ผู้แทนจากธนาคารพัฒนาเอเชียเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการภัยพิบัติสภากาชาดไทย

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 คุณ Hilda T. Cleofe เจ้าหน้าที่งานความปลอดภัยและการรับมือกับเหตุฉุกเฉินอาวุโสของธนาคารพัฒนาเอเชีย เข้าพบ พลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์ ฯ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับพนักงานและเยี่ยมชมภารกิจของสำนักงานบรรเทาทุกข์ ฯ ณ ศูนย์ปฏิบัติการภัยพิบัติสภากาชาดไทย

ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยร่วมหารือประเด็นมนุษยธรรมในเมียนมาร์

นาง กีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย  เข้าพบ นาย เตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมด้วย ดร.อภิชาติ ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 เพื่อหารือเรื่องสถานการณ์ในประเทศเมียนมาร์และการให้ความช่วยเหลือผู้อพยพรวมถึงผู้พลัดถิ่นที่เข้ามาในประเทศไทย   ทั้งนี้ ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศเมียนมาร์ในปี 2565 สภากาชาดไทยทำงานร่วมกับหน่วยงานราชการในท้องถิ่นและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ในการให้ความช่วยเหลือแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค อาหาร ยารักษาโรค และสิ่งของบรรเทาทุกข์ มูลค่ากว่า 5.7 ล้านบาท และวัคซีนโควิด 19 จำนวนกว่า 16,000 โดส ให้กับผู้อพยพ ตามแนวชายแดนจังหวัดตากและแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ สภากาชาดไทยยังให้ความช่วยเหลือด้านวัคซีนโควิด 19 จำนวนกว่า 65,000 โดส และชุดบรรเทาทุกข์ กว่า 42,000 ชุด ให้กับแรงงานข้ามชาติและบุคคลไร้เอกสารแสดงตนในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

เอกอัครราชทูตแห่งสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทยเยี่ยมคารวะเลขาธิการสภากาชาดไทย

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 นาย เยฟกินี โทมิคิน เอกอัครราชทูตแห่งสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะนายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมด้วย ดร.อภิชาติ ชินวรรโณ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นความร่วมมือในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีไซโคลทรอนที่ใช้อุตสาหกรรมยาและการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งนี้ เลขาธิการสภากาชาดไทยกล่าวขอบคุณสหพันธรัฐรัสเซียที่เคยแบ่งปันเทคโนโลยีรังสีเอ็กซ์เรย์ที่ใช้ในการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยในอดีต

ผู้แทนสภากาชาดไทยร่วมการประชุมผู้นำสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 19 ที่บรูไนดารุสซาลาม

นายเตช บุนนาค  เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมด้วยคณะผู้แทนสภากาชาดไทยและอาสายุวกาชาดร่วมการประชุมผู้นำสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 19 ซึ่งมีสภาเสี้ยววงเดือนแดงบรูไนเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ระหว่างวันที่ 6-7 ตุลาคม 2565 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านมนุษยธรรมของขบวนการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงในภูมิภาคให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ในการประชุมดังกล่าว เลขาธิการสภากาชาดไทยได้นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานจากแถลงการณ์กรุงเทพ (Bangkok Statements) ซึ่งครอบคลุมประเด็นการตอบโต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรควิด 19 การพัฒนาการระดมทุนเพื่อความยั่งยืน และการขับเคลื่อนอาสาสมัครเยาวชน นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมยังเห็นพ้องกันในเรื่องการพัฒนาเครือข่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเป็นศูนย์อ้างอิงด้านการปฐมพยาบาล และการเพิ่มความร่วมมือกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ตามบันทึกความเข้าใจซึ่งลงนามกับสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2565 ในปีนี้ ยังถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของคณะกรรมการบริหารของ IFRC ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีจำนวนสมาชิกที่เป็นสตรีใกล้เคียงกับจำนวนบุรุษ โดย เจ้าหญิง ตันกู ปุเตรี อินตัน ซาฟินาซ ประธานสภาเสี้ยววงเดือนแดงมาเลเซีย ได้รับการเลือกตั้งให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้แทนสภากาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคในคณะกรรมการบริหารซึ่งมีจำนวน 5 ท่าน   นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการประชุมผู้แทนเยาวชนจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เป็นเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำของเยาวชนในงานด้านมนุษยธรรม ซึ่ง นางสาวกัญจรีย์ ศุภวิทยา เป็นผู้แทนเยาวชนจากสภากาชาดไทยในการประชุมดังกล่าว

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อย ๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูกซึ่งมีผลให้กระดูกบางและเปราะ ไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดดันได้ตามปกติ ทำให้เกิดความเสี่ยงกระดูกหักได้ง่าย ภาวะที่เนื้อกระดูกลดลงประมาณร้อยละ 30 เป็นภาวะที่เรียกว่า “โรคกระดูกพรุน” มักพบในวัยผู้สูงอายุ จากสถิติพบว่าผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนร้อยละ 30 มีภาวะโรคกระดูกพรุน พบโรคกระดูกพรุนร้อยละ 45 ในผู้หญิงอายุมากกว่า 60 ปี และร้อยละ 35 ของผู้ชายจะเป็นโรคนี้เมื่อายุ 75 ปี กระดูกประกอบด้วยโปรตีนที่เป็นเส้นใยคอลลาเจนและมีแคลเซียมมาตกผลึกจับตัวกับคอลลาเจนกลายเป็นของแข็งที่สามารถรับน้ำหนัก รับแรงกดกระแทก และมีความยืดหยุ่นในตัวเอง การสร้างกระดูกที่ดีจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมและสารอาหารที่เหมาะสม โดยแคลเซียมทำให้กระดูกแข็ง ส่วนโปรตีนในกระดูกโดยเฉพาะคอลลาเจนและโปรตีนอื่น ๆ จะให้กระดูกมีความเหนียวและยืดหยุ่น ในแต่ละวัยร่างกายสามารถสะสมปริมาณแคลเซียมในมวลกระดูกในระดับที่แตกต่างกัน และมวลกระดูกจะถึงจุดสูงสุดในช่วงอายุ 25-30 ปี หลังจากนั้นมวลกระดูกจะค่อย ๆ ลดลงประมาณร้อยละ 0.5-1 ต่อปี ในช่วงหมดประจำเดือนมวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว อาจลดลงเร็วถึงร้อยละ 3-5 ต่อปี ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เพศหญิงจึงมักมีโอกาสเกิดกระดูกพรุนมากกว่าเพศชาย ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การได้รับสารอาหารโดยเฉพาะแคลเซียมไม่เพียงพอ กรรมพันธุ์ การหมดประจำเดือน การสูบบุหรี่…

กาชาดร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน Sustainability Expo 2022 เพื่อสร้างความยั่งยืนด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต

วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 ศาสตราภิชานนายแพทย์พินิจ กุลละวณิชย์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นผู้แทนสภากาชาดไทย เข้าร่วมงาน “Sustainability Expo 2022 หรือ SX 2022” มหกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามแนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” จัดโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และองค์กรชั้นนำจากหลายภาคส่วน โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการจัดงาน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นำไปประยุกต์ใช้จริงในด้านต่าง ๆ และเกิดความยั่งยืนในสังคมไทย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และในรูปแบบ Virtual Expo ผ่านช่องทางออนไลน์ สภากาชาดไทย องค์กรสาธารณกุศลระดับชาติที่มุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์และสุขภาพอนามัย การบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย การบริการโลหิต และการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ได้ร่วมออกบูธจัดแสดงความยั่งยืนด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนามาการจัดแสดง อาทิ หุ่นยนต์ดินสอ ผู้ช่วยแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่สามารถซักถามอาการและคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นด้วยระบบ AI และฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟูจัดแสดงการสร้างความสมดุลให้กับชีวิต สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์…

“สยามรวมใจ ไทยช่วยไทย” เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย

7 ตุลาคม 2565 นางจิราพร ศรีสอ้าน ผู้อำนวยการสำนักสารนิเทศและสื่อสารองค์กร สภากาชาดไทย และเภสัชกรหญิงจิราวรรณ สันติพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับ กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ร่วมผนึกกำลังในโครงการ “สยามรวมใจ ไทยช่วยไทย” เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยเปิดให้ผู้มีจิตกุศลนำสิ่งของเครื่องอุปโภค-บริโภค ไปบริจาคหรือร่วมบริจาคเงินใน “โครงการเงินทุนฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ สภากาชาดไทย” บริเวณจุดรับบริจาค ณ พาร์ค พารากอน ชั้น M สยามพารากอน ระหว่างเวลา 10.00-19.00 น. วันที่ 5-25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้ร่วมจัดแสดงบูธเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ชุดธารน้ำใจสภากาชาดไทยฯ และแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” ด้วย นอกจากนี้ สามารถร่วมสมทบทุนสนับสนุนการช่วยเหลือของสภากาชาดไทย ด้วยการบริจาคผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทย-เงินทุนฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย” ประเภทบัญชี : กระแสรายวัน เลขที่บัญชี…

แถลงข่าวเปิดตัวคลินิกการได้ยินและการทรงตัวขั้นสูง แห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2565 รศ. นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นประธานงานแถลงข่าวเปิดตัวคลินิกการได้ยินและการทรงตัวขั้นสูง หรือ Advance hearing and balance clinic โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ อาคาร สธ ชั้น 8 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คลินิกการได้ยินและการทรงตัวขั้นสูง หรือ Advance hearing and balance clinic ภายใต้ศูนย์การได้ยิน การสื่อสารและการทรงตัว Hearing Speech and Balance Centre ซึ่งเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศอังกฤษ University College London Ear Institute สถาบันหูแห่งวิทยาลัยลอนดอน และ Royal National Throat Nose…

ความช่วยเหลือจากสภากาชาดไทยถึงยังผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมในปากีสถาน

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 สภากาชาดไทยได้ส่งเงินจำนวน 20,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 729,800 บาท ให้กับสภาเสี้ยววงเดือนแดงปากีสถาน เพื่อช่วยสนับสนุนปฏิบัติการตอบโต้ภัยพิบัติและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยรุนแรงในปากีสถาน ตามรายงานจากสหพันธ์สภากาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา สถานการณ์น้ำท่วมและแผ่นดินถล่มได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ในแคว้นบาลูจิสถาน สินธ์ ปัญจาบ และไคเบอร์ปัคตูนควา ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 ราย ที่อยู่อาศัยประมาณ 950,000 หลังถูกทำลาย และประชาชนกว่าห้าแสนคนต้องอพยพไปอาศัยในศูนย์พักพิงตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ