กาชาดชวนแต่งชุดไทยมาให้เลือด สำรองช่วงสงกรานต์

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ชวนแต่งชุดไทยบริจาคโลหิต เพื่อร่วมสืบสานอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ ในโครงการ “แล้งนี้ ไม่แล้งน้ำใจ ด้วยการให้โลหิต” ระหว่างวันที่ 9-16 เมษายน 2561 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ ใน Concept “แต่งชุดไทยบริจาคโลหิต มีความสุขแถมได้บุญ” ผู้บริจาคโลหิตจะได้รับเสื้อยืด “BLOOD DONATION” เป็นที่ระลึก นาวาโทหญิงแพทย์หญิงอุบลวัณณ์ จรูญเรืองฤทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีหน้าที่ในการบริหารจัดการโลหิตทั่วประเทศ เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอ มีคุณภาพปลอดภัย และเพื่อจ่ายให้กับโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ มีวันหยุดหลายวัน จึงได้จัดโครงการ “แล้งนี้ ไม่แล้งน้ำใจ ด้วยการให้โลหิต” ระหว่างวันที่ 9-16 เมษายน 2561 (8 วัน) ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ เพื่อเตรียมพร้อมสำรองโลหิตเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีและทุกช่วงเวลา ซึ่งขณะนี้ โรงพยาบาลต่างๆ มีการขอเบิกโลหิตพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เพื่อสำรองไว้ในช่วงวันหยุดสงกรานต์แล้ว…

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ให้ข้อมูลที่ประชาชนต้องรับทราบคือ 1. คิดว่าสุนัขและแมวเท่านั้นที่แพร่เชื้อสู่คนได้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเป็นโรคและแพร่เชื้อพิษสุนัขบ้าได้เช่นกัน แม้แต่ ลิง หนู และกระต่าย อย่างไรก็ดีในกรณีของหนูและกระต่าย เมื่อติดเชื้อและเกิดโรค ความสามารถในการแพร่กระจายโรคในหมู่พวกเดียวกันเองต่ำมาก และไม่ถือว่าเป็นตัวการสำคัญในการแพร่โรค แค่ถ้าคนถูกหนูหรือกระต่ายกัดให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป การตรวจหาเชื้อในสมองสัตว์ จะช่วยตัดสินได้เด็ดขาดว่า ควรต้องการรักษาแก่คนที่ถูกกัดหรือไม่ อนึ่ง ระยะเวลา 10 วันที่ใช้ในการจับแยกและกักขังเพื่อดูอาการว่าเป็นบ้าหรือไม่ ใช้ได้กับสุนัขและแมวเท่านั้น 2. คิดว่าลูกสุนัขและแมว ไม่มีเชื้อพิษสุนัขบ้า สุนัขและแมวอายุเท่าใดก็ตามแพร่โรคได้ แม้จะมีอายุเพียง 1 เดือน 3. คิดว่าสุนัขและแมวเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้เฉพาะหน้าร้อนเท่านั้น เป็นได้ทุกฤดูกาล ฉะนั้นการฉีดวัคซีนในสัตว์ไม่จำเป็นต้องรอฤดูกาล และคนเมื่อถูกกัดไม่ว่าฤดูไหนก็ตาม ต้องได้รับการฉีดยาป้องกัน 4. คิดว่าหากถูกสุนัขหรือแมวกัดโดยอาการของสัตว์ปกติดี ก็ไม่น่าจะเป็นบ้า สุนัขและแมวสามารถแพร่เชื้อโรคได้ถึง 10 วันก่อนจะแสดงอาการ หากถูกสุนัขหรือแมวกัด ถ้าสัตว์ดูยังปกติอย่านิ่งนอนใจ ต้องได้รับการฉีดยาป้องกัน จับแยก กักขังสุนัขและแมวนั้น ๆ หากแสดงอาการผิดปกติต้องตัดหัวนำไปส่งตรวจทันที ถ้าผ่านไป…

อาสายุวกาชาด สภากาชาดไทย ได้รับรางวัลอาสาสมัครดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2560

นางสุนันทา ศรอนุสิน ผู้อำนวยการสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย แสดงความยินดีกับ นางสาวกาญจนา วงค์ษา และ นางสาวปรียาวีฒ์ รุ่งรัตนไชย อาสายุวกาชาด สังกัดสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย ได้รับรางวัล “อาสาสมัครดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2560” ซึ่งสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดขึ้นเพื่อประกาศเกียรติคุณอาสาสมัครดีเด่น และองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น ประจำปี 2560 เนื่องในโอกาสวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ และวันอาสาสมัครไทย ประจำปี 2560 โดยอาสายุวกาชาดทั้ง 2 คน จะเข้ารับประทานโล่เกียรติคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ ห้องรอยัลจูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

KC Family Day รู้ทันกระจกตาโก่ง

วันที่17 มีนาคม 2561 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยศูนย์เลเซอร์สายตาจุฬาฯ ฝ่ายจักษุวิทยา และภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานประชุมวิชาการโรคกระจกตาโก่ง (Keratoconus Meeting) และกิจกรรมเสวนาให้ความรู้และแนวทางการรักษาเกี่ยวกับโรคกระจกตาโก่งกับประชาชนทั่วไป ณ บริเวณหน้าศูนย์เลเซอร์สายตา ตึก 14 ชั้น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  รศ.พญ.งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ หัวหน้าศูนย์เลเซอร์สายตา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ภาวะกระจกตาโก่งเกิดจากเส้นใยคอลลาเจนอ่อนแอ ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับการขยี้ตาอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่มักขยี้ตาด้วยการใช้ข้อนิ้วกดลูกตา จนเกิดการโก่งของกระจกตา อันจะส่งผลต่อค่าสายตา หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจทำให้กระจกตาพิการและตาบอดได้ สำหรับวิธีการรักษาแบบใหม่ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจในแวดวงจักษุแพทย์ ก็คือ การใส่วงแหวนขึงกระจกตาและการฉายแสงอัลตราไวโอเลตเอ (Crosslinking) ถือเป็นอีกทางเลือกที่ให้ผลการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ผู้ป่วยหลายรายไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่มีความซับซ้อนและต้องรอคอยกระจกตาจากผู้บริจาคอวัยวะนั่นเอง และแนะนำผู้ที่สายตาสั้นหรือเอียงแล้วต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อยๆ เนื่องจากค่าสายตาสั้น หรือสายตาเอียงเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นคือ 100 หรือ -1.0 ต่อปี อาจต้องพึงระวังโรคกระจกตาโก่ง และเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยละเอียด และแนะนำว่าไม่ควรขยี้ตาอย่างรุนแรงด้วย ศูนย์เลเซอร์สายตาฯ ได้กำหนดจัดงานประชุมวิชาการโรคกระจกตาโก่ง ระหว่างวันที่ 16-17…

แอปพลิเคชัน “RDU รู้เรื่องยา” อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของเภสัชกร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

แอปพลิเคชัน “RDU รู้เรื่องยา” เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง 6 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่สอดคล้องกับการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์นโยบายการพัฒนาระบบยาแห่งชาติของรัฐบาล จุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้เรื่องการใช้ยาที่จำเป็นและถูกต้องได้ง่ายขึ้น ใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและสมเหตุสมผลมากขึ้น นอกจากประโยชน์ในการเข้าถึงความรู้เรื่องการใช้ยาและข้อมูลยาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศแล้ว แอปพลิเคชันนี้จะสามารถบันทึกข้อมูลยาต่างๆ ด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) ที่ฉลากยาเก็บไว้ในโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ ชื่อโรงพยาบาล ชื่อยาที่ได้รับ วิธีการใช้ยา ข้อมูลฉลากยาเสริม และข้อมูลความปลอดภัยด้านยา และข้อมูลอื่นๆ เช่น ข้อมูลยา ข่าวสารเรื่องยา สาระยาน่ารู้ พร้อมทั้งสามารถใช้แอปพลิเคชั่นนี้ค้นหาโรงพยาบาลและร้านยาคุณภาพได้อีกด้วย   ขณะนี้ แอปพลิเคชัน “RDU รู้เรื่องยา” มีข้อมูลที่แพทย์และเภสัชกรเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ร่วมกันจัดทำเนื้อหาฉลากยา ฉลากยาเสริม และข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ที่ทันสมัย เข้าใจง่าย สะดวก และเชื่อถือได้ กว่า 700 รายการ ซึ่งแผนระยะต่อไปจะขยายให้ครอบคลุมรายการยาทั้งหมด…

สาระน่ารู้เรื่อง การป้องกันการถูกสุนัขกัด

การป้องกันการถูกสุนัขกัด        ปัญหาการถูกสุนัขกัด ยังเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขปัญหาหนึ่ง ประชากรมากกว่า 4.5 ล้านคนในประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงานการโดนสุนัขกัดในแต่ละปี และ 1 ใน 5 จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาบาดแผลจากบุคลากรทางการแพทย์ สำหรับในประเทศไทย คนไทยถูกสัตว์กัดไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านคน ร้อยละ 97 เป็นสุนัข กลุ่มที่มีประวัติการโดนกัดมากที่สุด คือ เด็กอายุ 5-14 ปีเพศชาย และผู้ที่เลี้ยงสุนัขอยู่ภายในบ้าน เนื่องจากเดิมสุนัขถือเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่ามีสัญชาตญาณการล่าเหยื่อสูง ถึงแม้ว่าได้มีการนำสุนัขมาเลี้ยงเป็นสุนัขบ้านมานาน แต่สัญชาตญาณความเป็นนักล่าและการปกป้องอาณาเขตตนเองของสุนัขยังคงมีอยู่ ดังนั้นสุนัขจึงแสดงการปกป้องตนเองออกมาโดยการกัด แม้ว่าสุนัขดังกล่าวจะไม่เคยมีประวัติการกัดคนมาก่อนก็ตาม ผลเสียที่เกิดจากการโดนสุนัขกัดมีหลายประการ เช่น เกิดบาดแผลรุนแรงโดยเฉพาะหากสุนัขกัดถูกบริเวณตำแหน่งสำคัญ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความพิการหรืออันตรายแก่ชีวิตได้ รวมทั้งยังมีโอกาสติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า หากสุนัขดังกล่าวติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า การลดความเสี่ยงต่อการถูกสุนัขกัดจึงมีความสำคัญ ผู้ใหญ่และเด็กจึงควรที่จะเรียนรู้การป้องกันการถูกสุนัขกัด โดยทั่วไปสุนัขที่กัดคนส่วนใหญ่จะเป็นสุนัขมีเจ้าของ ดังนั้นก่อนที่จะนำลูกสุนัขหรือสุนัขตัวใหม่ไปเลี้ยง ควรปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ก่อนว่าบ้านของท่านเหมาะกับการเสี้ยงสุนัขสายพันธุ์ใด เพราะสุนัขแต่ละสายพันธุ์มักจะมีนิสัยหรือธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไป หากสุนัขมีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าว ดุร้าย ไม่ควรนำไปเลี้ยงในครอบครัวที่มีเด็กเล็กอาศัยอยู่ด้วย และเมื่อนำสุนัขไปเลี้ยงภายในบ้าน ไม่ควรหยอกล้อหรือเล่นกับสุนัขอย่างรุนแรง หรือทำให้สุนัขตกใจ เช่น ดึงหาง ไม่ควรรบกวนสุนัขที่กำลังนอนหลับ กินอาหาร…

ประชุมสภาสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2561 เวลา 17.30 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สภากาชาดไทย ในการนี้ได้ทอดพระเนตรประวัติสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย และทรงเป็นประธานการประชุมสภาสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ครั้งที่ 9 มีระเบียบวาระต่าง ๆ ได้แก่ การพิจารณาข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศของสถาบัน, แผนพัฒนาสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย, รายงานผลการสอบบัญชีและการเงินของสถาบัน โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, การแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีกรรมการสภาสถาบันเป็นองค์ประกอบ, การรายงานความก้าวหน้าการก่อสร้างอาคารสิรินธรานุสรณ์ 60 พรรษา, การเตรียมการพิธีพระราชทานปริญญาบัตร, การเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล, การสรรหาผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรม ผู้อำนวยการศูนย์บริการการพยาบาล และผู้อำนวยการสำนักงานสถาบัน ตลอดจนการรายงานความก้าวหน้าการสรรหาหัวหน้าสาขาวิชา สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านการพยาบาลซึ่งยกสถานะมาจากวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ถือกำเนิดตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2457 นับเป็นสถาบันแห่งแรกที่เปิดสอนหลักสูตรวิชาการพยาบาลในประเทศไทย ปัจจุบันมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ และอยู่ภายใต้การดูแลอุปถัมภ์ของสภากาชาดไทย…

พิธีพระราชทานเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตเหล่ากาชาดจังหวัดภาค 12

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561 เวลา 12.30 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1ประกาศเกียรติคุณ และเข็มที่ระลึกแก่ผู้บริจาคโลหิตครบ 36 ครั้งและ 108 ครั้ง ประจำปี 2559-2560 ของเหล่ากาชาดจังหวัดภาค 12 รวม 7 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ตรัง พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสตูล โดยมี นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย นาวาโทหญิงแพทย์หญิงอุบลวัณณ์ จรูญเรืองฤทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และผู้บริหารสภากาชาดไทย เฝ้าฯ รับเสด็จ โดยมี พระภิกษุ รับพระราชทานเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตครบ 36 ครั้ง และ108 ครั้ง จำนวน 12 รูป ผู้บริจาคโลหิตครบ…

พิธีพระราชทานเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตเหล่ากาชาดจังหวัดภาค 4

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 ประกาศเกียรติคุณ และเข็มที่ระลึกแก่ผู้บริจาคโลหิตครบ 36 ครั้งและ 108 ครั้ง ประจำปี 2559-2560 ของเหล่ากาชาดจังหวัดภาค 4 รวม 7 จังหวัด  จำนวนทั้งสิ้น 546 ราย เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561  โดยมี นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย , ผศ.ดร.พญ.จารุพร พรหมวงศ์ รองผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และผู้บริหารสภากาชาดไทย เฝ้าฯรับเสด็จ ณ โรงแรมเดอะรีเจ้นท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ในการนี้ มีผู้บริจาคโลหิต ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สภากาชาดไทย  และสถาบันที่ให้การสนับสนุนการบริจาคโลหิตประจำปี 2559-2560  ของจังหวัดต่างๆ ในเหล่ากาชาดจังหวัดภาค 4  รวม 7 จังหวัด ได้แก่…

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงบาตรเนื่องในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2561

    วันที่ 29 ธันวาคม 2560 เวลา 07.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปยังลานหน้าอาคารแพทยพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตรพระสงฆ์ 100 รูป เนื่องในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2561 โอกาสนี้ เลขาธิการสภากาชาดไทยทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของขวัญ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปฏิทินประจำปี 2561 จากนั้น พระราชทานพรปีใหม่แก่เจ้าหน้าที่สภากาชาดไทยและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนประชาชนทั่วไป ที่เฝ้าทูลละอองพระบาท รับเสด็จ เพื่อความเป็นสิริมงคลตลอดปี อันมีใจความว่า ปี 2560 ที่ผ่านมาเราก็ทบทวนดูว่าได้ทำงานหลายอย่างเพื่อสภากาชาด ซึ่งเป็นองค์การที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตกทุกข์ได้ยาก เจ็บป่วย และทำมาหลายปี   ในปีนี้ก็ได้ทำงานที่สภากาชาดครบ 40 ปี ต้องรีบฉลอง เพราะไม่ทราบว่าจะทำงานได้ถึง 50 ปีหรือเปล่า คิดว่าใน 40 ปีก็พยายามทำดีที่สุด ให้กิจการของสภากาชาดเจริญก้าวหน้า ก็เหมือนกับทุกๆ ท่าน…