บริจาคโลหิตเฉลิมพระเกียรติ

กาชาดชวนจิตอาสาบริจาคโลหิตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดเดือนกรกฎาคม 2564

กาชาดชวนจิตอาสา ทำความดี บริจาคโลหิต เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภกสภากาชาดไทย ตลอดเดือนกรกฎาคม 2564 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ขอเชิญพสกนิกรทั่วประเทศ ร่วมเป็นจิตอาสา ทำความดี บริจาคโลหิต เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 69 พรรษา 28 กรกฎาคม 2564 เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องรับโลหิตในการรักษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ตลอดเดือนกรกฎาคม 2564 รศ.พญ. ดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 69 พรรษา 28 กรกฎาคม 2564 ด้วยมีพระราชประสงค์ทรงเจริญรอยตามพระยุคลบาท เพื่อสืบสานรักษา และต่อยอดพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแด่อาณาประชาราษฎร์ ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ ซึ่งล้วนมีการสร้างสรรค์ความผาสุขสงบแก่ประชาชน นำความเจริญไพบูลย์และความมั่นคงมาสู่ประเทศตลอดมา…

blood challenge

Blood Challenge ได้เวลากลับมาช่วยเพื่อน บริจาคโลหิต ฝ่าวิกฤติ COVID-19

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เชิญชวนร่วมส่งต่อบุญผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับโครงการ Blood Challenge สร้างกระแสการบริจาคโลหิต ผ่าน Facebook, Instagram, Twitter และ TikTok เพียงโพสต์ภาพและข้อความพร้อมติด #BloodChallenge และ Tag ชวนครอบครัว เพื่อน หรือคนรู้จัก ร่วมแคมเปญอีก 3 คน ตั้งค่าเป็นสาธารณะ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ กล่าวว่า ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 สร้างความวิตกกังวลต่อผู้บริจาคโลหิตเป็นอย่างมาก ทำให้ภาพรวมการบริจาคโลหิตมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง มีโลหิตสำรองไม่ถึง 3,000 ยูนิตต่อวัน ตามมาตรฐานงานบริการโลหิต ส่งผลให้โรงพยาบาลทั่วประเทศขาดแคลนโลหิต เสี่ยงต่อการเลื่อนการผ่าตัด เลื่อนการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเลือดที่จำเป็นต้องได้รับเลือดเป็นประจำสม่ำเสมอ จึงมีแนวคิดในการนำกระแส Challenge มาประชาสัมพันธ์ให้เกิดการบริจาคโลหิตเพิ่มขึ้น โดยขอเชิญชวนผู้บริจาคโลหิตและประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในกิจกรรม 2 รูปแบบ ดังนี้ ผู้บริจาคโลหิต ถ่ายภาพถือป้ายรณรงค์ เขียนข้อความเชิญชวนสั้นๆ…

เข้าพบเลขาธิการสภากาชาดไทย

อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศและคณะเยี่ยมคารวะเลขาธิการสภากาชาดไทย

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 นายณัฐวัฒน์ กฤษณามระ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ และคณะ ได้เข้าเยี่ยมคารวะ นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมด้วย ดร.อภิชาติ  ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างสภากาชาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศต่างๆ โดยนายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย ย้ำว่า ทุกฝ่ายต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด และสภากาชาดไทยจะดำเนินการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้เปราะบางต่อไป

อาสายุวกาชาดบริจาคโลหิต

อาสายุวกาชาด จำนวน 103 คน รวมพลังบริจาคโลหิต ประจำเดือนมิถุนายน

นางสุนันทา ศรอนุสิน ผู้อำนวยการสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย นำอาสายุวกาชาด สังกัดสำนักงานยุวกาชาด ร่วมบริจาคโลหิต ช่วงวิกฤตโลหิตขาดแคลน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีนางสาวปิยนันท์ คุ้มครอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านจัดหาโลหิตและภาพลักษณ์องค์กร ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ให้การต้อนรับ สำนักงานยุวกาชาดจัดกิจกรรมบริจาคโลหิตขึ้นเพื่อฉลอง 99 สู่ 100 ปี กิจการยุวกาชาดไทย โดยรณรงค์ให้อาสายุวกาชาดร่วมบริจาคโลหิตเป็นประจำทุกเดือนจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2565  อาสายุวกาชาดจะรวมพลังบริจาคโลหิตครั้งต่อไปในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ผู้สนใจร่วมกิจกรรมติดต่อได้ที่ฝ่ายส่งเสริมอาสายุวกาชาด โทร. 0 2252 5002-3 กด  1

ความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

กลุ่มองค์กรกาชาดฯ ผนึกกำลังรับมือ “ภัยคุกคามต่อความอยู่รอด”ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กลุ่มองค์กรกาชาดฯ เชิญชวนองค์กรด้านมนุษยธรรมทั่วโลกร่วมลงนามกฎบัตรภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมขององค์กรมนุษยธรรม (Climate and Environment Charter for Humanitarian Organizations) ซึ่งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) ร่วมกันนำเสนอเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา กฎบัตรฉบับนี้มีเป้าหมายสำคัญคือเพื่อผนึกกำลังระหว่างหน่วยงาน ร่วมกันทำความเข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อม และศึกษาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่สร้างผลกระทบต่อผู้คนกว่า 97.6 ล้านคนทั่วโลก (โดยเฉพาะผู้คนที่เผชิญกับสถานการณ์ความขัดแย้งและการสู้รบอยู่แล้ว) “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของมนุษยธรรม และเป็นเรื่องที่หน่วยงานภาคส่วนมนุษยธรรมต้องให้ความใส่ใจอย่างยิ่ง ชุมชนที่ได้รับผลกระทบทั่วโลกรวมถึงเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครของกลุ่มองค์กรกาชาดฯ เข้าใจระดับภัยคุกคามนี้เป็นอย่างดี ดังนั้น เราจึงมีงานอีกมากที่ต้องเร่งลงมือทำเพื่อลดภัยอันตรายที่ชุมชนต่าง ๆ กำลังเผชิญอยู่ เพื่อช่วยชุมชนดังกล่าวสร้างความเข้มแข็งและปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ และเพื่อให้องค์กรมนุษยธรรมร่วมกันลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย” นายจากัน ชาปาเกน เลขาธิการ IFRC กล่าว   พันธสัญญาเจ็ดประการของกฎบัตรฉบับนี้ได้แก่ เร่งให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและช่วยเหลือกลุ่มคนที่เสี่ยงได้รับผลกระทบสูงสุดจากวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทำให้งานด้านมนุษยธรรมมีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมสูงสุดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเร็ว ให้ผู้นำท้องถิ่นและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วยการให้คำแนะนำและแบ่งปันประสบการณ์ เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยอันตรายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมและคิดค้นหนทางแก้ไขปัญหาโดยอ้างอิงจากหลักฐาน ทำงานร่วมกันทั้งในภาคส่วนงานด้านมนุษยธรรมและภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการดำเนินการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โน้มน้าวให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนและมีเป้าหมายที่สูงขึ้นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม กำหนดเป้าหมายและวัดผลความคืบหน้าของการดำเนินการควบคู่กับการปฏิบัติตามพันธสัญญาที่ให้ได้   ปัจจุบัน วิกฤติสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในทุกมิติ ทั้งทางด้านร่างกายไปจนถึงสภาพจิตใจ อาหาร น้ำ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และแม้ว่าวิกฤตนี้จะส่งผลต่อทุกคน…

ครัวพระราชทานตรัง

พิธีเปิด “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” จังหวัดตรัง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงห่วงใยและทรงตระหนักถึงความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงพระราชทานพระราชานุญาตให้สภากาชาดไทย โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ จัดตั้ง “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” ณ วิทยาลัยเทคนิคตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ในระหว่างวันที่ 17 – 26 มิถุนายน 2564 เพื่อประกอบอาหารปรุงสุกใหม่ สำหรับนำไปมอบให้แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นการจัดตั้งครัวพระราชทานฯ แห่งที่ 12 นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19   โดยในวันนี้ (17 มิถุนายน 2564) เวลา 10.00 น. นายกฤษฎา บุญราช ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิด “ครัวพระราชทาน อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย” พร้อมมอบอาหารพระราชทานให้แก่ผู้แทนจากอำเภอเมืองตรัง จำนวน 3,750 ชุด ณ วิทยาลัยเทคนิคตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จากนั้น ประธานและคณะ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ยากไร้ จำนวน 3 ราย ในพื้นที่ตำบลบ้านควน…

IFRC เข้าเยี่ยมเลขาธิการ

หัวหน้าคณะผู้แทนสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศเข้าเยี่ยมคารวะเลขาธิการสภากาชาดไทย

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564 นางแคททรีน คลาร์คสัน หัวหน้าคณะผู้แทนให้การสนับสนุนกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ เข้าเยี่ยมคารวะนายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย และ ดร.อภิชาติ ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ณ อาคารเทิดพระเกียรติฯ สภากาชาดไทย ในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยได้มีการหารือถึงความร่วมมือด้านมนุษยธรรมกับสภากาชาดไทย  รวมทั้งความร่วมมือกับสภากาชาดประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ

ทรงบาตรวันกำเนิดสถาบัน

ทรงบาตรเนื่องในวันกำเนิดสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา และทรงเปิดอาคารสิรินธรานุสรณ์ ๖๐ พรรษา

วันที่ 16 มิถุนายน 2564 เวลา 07.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย นายกสภาสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบาตรพระภิกษุสงฆ์ เนื่องในโอกาสวันกำเนิดสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย (107 ปี วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย) และทรงเปิดอาคารสิรินธรานุสรณ์ ๖๐ พรรษา เป็นการส่วนพระองค์ โดยมีคณะกรรมการสภาสถาบัน และคณะกรรมการบริหารสถาบัน เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย เดิมชื่อ “วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย” กำเนิดขึ้นโดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2457 นับเป็นสถาบันแห่งแรกที่เปิดสอนหลักสูตรวิชาการพยาบาลในประเทศไทย ได้ยกฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย พ.ศ. 2559 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านการพยาบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ อยู่ภายใต้การดูแลอุปถัมภ์ของสภากาชาดไทย มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อจัดการศึกษา วิจัย ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงด้านการพยาบาล ตลอดจนศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง…