่ตั้งเป้าว่าจะไม่ใช้เงินงบประมาณ แต่จะใช้เงินบริจาคเพื่อการนี้โดยเฉพาะ “ผมทำงานที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ มา 20 ปีแล้ว ตอนแรกตั้งใจจะเข้าเป็นอาจารย์ที่หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่สุดท้ายก็ได้มาทำที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ พอได้มาทำงานจริงก็มีความรู้สึกว่าช่วยคนได้มากในหลายมิติไม่ใช่เฉพาะการผ่าตัดรักษาโรค แต่สามารถขยายบทบาทไปยังโครงการที่ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ในระดับประเทศ” “1 ในโครงการของสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ คือโครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น ซึ่งเริ่มต้นตั้งปี พ.ศ.2541 แรงบันดาลใจในการทำโครงการนี้คือ 1. ปากแหว่ง-เพดานโหว่เป็นความพิการบนใบหน้าที่พบมากที่สุดในบรรดาความพิการแต่กำเนิดบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ และ 2. เนื่องจากอยู่บนใบหน้าจึงเห็นเด่นชัดมาก ซ่อนไม่ได้ บางคนถึงแม้จะเป็นเพดานโหว่แต่พูดออกมาเสียงไม่ชัดคนก็รู้อยู่ดี เพราะฉะนั้นมันเป็นความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ไม่เฉพาะเรื่องโรคภัยทางร่างกายแต่มันเป็นความทุกข์ทรมานด้านจิตใจและเป็นปมด้อยสำหรับเด็ก ทำให้เด็กปากแหว่ง-เพดานโหว่(ที่โดยทั่วไปมีสติปัญญาเป็นปกติ)แต่เพราะปมด้อยนี้จึงทำให้พัฒนาการช้าทั้งด้านการเรียนรู้ ด้านการเข้าสังคม นอกจากนี้พ่อแม่ก็ลำบากมาก พอมีลูกปากแหว่ง-เพดานโหว่ ต้องทุ่มเทเวลาให้กับลูกมากกว่าปกติเยอะแค่ให้นมยังลำบาก ต้องพาไปพบหมอบ่อยๆ” “ในยุคที่เริ่มต้นโครงการมีโรงพยาบาลที่ผ่าตัดรักษาปากแหว่ง-เพดานโหว่ได้ไม่กี่โรงพยาบาล ไม่ครบทุกจังหวัด นอกจากชาวบ้านจะต้องเดินทางจากหมู่บ้านมาที่ตัวเมืองของจังหวัดแล้ว บางทีต้องส่งตัวข้ามมาอีกจังหวัด นัดแล้วนัดอีกกว่าจะได้รับการผ่าตัด ซึ่งมีผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาทันตามกำหนดเวลาจำนวนมาก และมันเป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของสังคม คือเคยไปร่วมโครงการที่มีแพทย์ต่างประเทศมากันเป็นทีม มันก็เป็นความรู้สึกที่แบบ..เรื่องแบบนี้เราก็ทำเองได้เพียงแต่ว่าระบบการกระจายตัวของศัลยแพทย์ตกแต่งหรือระบบการค้นหาผู้ป่วยของเรายังไม่ดีพอ ทำให้มีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอายที่ว่าเราเป็นแพทย์ เราดูแลผู้ป่วยเรื่องนี้แต่ปรากฎว่าเราล้มเหลวในการดูแลผู้ป่วยชาวไทย จนต่างประเทศต้องมาทำบุญอนุเคราะห์สงเคราะห์เรา เพราะฉะนั้นจากโครงการซ่อมเพดานสมานริมฝีปาก (ปีพ.ศ. 2541) ที่คิดจะทำกันปีเดียว เลยเปลี่ยนเป็นโครงการระยะยาวไม่มีจุดสิ้นสุด ชื่อโครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น” “โครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขปากแหว่ง-เพดานโหว่และความพิการอื่น เป็นโครงการที่ตั้งเป้าว่าจะไม่ใช้เงินงบประมาณแต่จะใช้เงินบริจาคเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เราผ่าตัดรักษาปีละ 6…

จิตอาสาวัยเยาว์ ร่วมเล่นดนตรีสร้างความสุขให้แก่ผู้มาใช้บริการที่รพ.จุฬาฯ

    “เพราะดนตรี สามารถบำบัดความเจ็บป่วยและความเครียดได้” ช่วงปิดเทอม น้องๆ จิตอาสาวัยเยาว์ ร่วมเล่นดนตรีสร้างความสุขให้แก่ผู้มาใช้บริการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ณ อาคาร ภปร ชั้นล่าง เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 ด.ช.ดรัส วรรณสารเมธา อายุ 9 ขวบ นักเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ด.ช.บรมกร วรรณสารเมธา อายุ 12 ขวบ นักเรียนจากสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรจน์ ปทุมวัน จิตอาสาขอเล่นเปียโน พร้อมด้วย ด.ช.ธนวิน ธนพรธวัล อายุ 9 ขวบ เล่นดนตรีกู่เจิง สภากาชาดไทยขอชื่นชมและสนับสนุนเยาวชนมีจิตอาสาโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

เรื่องเล่า…จากบรรเทาทุกข์ ตอน กาชาดเคียงข้างประชาชนผู้ประสบภัย

สภากาชาดไทยเคียงข้างประชาชน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทุกช่วงเวลา ทั้งก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย “เมื่อประมาณ 27 ปีที่แล้ว เราเป็นเพียงเด็กจบใหม่คนหนึ่งที่ได้เข้ามาทำงานที่ฝ่ายบรรเทาทุกข์ ตอนนั้นเรายังไม่ค่อยรู้อะไรมาก ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2550 เพื่อให้การทำงานไม่ทับซ้อนกัน จึงเริ่มมีการแบ่งงานออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยพิบัติ และฝ่ายบริการทางการแพทย์ มีการจัดระบบการจัดการภัยพิบัติออกเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย เริ่มตั้งแต่การเตรียมพร้อมองค์กรและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ ให้ความรู้อาสาสมัครและประชาชนในพื้นที่ ประเมินความเสียหายและความต้องการเบื้องต้น รวมไปถึงการฟื้นฟูในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการศึกษา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากความขัดแย้ง ช่วยเหลือฟื้นฟูด้านวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และส่งเสริมด้านอาชีพให้แก่ผู้ประสบภัย ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 สภากาชาดไทยถือเป็นหน่วยงานเสริมภาครัฐ ไม่ใช่หน่วยงานหลักในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ปัญหาที่พบบ่อยจึงเป็นเรื่องของการประสานงาน ดังนั้น เราจึงต้องพูดคุยกับหน่วยงานในพื้นที่ว่าเขามีปัญหาอะไร ลำบากใจหรือไม่ถ้าเราจะลงไปช่วยเหลือ เราต้องยึดคติ I am OK. You are OK. เพราะเราไม่ได้อยากโดดเด่นเกินใคร แต่เราอยากเดินไปพร้อมๆ…

เตรียมความพร้อมเมื่อเจองู ในโครงการอบรมและฝึกปฏิบัติจับงู (ครั้งที่ 19) 28-29 มิถุนายนนี้

  “ฝึกจับงู เตรียมความพร้อมเมื่อเจองู” สวนงู สถานเสาวภา สภากาชาดไทย จัดโครงการดีๆ สำหรับผู้สนใจเกี่ยวกับเรื่องงูๆ ใน “โครงการอบรมและฝึกปฏิบัติจับงู (ครั้งที่ 19)” วันที่ 28 และ 29 มิถุนายน 2561 เวลา 09.00-16.00 น. เสียค่าธรรมเนียมเพื่อใช้จ่ายในกิจการของสวนงู เพียง 1,500 บาท ผู้สมัครจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับงูจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทดลองฝึกใช้อุปกรณ์ในการจับงู ทั้งงู “มีพิษ” และ “ไม่มีพิษ” และฝึกปฏิบัติวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีเมื่อถูกงูกัด (ซึ่งหลายคนเข้าใจผิดเรื่องการดูดพิษงูด้วยปากเปล่าและการขันชะเนาะ) เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนกว่าจะครบตามจำนวนที่กำหนด คือ 20 ท่านเท่านั้น!! ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจ สวนงู สถานเสาวภา – QSMI Snake Farm

เชิญชวนร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพยาบาลสากล วันที่ 7-11 พฤษภาคม 2561

  เนื่องในวันพยาบาลสากล ปี 2561 ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เชิญชวนประชาชนร่วมชมนิทรรศการ พร้อมปรึกษาปัญหาสุขภาพ และร่วมกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวันที่ 7-11 พฤษภาคม 2561 ภายใต้หัวข้อ “Nurse A Voice to Lead – Health is a Human Right” พยาบาล เสียงแห่งพลัง : สุขภาพเป็นสิทธิมนุษยชน ณ บริเวณโถงชั้นล่าง อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายการพยาบาลฯ โทร. 0 2256 4360  หรือ https://www.facebook.com/ChulalongkornHospital/

เชิญชวนร่วมบริจาคซื้อดอกกุหลาบแดง ในโอกาส 104 ปี รพ.จุฬาฯ บัดนี้ถึง 30 พฤษภาคม 2561

104 ปี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เชิญชวนร่วมบริจาคซื้อดอกกุหลาบแดง รายได้สมทบทุกกองทุน 30 พฤษภาฯ ช่วยเหลือผู้ยากไร้และค่าใช้จ่ายในกิจการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำหน่ายดอกละ 20 บาท ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 พฤษภาคม 2561 ภายในรพ.จุฬาฯ อาทิ ศาลาทินทัติและชั้นต่างๆ ของอาคาร ภปร ในการนี้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรมครบรอบ 104 ปี ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 เวลา 08.30-14.00 น. ณ ห้องประชุมสดศรี วงศ์ถ้วยทอง ชั้น 18 ตึก ภปร กิจกรรมในงาน ประกอบด้วย พิธีทางศาสนา จัดแสดงพระธรรมเทศนา โดยพระเทพสังวรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร และพิธีสดับปกรณ์ถวายสมเด็จพระปิยมหาราช สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ อีกทั้งจัดงานจุฬาฯ บาซาร์ การออกร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค…

พิธีพระราชทานเพลิงศพอาจารย์ใหญ่ (เป็นกรณีพิเศษ) ประจำปีการศึกษา 2560

 พิธีพระราชทานเพลิงศพผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา (เป็นกรณีพิเศษ) ประจำปีการศึกษา 2560 กายาลาโลกแล้ว        คืนดิน ดีชั่วกลับได้ยิน           กึกก้อง  ดุจเมล็ดแห่งชีวิน        หล่นแทบ พสุนธร์เอย     คุณท่านปรากฏพ้อง    พฤกษ์เพี้ยงอนุสรณ์ คำปูชนียจริยานุสรณ์ ประพันธ์โดย นายธีรวัฒน์ หมื่นเท นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย         “อาจารย์ใหญ่” คือ ร่างกายของมนุษย์ ผู้ซึ่งแสดงเจตจำนงไว้อย่างชัดเจนในการบริจาคร่างกายเป็น กายวิทยาทานก่อนเสียชีวิต เพื่อให้นิสิตแพทย์ได้ใช้ร่างกายในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ต่อลมหายใจให้ผู้ป่วยในอนาคต ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา (เป็นกรณีพิเศษ) ประจำปีการศึกษา 2560 เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาและไว้อาลัยแด่ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาหรืออาจารย์ใหญ่ของนิสิตแพทย์ โดยมี คณาจารย์ แพทย์ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์…